ชัยภูมิ โรคลัมปีสกินระบาดหนัก!วัวล้มป่วยตายแล้ว ชาวบ้านร้องรัฐเยียวยาด่วน (มีคลิป)
1 min readเมื่อวันที่ 4 เมษายน 64 สถานการณ์โรคเชื้อมรณะ ”ลัมปีสกิน” ที่กำลังระบาดหนักในโค-กระบือ ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเข้าขั้นวิกฤติหนักในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือ ทั้ง 16 อำเภอ ทั่งทั้ง จ.ชัยภูมิกำลังได้รับความเดือดร้อนหนักหลังพบว่า มีสัตว์โคกระบือกำลังล้มป่วยติดเชื้อป่วยสะสมแล้วกว่า400 ตัว ตรวจพบหนักสุดในเขตพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ ป่วยแล้วนับ 100 ตัว รองลงมาคือที่อำเภอ บ้านเขว้า 39 ตัว หนองบัวระเหว 55 ตัว ตาย 1 ตัว อ.เทพสถิต 29 ตัว อ.คอนสาร 25 ตัว อ.หนองบัวแดง 17 ตัวและ อ.คอนสวรรค์ 16 ตัว นอกนั้นกระจายตามอำเภอต่างๆจำนวนมาก
ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ต้องประกาศให้ 16 อำเภอทั่วทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่เขตโรคลัมปี สกิน ระบาด เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง
นายเสนอ เสาวิชิต เสียงเกษตรกร ผญบ.หมู่ 9 บ้านภูเขาทอง ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหวกล่าวอีกว่า กรณีที่มีวัวของชาวบ้านในพื้นที่ ได้ล้มป่วยติดโรคลัมปีสกิน กันเป็นจำนวนมากในขณะนี้ตลอดจนล้มป่วยตาย กันหลายราย จึงอยากให้ทางหน่วยงานของอำเภอหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะเข้ามาดูแลและหาทางช่วยเหลือให้กับสัตว์ที่ป่วยและล้มตายควรจะมีการเยียวยาให้กับผู้ที่เลี้ยงโคกระบือที่มีผลกระทบในครั้งนี้เพราะลำพังไวรัสโควิด-19ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ ตลาดนัดโคกระบือในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ก็ถูกสั่งปิดพี่น้องที่ทำอาชีพเกษตรกรรมที่เลี้ยโคกระบือต่างได้รับความเดือดร้อนกันทั่วหน้า อยากให้มีหน่วยงานเข้ามาดูแลในการเยียวยาให้กับผู้เลี้ยงโคด้วย
จากปัญหาโค-กระบือติดเชื้อไวรัสลัมปี สกิน ถึงเวลานี้ยังไม่มียารักษา จึงต้องใช้วิธีการรักษาแบบภูมิปัญญาชาชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านยังไม่มีวิธีการดูแลรักษาป้องกัน ต้องปล่อยตามสภาพตามมีตามเกิด ทำให้โค-กระบือที่ป่วยทยอยล้มตายลงแบบรายวัน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าโรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ แต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส 𝘓𝘶𝘮𝘱𝘺 𝘴𝘬𝘪𝘯 𝘥𝘪𝘴𝘦𝘢𝘴𝘦 𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 ในสกุล 𝘊𝘢𝘱𝘳𝘪𝘱𝘰𝘹𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอัณฑะและหาง ขา ตุ่มที่ขึ้นจะแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือกปาก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหล มีขี้ตา ไม่กินอาหารและตายไปในที่สุด
นอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5–45% อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่
ภาพ/ข่าว คำหอม ชุมชน 02 จ.ชัยภูมิ รายงาน