เหมืองทองอัคราแจงผู้นำชุมชนรัศมี 5 กม. ขอเวลา 5 เดือนปรับปรุงเครื่องจักรชี้มีเงินกองทุนเพื่อชุมชนเพียบ
1 min readชาวบ้านและผู้นำชุมชนรอบเหมืองทองอัคราพิจิตรดีใจตื่นเต้นกันคึกคักหลังทราบข่าวหมืองทองจะได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง ชาวบ้านตั้งความหวังลูกหลานมีงานทำ ตัวแทนบริษัทเชิญผู้นำชุมชน-นักการเมืองท้องถิ่นจากพื้นที่รอบข้างรัศมี 5 กม. ฟังคำชี้แจงขอเวลาอีก 5 เดือน นับหนึ่งจากเดือนกุมภาพันธ์เพื่อใช้เวลาซ่อมแซมปรับปรุงเครื่องจักรที่ปิดสวิชต์หยุดเดินเครื่องมายาวนานเกือบ 5 ปี ยืนยันหากได้เปิดดำเนินกิจการ 90% จ้างแรงงานคนในพื้นที่ ชี้แจงละเอียดยิบมีเงินกองทุนแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพพัฒนาคุณภาพชีวิตนับร้อยล้านบาท แต่ผู้นำชุมชนท้วงติงมีกองทุนแต่เข้าถึงยากเสนอปรับแก้
วันที่ 28 มกราคม 2565 ความคืบหน้าเหมืองทองอัครา ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ที่ขณะนี้อยู่ในความสนใจของคนไทยทั้งประเทศที่จับจ้องมองว่า เหมืองทองอัคราจะได้กลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งภายในปี 2565 นี้ ล่าสุดเมื่อวันวานที่ผ่านมา นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายกิจการภายนอก บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ได้เชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมการรับฟังคำชี้แจงที่จัดขึ้นโดยการเชิญผู้นำท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย นายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก , นางสาวฉัตรนภา เมืองแป้น นายก อบต.ท้ายดง , นายสุพจน์ กระออมแก้ว สจ.เขต อ.ทับคล้อ พิจิตร , นายนิพล ผลน้อย กำนันตำบลเขาเจ็ดลูก , นายสมคิด รินนาศักดิ์ สจ.อ.วังโป่ง เขต1 เพชรบูรณ์ , นายธวัชชัย พรมดี กำนันตำบลท้ายดง , นายสำราญ แก้วดอก กำนันตำบลวังโพรง ที่อยู่ในเขตพิจิตร-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์ ซึ่งมีพื้นที่ปกครองอยู่ในรัศมี 5 กม. รอบเมืองทองอัครา รวมกว่า 40 คน เพื่อรับฟังการอธิบายและตอบข้อซักถามของการกลับมาเปิดดำเนินการของเหมืองทองอัครา
โดยตัวแทนของอัคราได้ชี้แจงกับผู้นำชุมชนว่า จากข่าวที่บริษัทได้รับอนุญาตการต่ออายุประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำและเงิน จำนวน 4 แปลง ออกไปอีก 10 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2574 และการได้รับอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรม ออกไปอีก 5 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 18 มกราคม 2570 นั้น บริษัทขอชี้แจง ให้กับผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตัวจริงให้ช่วยนำข้อมูลไปสื่อสารกับชาวบ้านด้วยว่า อัคราจะกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้งโดยช่วงแรกนับจากวันที่ 1 ก.พ. 65 ใช้เวลาต่อจากนี้อีกประมาณ 5 เดือนจะเป็นการดำเนินการส่งทีมช่างที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ พาหนะและยานยนต์ อาคารสถานที่เข้าดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงให้ทุกอย่างมีสภาพที่พร้อมใช้งาน จากนั้นก็จะรายงานไปยังกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้มาตรวจความพร้อมเพื่อเข้าสู่การดำเนินกิจการ จากนั้นก็จะประกาศรับสมัครคนงานซึ่งมีข้อตกลงเอาไว้ว่า 90% จะต้องเป็นคนในพื้นที่อยู่รอบๆ เหมืองทองอัครา ส่วนอีก 10% ก็จะเป็นผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางเท่านั้น วึ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้นำชุมชนกว่า 40 คน ที่มาร่วมรับฟังคำชี้แจงในครั้งนี้
นอกจากนี้ตัวแทนของเหมืองทองอัครายังได้ชี้แจงถึงเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพรวมถึงโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต-ความเป็นอยู่-อาชีพการทำมาหากิน-การศึกษา และอื่นๆ ว่า เหมืองทองอัครา ขณะนี้มีกองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ดังต่อไปนี้ คือ
กองทุนต่างๆ ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)
1 . กองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA
*ของเดิม กองทุนฟื้นฟูพื้นที่โครงการ วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูพื้นที่โครงการ ลักษณะโครงการ จัดเก็บ 44 บาทต่อออนซ์ทองคำที่ผลิตได้ตามเงื่อนไข EIA ชาตรีใต้ จากนั้น จากนั้นเก็บเพิ่มเป็น 145 บาทต่อออนซ์ทองคำตามเงื่อนไข EIA ชาตรีเหนือ โดยแบ่งการเก็บเป็นกองทุนสำหรับช่วงดำเนินการ 95 บาทต่อออนซ์ และ กองทุนหลังเหมืองปิด 50 บาทต่อออนซ์ เงื่อนไข EIA กองทุนนี้บริษัทบริหารจัดการเองไม่มีคณะกรรมการ ปีที่เริ่มจ่าย 2546-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 149,469,430 (operation) 90,393,700 (mine close) @ Nov 2016 หมายเหตุ ของเก่ายกเลิกโดย กพร.จะต้องแจ้ง สผ. เนื่องจากกองทุนนี้เป็นมาตรการใน EIA ชาตรีเหนือ
*ของใหม่ กองทุนฟื้นฟูพื้นที่เหมืองแร่ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ ฟื้นฟูพื้นที่โครงการ และพัฒนาชีวิตของประชาชน(กรณีมีเงินเหลือจากฟื้นฟูตามแผนครบถ้วน) ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 10 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน 31 ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จัดตั้งใหม่และขอรายละเอียดการใช้เงินกองทุน ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 30,000,000
