วัฒนธรรมท้องถิ่นเลี้ยงผีปู่ตา-เฒ่ากระจ้ำเสี่ยงทายไม้วัดวาปีนี้ฝนจะทิ้งช่วงเดือนเก้า ที่.ศาลเจ้าปู่กุดเป่ง (มีคลิป)
1 min readพุธแรกของเดือนหกของทุกปี-ประเพณี-วัฒนธรรมของชาวบ้านแวง อ.โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ทำพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตาลูกหลานในชุมชนรำบวงสรวงถวาย ส่วนเฒ่ากระจ้ำต้มเต่าถวายผีปู่ตาแล้วเสียงทายขอฟ้าขอฝน
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 14 เม.ย. 2564 (พุธแรกของเดือนหก) นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางมาเป็นประธานพฺธีเปิดงานบวงสรวงเจ้าปู่กุดเป่ง บ้านเกษตร ม.11 ต.แวง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ศาลเจ้าปู่ตากุดเป่งเปรียบเสมือนศาลหลักบ้าน เป็นที่เคารพสักการะนับถือของชาวบ้านและอำเภอใกล้เคียง ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านแวงยังไม่ละทิ้งประเพณีความเชื่อนี้ และยังสืบทอดกันมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน
โดยมี ว่าที่ ร.ต.อาณพ ศรีบุญลือ นายอำเภอ อ่านประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าปู่กุดเป่ง บรรพชนของชาวบ้านแวง อ.โพนทอง ในสมัยโบราณ คำว่า ปู่ หมายถึง ปู่และย่า ที่เป็นพ่อแม่ของพ่อ ส่วนคำว่า ตา หมายถึง ตาและยายที่เป็นพ่อแม่ของแม่ เมื่อบรรพบุรุษสองสายนี้ล่วงลับไปหลายชั่วอายุคน จนไม่สามารถที่จะจำชื่อได้ ลูกหลานรุ่นหลัง ๆ จึงเรียกเป็นกลาง ๆ ว่า”ปู่ตา” การเลี้ยงปู่ตา เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปเพราะเมื่อปู่ตามีชีวิตอยู่นั้น ได้สร้างคุณงานความดีไว้กับลูกหลานบ้านแวง และสังคมมากมายหลายประการ เช่น ให้การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เพื่อแสดงถึงกตัญญูกตเวที จึงมีการเลี้ยงปู่ตา-สืบต่อไปเป็นประเพณี
พิธีเลี้ยงศาลปู่ตาหรือชาวบ้านเรียกว่าพิธีเลี้ยงบ้าน จะทำกันในวันพุธแรกของเดือน 6 ก่อนจะมีพิธีเลี้ยงศาลปู่ตา เฒ่าจ้ำจะประกาศให้ลูกบ้านเตรียมข้าวปลาอาหาร และให้เอาหญ้าคามัดแทนวัว ควาย เป็ด ไก่ และคน ให้ครบตามจำนวนแต่ละครอบครัว โดยนำไปรวมกันบริเวณพิธีที่ดอนปู่ตา จากนั้นเฒ่าจ้ำก็จะเป็นผู้นำประกอบพิธี ขอพร เสี่ยงทายดินฟ้าอากาศรวมทั้งเหตุเภทภัยที่อาจเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน หลังเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะแบ่งข้าวปลาอาหารไปกินเพื่อเป็นสิริมงคล
เสี่ยงทาย หลังจากการทำพิธีเลี้ยงปู่ตาเสร็จจะมีการเสี่ยงทายฟ้าฝน ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนเช่นบางชุมชนการจุดบั้งไฟ/ ถอดคางไก่/ และแทกวัดไม้วา/ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไป แต่ที่นี้ดอนปู่ตานามว่า”เจ้าปู่กุดเป่ง” อ.โพนทอง เฒ่ากระจ้ำเสี่ยงทายโดยใช้แทกวัดวา(ชมคลิป) ใช้ไม้กระแทกลงพื้นดินแล้วนำมาวัดด้วย วาของเฒ่ากระจ้ำ ไม้ยาวกว่าวา=ฝนดี ไม้สั้นกว่า-วาเฒ่ากระจ้ำ=ฝนน้อย(ฝนแล้งในปีนั้น)
ภาพ/ข่าว สุเทพ ลอยแก้ว รายงาน