สุรินทร์ จนท.ปศุสัตว์เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโครลัมปีสกินให้วัวที่ยังไม่ป่วย (มีคลิป)
1 min readสุรินทร์ จนท.ปศุสัตว์เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโครลัมปีสกินให้วัวที่ยังไม่ป่วย โดยมียอดสะสมทั้งจังหวัดจำนวน 37,646 ตัว หายป่วยสะสม 2,364 ตัว ตายสะสมทั้งสิ้น 1,399 ตัว
วันที่ 6 ก.ค. 64 ที่ตำบลราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายสัตวแพทย์จรูญวิทย์ นะพรรัมย์ หัวหน้างานกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเมืองสุรินทร์ ได้ลงพื้นที่ออกฉีดวัคซีน ให้กับวัวของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลรามและอีกหลายพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อป้องกันโรคลัมปีสกิน ซึ่งในพื้นที่ตำบลราม มีวัวอยู่ประมาณจำนวน 4, 600 ตัว เป็นโรคลัมปีสกินจำนวน 460 ตัว และตาย 28 ตัว โดยเจ้าหน้าที่จะต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับวัวที่ยังไม่เป็นโรคให้ได้มากที่สุด ตามโคต้าของสุรินทร์ที่ได้รับมาตอนนี้จำนวน 6,980 โด๊ส ซึ่งก็ไม่เพียงพอ และผู้ที่จะฉีดจะต้องยอมรับเงื่อนไข ในเรื่องการห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ ห้ามเข้าโรงฆ่าสัตว์ ด้วย โดยมียอดสะสมทั้งจังหวัดจำนวน 37,646 ตัว หายป่วยสะสม 2,364 ตัว ตายสะสมทั้งสิ้น 1,399 ตัว
นายสัตวแพทย์จรูญวิทย์ นะพรรัมย์ หัวหน้างานกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า ผู้ที่จะฉีดจะต้องยอมรับเงื่อนไข ในเรื่องการห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ ห้ามเข้าโรงฆ่าสัตว์ ถ้ารับเงื่อนไขตรงนี้ได้เราก็จะฉีดให้ เราก็พยยามค้นหาเกษตรกรที่จะฉีดได้ ต้องบอกก่อนว่าวัคซีนไม่ใช่ยา วัคซีนคือการป้องก้น ถ้าเป็นแล้วฉีดไปก็ไม่มีประโยชน์ บางตัวที่มีเชื้อแผลงอยู่แล้วเราไม่รู้พอฉีดไปมันก็จะแสดงอาการออก ซึ่งอาจจะรุนแรงกว่าเดิมด้วย หากตัวที่ท้องแก่ใกล้คลอดติดลูกที่ออกมาก็จะติดไปด้วย ตอนนี้เราเริ่มออกฉีดทุกวัน ตามโคต้าที่มีอยู่ของจังหวัดสุรินทร์เราได้โคต้า 6,980 โด๊ส ฉีดได้ 6,980 ตัว แต่ก็ไม่เพียงพอเนื่องจากพื้นที่เราเป็นพื้นที่ที่เกิดโรคแล้ว ก็พยายามฉีดให้กับวัวที่ยังไม่เป็นก่อน ส่วนวัวที่เป็นถ้าเราฉีดก็จะเป็นปัญหา เพราะมันเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ส่วนวัวที่ตายเป็นเรื่องของท้องถิ่นที่จะประสานกับทางอำเภอหรือทางปกครองที่จะขอใช้เงินทดลองจ่ายของหน่วยงาน ขั้นตอนก่อนการฝังต้องแจ้งปกครองในท้องที่ อย่างผู้ใหญ่ กำนัน หรือเจ้าหน้าที่ อบต.เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าไปร่วมเป็นพยานถ่ายรูปให้ชัดเจน เรื่องการป้องกัน คือกางมุ้ง ใช้ตาข่ายที่มีตาถี่หน่อย เพื่อป้องกันแมลง หรือใช้ไฟหลอกกันแมลง รวมไปถึงในเรื่องการใช้สารเคมีในการพ่นกำจัดแมลงภายในคอก เบื้องต้นที่จะป้องกันได้ ถ้ามีในส่วนของกรณีไม่มีป่วยก็ให้แจ้งมา ทางปศุสัตว์อำเภอก็จะได้ประสาน เนื่องจากเป็นวัคซีนตัวใหม่ ทางกรมจะต้องให้ทางนายสัตวแพทย์ของสำนักงาน เข้าไปร่วมในการดำเนินการวัคซีนด้วยทุกครั้ง เพราะว่าอาจจะเกิดอาการแพ้ การอะไรก็จะได้แก้ไขได้ทัน
นายพิรุณ แก้วพินึก นายก อบต.ราม กล่าวว่า ตอนนี้ตำบลราม มีวัวป่วยประมาณ 460 กว่าตัว มีตายประมาณ 28 ตัว ทั้งตำบลมีวัวอยู่ประมาณ 4,600 ตัว ประสานทางปศุสัตว์ ก็ได้แนะนำในเรื่องการใช้ยาในการดูแลรักษาวัวที่ป่วย ส่วนทาง อบต.ราม ก็จัดหาเวชภัณฑ์แล้วมอบให้กับปศุสัตว์ ให้หมออาสาดำเนินการฉีดวัวให้กับเกษตรกรที่ป่วย โดยการคิดค่ายาฉีดค่าบริการให้น้อยลง เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปีสกิน ถือว่าทางปศุสัตว์ทางท้องถิ่นก็ไม่ได้นิ่งดูดายเพื่อยับยั้งโรค ตอนนี้ก็ถือว่าดีขึ้นยอดของวัวที่ป่วยก็เริ่มลดลง หากมีตายชาวบ้านก็จะแจ้งมาเราก็จะแนะนำให้ใช้รถแบ็คโฮขุดถังกลบ ส่วนการเยียวยาหากมีการตายเกิดขึ้นทางผู้นำชุมชน เจ้าของวัวก็จะถ่ายเก็บภาพไว้ อายุวัวเท่าไหร่ เก็บเอกสารหลักฐานแล้วก็ทำบันทึกให้กับทางท้องถิ่น เพื่อพิจารณาเยียวยาช่วยเหลือเป็นขั้นตอนไป ตอนนี้ทาง อบต.ราม ก็กำลังปรึกษาหารือกันว่าจะ นัดประชุมคณะกรรมการเพื่อเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวัวที่ล้มตายไป เพราะตามระเบียบช่วยได้ไม่เกินตัวละ 2 หมื่นบาท และก็ช่วยได้ตามอายุวัว ดูตามความเหมาะสม ตามสถานะของการคลังท้องถิ่น
ด้านนายจำลอง ผูกดวง ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า จังหวัดสุรินทร์จนถึงปัจจุบันนี้มีสัตว์เลี้ยงชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคลัมปีสกินสะสมแล้วจำนวน 37,646 ตัว หายป่วยสะสม 2,364 ตัว มีสัตว์ตายสะสมทั้งสิ้น 1,399 ตัว โดยทั่วไปโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสมีแมลงเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการป้องกันและควบคุมเป็นไปด้วยความลำบาก เกษตรกรควรที่จะควบคุมที่ต้นทางด้วย คือการฉีดยาฆ่าแมลง เพื่อเป็นการกำจัดแมลงในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อป้องกันพาหะนำเชื้อโรคเข้ามา ซึ่งจังหวัดสุรินทร์พบการแพร่กระจายไปแล้วทั้ง 17 อำเภอ
ในขณะที่แนวทางในควบคุมการป้องกันโรค ทางปศุสัตว์ก็มีเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ในการเข้าไปดูแลรักษาโรคให้พี่น้องเกษตรอย่างเต็มที่ โดยท้องถิ่นก็ได้มีการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร สำหรับสำนักปศุสัตว์สุรินทร์ ได้รับการจัดสรรวัคซีนมาจำนวน 6,980 โดส โดยได้จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อฉีดวัคซีนในจุดเสี่ยงต่างๆที่ไม่พบโรคเร่งด่วนแล้ว โดยเฉพาะโคที่ลักษณะคุณภาพ ทั้งสัตว์ของทางราชการและของพี่น้องเกษตรกรที่ร้องขอมา ซึ่งวัคซีนจะฉีดได้เฉพาะสัตว์เลี้ยงที่ไม่เป็นโรคและไม่ติดเชื้อเท่านั้น ซึ่งจะมีนายสัตวแพทย์ควบคุมดูแล ประเมินความเสี่ยงด้วยเพื่อไม่ให้พี่น้องเกษตรกร มีความเสี่ยงในการที่จะไม่ก่อโรคขึ้นอีก เพราะว่าบางตัวมีเชื้อแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ หากฉีดวัคซีนเข้าไปจะเกิดอาการเพิ่มเชื้อขึ้นทันที ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อพี่น้องเกษตรกรและกรมปศุสัตว์ได้
ส่วนแนวทางการให้การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ หากสัตว์เลี้ยงของท่านตายขึ้นมา ต้องรีบแจ้งกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยด่วน เพื่อที่จะถ่ายภาพประกอบ ทำการบันทึกประวัตอายุสัตว์เลี้ยงที่ตาย ซึ่งหลักเกณฑ์การให้การช่วยเหลือตามอายุสัตว์ เช่นโคอายุ 6 เดือนขึ้นไป จะช่วยเหลือได้เป็นจำนวนเงิน 6,000-20,000 บาท กระบือเกณฑ์ช่วยเหลือตั้งแต่ 8,000-22,000 บาท โดยเกษตรกรสามารถขอความช่วยเหลือได้ตามขั้นตอนคือเริ่มแรกภายได้การแนะนำของปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ ให้ช่วยเหลือจากท้องถิ่นก่อน หากท้องถิ่นไม่สามารถช่วยได้ให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดส่งมายังอำเภอ จากนั้นอำเภอจะนำเข้าสู่ขั้นตอนการช่วยเหลือ จากคณะกรรมภัยพิบัติระดับอำเภอ หากไม่ได้ก็จะส่งเข้าระดับจังหวัด และหากมีจำนวนมากจังหวัดไม่สามารถช่วยได้ก็จะรวบรวมผ่านอนุกรรมการระดับจังหวัดส่งไปยังกระทรวง เพื่อพิจารณาช่วยเหลือต่อไป ดังนั้นในการช่วยเหลือเบื้องต้นท้องถิ่นสามารถพิจารณาช่วยเหลือได้เลย