อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

พ่อเมืองตาก ประธานประชุมสรุปแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล แก้ไขปัญหา และรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการ ระบบชลประทาน

1 min read

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงท้ายเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ ร่วมการประชุม เพื่อรับฟังการเสนอแผนหลักการแก้ไขปัญหาในแม่น้ำปิง เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพโครงการชลประทาน การปรับปรุงลำน้ำแหล่งน้ำธรรมชาติ และนำเสนอตำแหน่งที่ตั้งโครงการอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำปิงที่คัดเลือก ไปศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นต่อไป ตลอดจนเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการ ซึ่งกรมชลประทานและคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟังและจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาในรายละเอียดต่อไป โดยมีการประชุมที่ห้องประชุมอาคารปลอดประสพ ศูนย์ฝึกอบรมที่ 5 ตาก อ.เมืองตาก จ.ตาก

รายงานข่าวแจ้งว่า ตลอดระยะเวลาหลังจากการสร้างเขื่อนภูมิพลและพัฒนาระบบการชลประทาน ประเภทสูบน้ำหลังปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา การใช้น้ำในแม่น้ำปิง ตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพลจนสุดเขตจังหวัดตาก ความยาว 87 กิโลเมตร ราษฎรมีปัญหาการใช้น้ำมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงปัจจุบันแม่น้ำปิงตื้นเขิน ปัญหาตะกอนทราย เกาะแก่งในลำน้ำทำให้ร่องน้ำเปลี่ยนทิศทาง ราษฎรสูบน้ำไปใช้เพื่อการเกษตรไม่ได้ สถานีสูบน้ำไฟฟ้าของกรมชลประทานที่อยู่ 2 ฝั่งลำน้ำปิง จำนวน 10 สถานี พื้นที่ชลประทาน 4,000 ไร่ และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่ถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 แห่ง พื้นที่ชลประทาน 17,434 ไร่ สูบน้ำไปให้กับพื้นที่การเกษตรไม่ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ รวมถึงระบบสูบน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปาสำหรับการอุปโภคบริโภคและอื่นๆ

จึงมีความต้องการของประชาชนทั้งในภาคการเกษตรภาคราชการภาคประชาสังคมภาคอุตสาหกรรมหอการค้าคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนของจังหวัดตาก ต้องการให้มีการศึกษาและก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำน้ำปิง บริเวณจุดที่เหมาะสมเพียงเพื่อยกระดับน้ำให้สูงขึ้นเล็กน้อยชะลอน้ำไว้ เพื่อยืดระยะเวลาการสูบน้ำ ส่งให้กับพื้นที่ได้ทั่วถึง ทั้งภาคการเกษตร การอุปโภคบริโภค การประมง และส่งเสริมการท่องเที่ยว

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.