เสาร์. พ.ย. 2nd, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี 2564 ครบรอบ “2003 ปีสืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง”

1 min read

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระธาตุดอยตุง และผ้าไตรพระราชทาน ในโอกาสถวายสักการะครบรอบ “2003 ปี สืบมา หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง” เนื่องในประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี พ.ศ.2564

โดยนายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานนำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย พุทธสมาคมจังหวัดเชียงราย ผู้บริหารสถานศึกษาและนักเรียนนักศึกษา และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงรายทั้ง 18 อำเภอ ตลอดทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ เข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง เพื่อประกอบพิธีบวงสรวงพระธาตุดอยตุง บูชาด้วยการเดินขบวนแห่รัตนสัตตนัง ซึ่งประกอบด้วยขบวนอัญเชิญน้ำสรงและผ้าไตรพระราชทาน ขบวนเครื่องสักการะหลวง 9 อย่าง ได้แก่ 1.ผ้าห่มพระธาตุ 2.ภัตตาหารเจ 3.ตุงใจ 4.ช้าคู่ 5.พัดจามร 6.สุ่มหมาก 7.สุ่มปู 8.ต้นผึ้ง 9.น้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ เคลื่อนขบวนสู่ลานพระธาตุดอยตุง

จากนั้น นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เริ่มประกอบพิธีการ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ก่อนจะประกอบพิธีถวายเครื่องราชสักการะ โดยมี พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยตุง นำพุทธศาสนิกชนกล่าวคำไหว้องค์พระบรมธาตุดอยตุง และสรงน้ำสรงพระราชทาน พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ลั่นฆ้องชัย 9 ครั้ง ต่อด้วยพิธีถวายผ้าไตรพระราชทานแด่พระสงฆ์ โดยมี พระรัตนมุนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย กล่าวสัมโมทนียกถา และให้พรแก่ผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมสดับรับพรโดยทั่วกัน ก่อนจะเริ่มการห่มผ้าพระธาตุดอยตุง และปิดท้ายด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา สร้างความประทับใจ ความตื่นตาอลังการและความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้เข้าร่วมงานโดยถ้วนทั่วเป็นอย่างยิ่ง

วัดพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง ปรากฎเป็นชื่อตามจารึกหินอ่อนที่กรอบประตูพระอุโบสถ คำเมือง: LN-Wat Phra That Doi Tung.png) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กิโลเมตร และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

“วัดพระธาตุดอยตุง” อำเภอแม่จัน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้าซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระเข้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตไว้ ณ ดอยแห่งนี้ และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุงมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้

ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยตุง วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย มองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองนครโยนกพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักไว้บนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกปีลักยู 500 ครอบครัว ดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธฺเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

รูปแบบสถาปัตยกรรม พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบกสนก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สืบสอง คล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลงนับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีน์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนี่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีกองขนาดเล็กสององค์สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกคลื้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาเจ้าศรีวิชัย กับประชาชนเมื่องเชียงรายได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลื่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา การบูรณะครั้งหลังสุด มีขั้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้

แหล่งข่าวจาก – สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย
บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์ รายงาน

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.