ปราจีนบุรี พบโรคลัมปี สกินในวัว
1 min readวันที่ 2 ส.ค.64 ที่บ้านโคกสว่าง ม.7 ต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พบลูกวัวเพศเมียสีขาวอายุ2ปีมีตุ่มขึ้นตามตัวอาการเซื่องซึมไม่กินหญ้า
นายอุดร สีเนียม อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 ต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า เลี้ยงวัวไว้ 2 ตัวและลออกลูก 4 ตัว เมื่อ 2 วันที่ผ่านมาเพศเมียตัวดังกล่าวมีอาการเจ็บขาไม่กินหญ้าจึงสำรวจดูพบว่ามีตุ่มขึ้นตามตัว ลูกสาวบอกว่าลูกวัวคล้ายเป็นโรคลัมปีสกิน ในวัวจึงสอบถามคนที่เลี้ยงวัวและซื้อยาเขียวมาผสมน้ำให้กินลูกวัวอาการดีขึ้นแต่ไม่น่าไว้ใจวันนี้จะไปพบปศุสัตว์อำเภอเพื่อให้มาฉีดวัคซีลให้วัวเกรงว่าจะแพร่ระบาดสู่วัวในคอกดียวกันโรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือแต่ไม่ใช่โรคที่ติดสู่คนได้ เกิดจากเชื้อไวรัส 𝘓𝘶𝘮𝘱𝘺 𝘴𝘬𝘪𝘯 𝘥𝘪𝘴𝘦𝘢𝘴𝘦 𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴 ในสกุล 𝘊𝘢𝘱𝘳𝘪𝘱𝘰𝘹𝘷𝘪𝘳𝘶𝘴
อาการสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือกตา น้ำตาไหลและมีขี้ตานอกจากนี้สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร อาจมีภาวะเป็นหมันชั่วคราวหรือถาวร แท้งลูกและมีปริมาณน้ำนมลดลง อัตราการป่วยอยู่ที่ 5 – 45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน
ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลงการติดต่อของโรคนี้ ติดจากแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ ยุง แมลงวัน และอาจติดจากการสัมผัสใกล้ชิดกันของสัตว์ ติดจากน้ำลาย สารคัดหลั่ง สะเก็ดแผล รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกันวิธีการป้องกันโรค คือ การกำจัดและป้องกันแมลงในพื้นที่ ทำความสะอาดคอกและอุปกรณ์ในการเลี้ยง และกักสัตว์ใหม่ก่อนนำเข้าพื้นที่ โรคนี้ไม่มีการรักษาจำเพาะ ทำได้เพียงรักษาตามอาการหากพบสัตว์มีอาการต้องสงสัยต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจสอบและควบคุมโรคต่อไป
ภาพ/ข่าว ทองสุข สิงห์พิมพ์