ตาก ปธ.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศสภาผู้แทนราษฎร ประชุมร่วม รัฐ เอกชน หลังเปิดประเทศ
1 min readตาก ปธ.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศสภาผู้แทนราษฎร ประชุมร่วม รัฐ เอกชน หลังเปิดประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจพื้นที่ชายแดน โดยต้องใช้มาตรการควบคุม เข้มข้น Covid-19
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ที่ห้องประชุม ด่านพรมแดน 2 สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2 บ้านวังตะเคียนใต้ หมู่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเศรษฐกิจใหม่ ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ-กิจการชายแดนไทย-ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ร่วมกับภาครัฐ-เอกชน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชายแดน โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มารับฟังการบรรยายสรุปและรับทราบข้อเท็จจริงและความคิดเห็นจากหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งงานด้านสาธารณสุข,ความมั่นคง,ปกครอง,ด่านตรวจคนเข้าเมือง,ด่านศุลกากร,งสนพาณิชยกรรม,งานอุตสาหกรรม,งานด่านตรวจระหว่างประเทศ ทั้งพืข สัตว์ สัตว์น้ำ ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชน หอการค้า สภาอุตสาหกรรม จ.ตาก โดยทุกฝ่ายได้รายงานสถานการณ์ ด้านต่างๆ โดยมีนายสวนิตย์ สุริยะกุล ปลัดจังหวัดตาก นำคณะส่วนการงาน จ.ตาก ให้การต้อนรับและรายงานถึงสถานการณ์ในพื้นที่ทุกประเด็น
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ-กิจการชายแดนไทย-ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางมาที่ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อศึกษาดูงานเรื่องแนวทางการเปิดตลาดการค้าชายแดนไทย-เมียนมา และดูปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 พื้นที่ชายแดน และปัญหาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในพื้นที่ชายแดนริมแม่น้ำเมย
นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ ความมั่นคงแห่งรัฐกิจ-การชายแดนไทย-ยุทธศาสตร์ชาติและ การปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ มาศึกษาดูงาน ในส่วนงาน ที่ต้องดูแล รับผิดชอบ ทั้ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 การเปิดการค้าชายแดน ภาคอุตสาหกรรม การฟื้นฟูเศรษฐกิจชายแดน การเปิดการค้า การปักปันเขตแดน การดูงานในพื้นที่พักพิงผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ สัญชาติเมียนมา ฯลฯ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไข ในทุกประเด็น
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อมีการเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 จึงต้องสนับสนุนผลักดัน การส่งออก นำเข้า สินค้าชายแดน รวมทั้งการรองรับ การใช้แรงงานต่างด้าวชาวเมียนมา ซึ่งต้องมีการข้ามแดน ทางคณะกรรมาธิการฯ จะมีการเสนอ และผลักดัน เพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าท้องถิ่น ให้มีการค้าขาย ในชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจกระจายในท้องถิ่น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจในระดับชาติ ชายแดนมีความมั่นคง มีเศรษฐกิจ กระจายในพื้นที่ ภายหลังซบเซามานานในช่วงที่เกิดวิกฤต การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด 19 อย่างไรก็ตามอาจจะมีการเปิดท่าเรือท่าข้ามธรรมชาติ หากมีการข้ามแดนจริง คงจะต้องมีการ ใช้มาตรการเข้มข้นในการตรวจ หาเชื้อไวรัสฯ ด้วยโดยใช้มาตรการที่เข้มข้น เพื่อสกัดกั้นไวรัส covid-19 เช่นมาตรการ ที่ต้องมีการการฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบโดส (ครบ 2 เข็ม และบูชเต้อร์โดสหรือเข็ม 3) และการตรวจหาเชื้อไวรัส ที่เข้มข้น ในการสว้อป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล โดยจะมีการเตรียมพื้นที่รองรับ การตรวจเชื้อไวรัส โควิด-19 ทั้งก่อนการข้ามแดนและเมื่อมีการข้ามแดนมาแล้ว ทั้งตรวจ 2ครั้ง และทึ่สำคัญคือ บุคคลที่เข้าเมือง ต้องมีการฉีดวัคซีค ครบโดส ตามหลักสาธารณสุขฯ
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ-กิจการชายแดนไทย-ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศสภาผู้แทนราษฎร ยังจะเดินทางไป ดูงานเรื่องแนวทางการเปิดตลาดการค้าชายแดน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ที่ต้องเข้มข้น และปัญหาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในพื้นที่แม่น้ำเมย นอกจากนี้คณะยังจะเดินทางไปสักการะ ไห้วพระที่วัดไทยวัฒนาราม วัดโบราณที่มีศิลปะ วัฒนธรรมแบบประสมประสานไทย-เมียนมา รวมทั้งการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงด้านปกครอง ด้านสาธารณสุขด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรมร่วมกับหอการค้า-สภาอุตสาหกรรม ที่ด่านพรมแดนไทย-เมียนมา เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทาง การเปิดด่านการค้าชายแดน รวมทั้งเดินทางไป ศึกษาพื้นที่โดยรอบของพื้นที่พักพิงผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบบ้านแม่หละ ต.แม่หละ อ.แม่ระมาด จ.ตาก และเดินทางไปดูงานการนำเข้า-ส่งออกสินค้าผ่านช่องทาง ท่าเรือ ท่าข้าม 23 บ้านวังแก้ว ต.แม่ปะ อ.แม่สอด และไปดูงาน บริเวณพื้นที่เกาะกลางแม่น้ำเมยระหว่างไทยและเมียนมาเพื่อรับทราบถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนบริเวณดังกล่าว เพื่อคณะกรรมาธิการจะได้เร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาท ด้านแนวเขตแดนระหว่างไทย-เมียนมา อีกต่อไป เนื่องปัญหาการปักปันเขตแดน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้วจำเป็นที่จะต้องแก้ไขให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว