นครปฐม เกษตรกรปลูกผักท้อผักราคาถูกปุ๋ยขึ้นราคาเท่าตัวต้องปล่อยทิ้ง
1 min readเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565 ที่อำเภอดอนตูม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกษตรกรผู้ปลูกผักกวานตั้งโอดราคาปุ๋ยราคายาแพงขึ้นเท่าตัวแต่ผักตัดส่งขายราคาถูกเช่นผักกวางตุ้งก่อนปีใหม่เหลือเพียงโลละ 3 บาทยังไม่หักส่วนต่างค่าแรงคนงานตัดผักต่อถุงละ 5 กิโลราคา 8 บาทและค่าถุงบรรจุอีก 2.50 บาทเกษตรกรจะอยู่กันรอดหรือ
จากนั้นผู้สื่อข่าวได้เดินทางพบกับเจ้าของแปลงผักทราบชื่อนายธรรมมนูญ ลาภสุขกิจกุล (ลุงเอก)อายุ 60 ปี 53/4 ม.8 ต.ห้วยพระ อ.ดอนตูม จ.นครปฐม เล่าว่าตนเองทำบ่อตกปลามา 26 ปี และทำเกษตรปลูกผักบนเนื้อที่ 40 ไร่มากว่า 20 ปี ตนเองได้ปลูกผักกวางตุ้งใต้หวันและผักกวางตุ้งกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ปลูกผักกาดหอมใช้เวลาเก็บได้ประมาณ 45 วันกิโลละ 7 บาทปลูกผักชี ใช้เวลาปลูกประมาณ 45-50 วันเมื่อก่อนราคาหน้าสวนกิโลละ 250 บาทมาในช่วงนีราคาเหลือกิโลละ 20-40 บาท ผักคะน้าใช้เวลาการปลูก ประมาณ 45 วันปลูกผักขม (ชุนไฉ่)ใช้เวลาปลูกประมาณ 45 วันผักแต่ละชนิดที่ปลูกใช้เวลาปลูกจนกว่าจะตัดผักได้ก็เป็นเดือนผักบางชนิดก็เดือนกว่า และสิ่งที่จะเป็นในการปลูกผัก ผักถูกหนองลง เพลียลง ต้องการไล่แมลงต้องใช้ยาซึ่งราคายาก็มีราคาที่แพงขึ้นมาเท่าตัวค่าแรงคนงานส่วนใหญ่จะเป็นวัย 60 ปีขึ้นไปค่าแรงต่อวันหนึ่งก็ 300 กว่าบาทเป็นค่าใช้จ่ายของเจ้าของสวนที่จะต้องรับภาระ
อย่างเช่นยกตัวอย่างปุ๋ยยูเรียก่อนหน้านี้เคยซื้อถุงละ 480 บาทมาในช่วงนี้ราคา 1,300 บาทราคาปุ๋ยสูตรก่อนหน้านี้ราคา 920 บาทในช่วงนี่ราคา 1,200 บาทปุ๋ยเค็มก่อนหน้านี่ราคา 380 นาทในช่วงนี้ราคา 800 บาทยากะเจ้า 1 ลิตรช่วงนี้ราคา 380 บาทแต่เมื่อก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่ 100 กว่าบาทยาหนองราคา 400 บาทต่อ 1 ลิตร แต่เมื่อก่อนหน้านี้ราคา 100 กว่าบาท ยาบำรุงผักในช่วงนี้ราคา 180 บาทต่อ 1 ลิตร เมื่อก่อนราคา 100 กว่าบาท ยาน๊อคผักราคา 380 บาทต่อลิตรเมื่อก่อนราคา200กว่ารบทยาและปุ๋ยชนิดอื่นๆที่ใช้ในการปลูกผักต่างๆขึ้นราคาส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกผักได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่ผลผลิตราคาตกตำ่ลงมามากและก็ยังไม่มีการรองรับในการประกันราคาพืชผลเกษตรให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีแต่สินค้าขึ้นยกเว้นผักราคาตำ่ลงส่งผลให้เกษตรกรท้อ
จากนั้นลุงเอกบอกอีกว่าตนเองมีอาชีพเลี้ยงปลาด้วยทำจุดกางเต็นท์และทำสวนแปลงผักอยู่ประมาณ 40 ไร่ซึ่งในตอนนี้ทางด้านลุงเองได้ปลูกผักกวางตุ้งผักกาดหอม และผักกวางตุ้งใต้หวันในช่วงที่ปลูกก่อนปีใหม่ช่วงตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน ผักมีราคาดีในระดับหนึ่งยกตัวอย่างผักชีที่ลุงเอกปลูกเอาไว้ที่มีข่าวว่าผักชีกิโลกรัมละ 400 บาทแต่ชาวไร่ชาวสวนอย่างพวกเรานี้ก็จะขายได้ประมาณ 250 บาทต่อกิโลพอผักชีแพงขึ้นก็มีคนหันมาปลูกกันมากมีหน่วยงานบางหน่วยก็ให้บุคลากรปลูกผักชีด้วยส่งผลให้ผักชีมีราคาถูกลงมาในช่วงนี้ผักชีเหลือราคากิโลละ 20 บาททางลุงเอกบอกว่าจะไม่ถอนผักชีขายเอาไว้ใครจะกินเข้ามาเก็บเอาไปและยังมีปลูกผักกวางตุ้งที่นำไปต้มจับฉ่ายเหลือจะนำเอาไปใส่ในบะหมี่หรือจะทำแกงส้มก็ได้ผักกวางตุ้งราคาถุงหนึ่งนำ้หนัก 5 กิโลราคาอยู่ที่ 30-60 บาทหรือ 90 บาทเป็นบางช่วงช่วงก่อนปีใหม่ราคาผักกวางตุ้งเหลือถุงหนึ่ง 5 กิโลราคา 15 บาทเฉลี่ยแล้วกิโลละ 3 บาทในช่วงนี้ขยับมานิดหนึ่งถุงละ 5 กิโลราคาถุงละ 30 บาทเฉลี่ยกิโลละ 6 บาทและปลูกผักขมที่คนจีนเรียกชุนไฉ่ ที่นำไปประกอบอาหารในเทศกาลต่างๆจากถุงละ 5กิโลราคาประมาณ 30-60 บาทในช่วยนี้เหลือราคาถุงละ 25-30 บาทและยังมีผักกาดหอมถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนกิโลละ 30-60 บาทช่วงก่อนปีใหม่เหลือกิโลละ 7 บาทปลูกผักกวางตุ้งใต้หวันราคาไม่ตกได้กิโลกรัมละ 20 บาท
ปัญหาการตลาดก็จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับผักถึงสวนจะเป็นผู้กำหนดราคาผักและจัดคิวจัดล๊อคให้ทางเราปลูกทางเราก็จะต้องปลูกตามคิวที่ทางพ่อค้าคนกลางจัดเอาไว้ให้ ทางชาวสวนปลูกผักไปแล้วถ้าไม่ตรงกับช่วงเทศกาลขายผักก็ขาดทุนและลำบากมีหนี้สินเกิดขึ้นซึ่งทางชาวสวนปลูกผักประสบปัญหาเรื่องปุ๋ยและยาเมื่อก่อนซื้อปุ๋ยกระสอบในราคา 600-700 บาทแต่มาช่วงนี้ปุ๋ยขึ้นกระสอบละ 1,300 บาทเคมีพันธุ์ต่างๆขึ้นราคาโฮโมน วัคซีนพืช ต่างๆขึ้นราคาหมดจากขวดลิตรราคา 100 กว่าบาทมาช่วงนี้ขึ้นราคา 300 กว่าแต่ผักไม่ขึ้นราคาเท่าไรปลูกผักมากว่า 20 ปีก็เหมือนเดิมหากินไปวันๆเราต้องอยู่ให้ได้แม้กระทั้งยากำจัดวัชพืชที่ทางรัฐประกาศห้ามใช้บางตัวซึ่งเดิมตัวที่ห้ามใช้จะอยู่ที่ราคา 450 บาทแต่ปัจจุบันขายอยู่ที่ราคา 1,150 บาทที่ใช้ได้ในส่วนที่ห้ามใช้ก็ไม่ได้ใช้แต่ตัวยาที่ออกมาทดแทนราคาไม่ได้เท่าเดิม ราคา 1,150 บาทจำนวน 4 ลิตรซึ่งของเดิมเมื่อก่อนในอัคตรา 4 ลิตรเหมือนกันซื้อในราคา 300-400 บาทซึ่งราคาแตกต่างกันมากขึ้นมาเท่าตัวแล้วเกษตรกรจะอยู่กันอย่างไร แต่ราคาพืชผลทางเกษตรตกตำ่ลงมามาก ผักกวางตุ้งก่อนปีใหม่ทำเสร็จแพ๊คกิ่งแล้วถุงละ5กิโลขายได้ 15 บาทเฉลี่ยกิโลละ 3 บาทในวงเงิน 15 บาทต้องมีค่าใช้จ่ายเช่นค่าแรงงานเหมาตัดถุงหนึ่ง 8 บาทและค่าถุงอีก 2.50 บาทและค่าใช้จ่ายนำ้มันรถไปรับและส่งคนงานค่าเครื่องดื่มต่างๆคนงานส่วนใหญ่จะเป็นคนสูงอายุ 60 ขึ้น70-75 ปีแรงงานผู้สูงอายุค่าแรงต่อคน 300 บาทเลี้ยงนำ้เครื่องดื่ม รวมแล้วเป็นต้นทุนของเจ้าของสวนแปลงผักต้องรับภาระเพิ่มขึ้นผักก็ราคาถูกลงมามาก ซึ่งส่วนแรงงานหนุ่ม-สาวจะเข้าไปรับจ้างในโรงงานกันส่วนใหญ่
ทางลุงเอกบอกอีกว่าที่ข้าวของแพงขึ้นมาจากต้นทุนนำ้มัน พอนำ้มันแพงส่งผลให้ข้าวของทุกอย่างขยับตัวขึ้นหมดค่าขนส่ง ยกเว้นผักยังไม่ขึ้นราคาเท่าไรยังถูกอยู่ทำให้เกษตรกรอยู่ยากยกตัวอย่างหมูช่วงนี้กิโลละ 250 บาทลุงเอกเคยซื้อทานเมื่อหลายเดือนก่อนหมูราคากิโลละ 120-130 บาทอาหารปลาที่ลุงเอกเอามาเลี้ยงในบ่อจากราคากระสอบละ 270 บาทมาช่วงนี้ราคาขึ้นมา 310 บาทซึ่งทำให้เป็นปัญหาให้กับเกษตรกรทั่วไปได้รับผลกระทบโดยตรงและหนัก บางครั้งลุงเอกยังเคยเห็นเกษตรกรปลูกผักบรรทุกผักเอาไปทิ้งเป็นคันรถบรรทุกในส่วนสวนแปลงผักลุงเอกก็เคยเอาไปทิ้งเช่นกันแค่ไม่ได้บอกใครและยังไม่ได้เป็นข่าวเพราะทางเราต้องเอาผักออกจากแปลงเตรียมที่จะปลูกผักชุดให่มให้พ่อค้าคนกลางอีกด้วย
ลุงเอกยังขอฝากไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ว่าจะทำอย่างไรถึงจะลดต้นทุนค่านำ้มันซึ่งเป็นปัจจัยหลักทำให้ทุกอย่างแพงขึ้นและขอฝากอีกว่า ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ปุ๋ย ยา ทำอย่างไรให้ราคาลดลงมาอีกเกษตรกรเดือดร้อนซึ่งเคมีพันธุ์ที่ทางรัฐสั่งห้ามและมีเคมีพันธุ์ตัวใหม่ขึ้นมาทดแทนซึ่งควรจะอยู่ในราคาเดิมแต่ตอนนี้สารกำจัดวัชพืชเดิมเคยซื้ออยู่ในราคา 450 บาทต่อ 4 ลิตรแต่ตอนนี้ขึ้นไปที่ราคา 1,150 บาทในอัตรา 4 ลิตรเหมือนกันลุงเอกก็ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรทำอย่างไรดีช่วยให้ลดราคาปุ๋ยลงมาเท่าเดิมได้ไหม เสียงเล็กของลุงเอกส่งไปถึงรัฐบาลให้เห็นใจเกษตรกรรายเล็กๆที่อยู่ยากเหลือเกินค่าครองชีพทุกอย่างเพิ่มขึ้นการไปมาหาสู่ก็ไปยากขึ้นเพราะช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดเกษตรกรส่วนใหญ่ก็ไม่มีความสุขเลยกินอยู่ลำบากแต่ว่าเราต้องอดทนอยู่ให้ได้
ภาพ/ข่าว ปนิทัศน์ มามีสุข / นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม