ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษเยี่ยมชมโบราณสถานพระธาตุกู่แก้วสี่ทิศวัฒนธรรมแบบทวารวดี ศตวรรษที่ 12-16
1 min readเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ที่วัดพระธาตุกู่แก้ว ตำบลหว้านคำ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโบราณสถานพระธาตุกู่แก้วสี่ทิศ และกราบนมัสการพระอธิการวิสิทธิ์ จนฺทวํโส เจ้าคณะตำบลหว้านคำ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุกู่แก้ว โดยมี นายชัยยงค์ เมธาสุรวิทย์ นายอำเภอราษีไศล กำนันตำบลหว้านคำ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน และ อส. ชรบ. นำเยี่ยมชมพระธาตุกู่แก้วสี่ทิศ หรือกู่บ้านหว้าน ซึ่งตั้งอยู่ในป่าดงใหญ่ เป็นโบราณสถานพุทธศาสนา ในวัฒนธรรมแบบทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 จำนวน 4 แห่ง เป็นเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูนในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีอัฒจรร แผ่นครึ่งวงกลม และมีบันได 4 ทิศ ประกอบด้วยฐานบัว ท้องไม้ประดับช่องเสารองรับเรือนธาตุประดัยจระนำซุ้มทั้ง 4 ด้านและประดับสถูปขนาดเล็กที่ 4 มุมทั้ง 4 ด้าน องค์ระฆังและส่วนยอดพังทลาย ล้อมรอบองค์เจดีย์ด้วยกำแพงก่ออิฐ มีทางเข้าทางด้านทิศตะวันออก ซากอาคารในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐภายในก่อตัดตรง สันนิฐานว่าเป็นอุขมุงหรือธาตุเจดีย์ เนื่องจากดินที่ถมอัดภายในได้ถูกขุดออกไปจนกลายเป็นบ่อน้ำ เจดีย์ฐานหกเหลี่ยมกู่น้อง ก่ออิฐฉาบปูนฐานเขียงหกเหลี่ยมชัอนชั้น ส่วนบนพังทลาบไม่ทราบรูปทรง และเจดีย์สี่เหลี่ยมกู่ใหญ่ ก่ออิฐฉาบปูนฐานสี่เหลี่ยมเรือนธาตุในผังสี่เหลี่ยมประดับจระนำซุ้มทั้งสี่ด้าน ด้านบนช้อนชั้นด้วยเรือนธาตุจำลองและส่วนยอดยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา โดยกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ และอยู่ในระหว่างการสำรวจฟื้นฟูต่อไป ทั้งนี้เพื่อหารือแนวทางการรักษาทั้งป่าไม้และโบราณสถานรวมทั้งการดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เบื้องต้นอำเภอร่วมกับผู้ปกครองท้องที่และท้องถิ่นรวมทั้งประชาชนได้ร่วมกันดูแลรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า พระธาตุกู่แก้วสี่ทิศหรือกู่บ้านหว้าน ตั้งอยู่ในป่าดงใหญ่ เป็นโบราณสถานพุทธศาสนา ในวัฒนธรรมแบบทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 โดยกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ และอยู่ในระหว่างการสำรวจฟื้นฟู ทั้งนี้เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ การรักษาทั้งป่าไม้และโบราณสถานรวมทั้งการดูแลรักษาคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เบื้องต้นอำเภอราษีไศลได้ร่วมกับผู้ปกครองท้องที่ท้องถิ่นและประชาชนช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