ผอ.รพ.ศูนย์อุดรฯ เปิดใจ ยันฉีด “ซิโนแวค” เข็มแรกทำให้รอดโคม่าลดความรุนแรงภูมิคุ้มกันสูงขึ้นสู้กับโควิด
1 min readผู้ตรวจสุขภาพ 8 ลงพื้นที่ รพ.สต.โนนสูง อ.เมืองอุดรธานี หลังผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ลงทะเบียนฉีดวัคซีนครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ขณะยอดจังหวัด 1.4 แสน และเร่งเคาะประตูบ้าน ล่าข้อมูลผู้อยากฉีดวัคซีน 18 ปีขึ้นไป ด้าน ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี เผยฉีดวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม พิสูจน์เมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีอาการรุนแรง
วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เวลา 11.00 น. นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์. ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี พ.ญ.ฤทัย วรรธณวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี เดินทางตรวจติดตามดูการ จัดการลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมีนายอดิศักดิ์ ครสวรรค์ นายกเทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ นายสังวร เสนวรพันศรี สาธารณสุข อ.เมือง นำคณะดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ และ อสม.
นายสังวร เสนวรพันศรี สาธารณสุขอำเภอเมืองอุดรธานี ชี้แจงว่า รพ.สต.โนนสูง มีพื้นที่รับผิดชอบเฉพาะเขตเทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ จำนวน 7 ชุมชน เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต. ได้ร่วมกับ อสม. ลงพื้นที่แบบเคาะประตูบ้าน ในส่วนการลงทะเบียนจองวัคซีนกับ “หมอพร้อม” 2 กลุ่ม คือ สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 1,603 คน และโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค 535 คน เป็นการลงทะเบียนจองวัคซีน 100 % รวม 2,138 คน ขณะนี้กำลัง เก็บข้อมูลความต้องการฉีดวัคซีน ของประชาชนกลุ่มอายุ 18-59 ปี
อสม.จะลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน สอบถามข้อมูลและความต้องการ นำข้อมูลกลับมาบันทึกลงโปรแกรม UD HOSPITAL ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลของ จ.อุดรธานี เมื่อแอพฯ หมอพร้อม เปิดให้กลุ่มไหนลงทะเบียนจองวัคซีน ก็จะนำข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ลงทะเบียนในหมอพร้อมให้ทันที ทั้งนี้การเก็บข้อมูลชุดนี้จะแล้วเสร็จพรุ่งนี้ โดยจะต้องแยกกลุ่มบุคคลากรด่านหน้า กำนัน , ผญบ. , อสม. และอื่นๆ เพื่อลงทะเบียนในหมอพร้อมต่อจากผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง 7 โรค ”
นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์. ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 เปิดเผยว่า ได้มาตรวจเยี่ยมติดตามความพร้อม และการปฏิบัติงานลงทะเบียนจองวัคซีนโควิด-19 โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื่อรัง เพราะหากติดเชื้อจะมีอาการที่รุนแรง ขณะที่กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป ก็เริ่มมีการรวมรวมข้อมูลเพื่อเตรียมลงทะเบียนจองไว้ โดย สสจ.อุดรธานี ได้ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชน , รพ.สต. และ อสม. ลงพื้นที่ไปแบบเคาะประตูบ้าน เตรียมรวบรวมความต้องการไว้ รวมไปถึง รพ.ศูนย์อุดรธานี ร่วมกับ มรภ.อุดรธานี เตรียมสถานที่ฉีดวัคซีนไว้แล้วด้วย ทั้งหมดดำเนินการไปด้วยดี
พ.ญ.ฤทัย วรรธณวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี ที่กลับมาปฏิบัติหน้าที่หลังจาก เข้ารักษาติดเชื้อโควิด-19 ที่ รพ.ศูนย์อุดรธานี หายและรับการกักตัวครบแล้ว เปิดเผยว่า ได้รับวัคซีน “ซิโนแวค” เข็มแรกเมื่อวันที่ 5 เม.ย.64 และเมื่อวันที่ 19 เม.ย.64 มีเสมหะมากตอนตื่นนอน แม้จะเคยมีอาการแพ้อากาศ แต่เพราะอยู่ในสภาวะแวดล้อม เป็นข่าวมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เยอะมากขึ้นในอุดรธานี จึงแวะไปสวอป PCR ซึ่งก็ตรวจครั้งที่ 2 หรือ 3 มาแล้ว พอตกเย็นมาผลก็ออกมาว่าติดเชื้อ
“ที่เคยให้ข่าวไปทุกครั้งว่า ถ้าติดเชื้อเรากลัวปอดเราพัง เราจะใช้ชีวิตตอนสูงอายุลำบากมาก ตอนนี้อายุ 59 ปี ปีหน้าก็เกษียณราชการแล้ว พอผลออกมาคณะแพทย์ก็ต่างตกใจ ด้วยอายุเรามาก โอกาสที่โรคจะเล่นงานปอดสูงมาก แต่หมอเองกลับไม่มีอาการ มีเพียงแต่เสมหะเท่านั้น ถ้าวิเคราะห์กลับไปเรารับวัคซีนวันที่ 5 เม.ย. พบติดเชื้อวันที่ 19 เม.ย. ผ่านมาราว 2 สัปดาห์ ก็เป็นไปตามทฤษฎีที่ว่า ผ่านไป 2 สัปดาห์ จะมีภูมิคุ้มกันขึ้นระดับหนึ่ง ติดเชื้อได้แต่อาการไม่รุนแรง กรณีของเราเองเป็นสิ่งพิสูจน์ได้ เมื่อตรวจภายหลังพบภูมิคุ้มกันขึ้นสูง ”
พญ.ฤทัย วรรธณวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี กล่าวอีกว่า ก็พอสรุปได้ว่า วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่เพียงเข็มแรกก็ทำให้อาการท่านไม่รุนแรง เพราะหมอเองอายุขนาดนี้ น่าจะต้องใช้ท่อช่วยหายใจ แต่กลับไม่มีอาการอะไรเลย ก็ได้กักตัวไปทำงานที่บ้านแทน ก็อยากมาชักชวนให้มาฉีดวัคซีน แต่เข็มแรก 2 อาทิตย์ก็สามารถป้องกันท่านได้แล้ว ท่านจะไม่มีอาการรุนแรง และท่านจะไม่เสียชีวิตจากวิด-19แน่นอน แต่หากท่านมัวแต่เลือกวัคซีน เมื่อท่านติดเชื้อก็จะมีอาการรุนแรง
พญ.ฤทัย วรรธณวินิจ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี กล่าวอีกว่า ก็พอสรุปได้ว่า วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่เพียงเข็มแรกก็ทำให้อาการท่านไม่รุนแรง เพราะหมอเองอายุขนาดนี้ น่าจะต้องใช้ท่อช่วยหายใจ แต่กลับไม่มีอาการอะไรเลย ก็ได้กักตัวไปทำงานที่บ้านแทน ก็อยากมาชักชวนให้มาฉีดวัคซีน แต่เข็มแรก 2 อาทิตย์ก็สามารถป้องกันท่านได้แล้ว ท่านจะไม่มีอาการรุนแรง และท่านจะไม่เสียชีวิตจากวิด-19แน่นอน แต่หากท่านมัวแต่เลือกวัคซีน เมื่อท่านติดเชื้อก็จะมีอาการรุนแรง
ส่วนจ.อุดรธานี มีประชากรราว 1.5 แสนคน คาดประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปมี 1.2 ล้าน คน หากฉีดให้ได้ 70 % จะต้องมีผู้ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 840,000 คน โดยขณะนี้บุคคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรด่านหน้ารัฐเอกชน ของอุดรธานีฉีดวัคซีนไปแล้ว 15,000 คน สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุมี 265,029 คน และผู้ป่วยเรื้อรัง 7 โรคมี 119,021 คน รวม 348,804 คน ได้รับสิทธิฉีดวัคซีนในรอบนี้ จนถึงขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนจองวัคซีนไว้ผ่าน “หมอพร้อม” 39,664 คน และผ่านเจ้าหน้าที่ 104,721 คน รวม 144,385 คน โดยยังไม่รวมที่จองไว้กับโปรแกรม UD HOSPITAL
ภาพ/ข่าว นายกฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าว จ.อุดรธานี