*ของเดิม กองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และพัฒนาชุมชน ลักษณะโครงการ เก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 10 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น15 ปี เป็นเงิน 150 ล้าน ตามเงื่อนไขแนบท้ายโลหกรรม) 2551-2565 เงื่อนไข EIA+Met ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 90,000,000 หมายเหตุ จ่ายของเดิมปีละ 10 ล้านจนครบ 150 ล้าน ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 10,000,000
*ของใหม่ กองทุนประกันความเสี่ยงตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และพัฒนาชีวิตของประชาชน (กรณีมีเงินเหลือจากแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามแผนครบถ้วน) ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 3 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน อพร.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย เริ่มจ่ายหลังจากกองเดิมจ่ายครบ 150 ล้านบาทแล้ว
2 . กองทุนตามเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตโลหกรรม เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2555
*ของเดิม กองทุนพัฒนาท้องถิ่น วัตถุประสงค์ 29 หมู่บ้านรอบเหมือง วัตถุประสงค์ เก็บเงินเข้าบัญชีสัดส่วนปริมาณโลหะทองคำที่ผลิตได้ในอัตรา 3 บาท/กรัม หรือไม่น้อยกว่าปีละ 15 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาประกอบโลหกรรม เงื่อนไข Met ปีที่เริ่มจ่าย 2556-2559 60,000,000
*ของใหม่ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำพัฒนาหมู่บ้านรอบเหมือง วัตถุประสงค์เก็บเงินร้อยละ 5 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน 31 ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จ่ายตามกองทุนเดิมต่อไปได้ ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 15,000,000
- กองทุนที่จัดตั้ง ก่อนอนุญาตประทานบัตร (โครงการเหมืองแร่ทองคำ“ชาตรีเหนือ” ปี 2550) *ของเดิม กองทุนพัฒนาตำบล วัตถุประสงค์ 12 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลเขาเจ็ดลูก ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาตำบลเขาเจ็ดลูก สะสมเงินเข้าบัญชีละ 5 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี เงื่อนไข ประทานบัตรชาตรีเหนือ ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 37,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 50 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 5,000,000
*ของเดิม กองทุนพัฒนาตำบล วัตถุประสงค์ 13 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท้ายดง ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาตำบลท้ายดง สะสมเงินเข้าบัญชีละ 5 ล้าน เป็นเวลา 10 ปี เงื่อนไข ประทานบัตรชาตรีเหนือ ปีที่เริ่มจ่าย 2551-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 45,000,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 50 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 5,000,000
*ของเดิม กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน วัตถุประสงค์ บ้านเขาดิน ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านเขาดินและหมู่บ้านนิคม โดยเก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) เงื่อนไข TSF 2 / ถูกจัดตั้งโดยข้อตกลงบริษัทและชาวบ้าน ปีที่เริ่มจ่าย 2555-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 4,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 5 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 500,000
*ของเดิม กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน วัตถุประสงค์ บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ลักษณะโครงการ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านเขาดินและหมู่บ้านนิคม โดยเก็บเงินเข้าบัญชีปีละ 1 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 5 ปี (2555-2559) เงื่อนไข TSF 2 / ถูกจัดตั้งโดยข้อตกลงบริษัทและชาวบ้าน ปีที่เริ่มจ่าย 2555-2559 จำนวนเงินที่อุดหนุนไปแล้ว 4,500,000 หมายเหตุ จ่ายต่อจนครบ 5 ล้านบาทตามเงื่อนไขเดิม ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 500,000
*จัดตั้งใหม่ กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ วัตถุประสงค์ ใช้สำหรับกิจกรรมเฝ้าระวังและศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่เหมือง ลักษณะโครงการ เก็บเงินร้อยละ 3 ของค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทชำระในแต่ละปี แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ตลอดระยะเวลาการประกอบการ เงื่อนไข มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ผวจ.เป็นประธาน ปีที่เริ่มจ่าย หลังได้ประทานบัตรและจ่ายภายใน 31 ม.ค. ของปีถัดไป หมายเหตุ จัดตั้งใหม่ ยอดจ่ายหลังได้ประทานบัตร 10,000,000
ซึ่งรวมเม็ดเงินหลายร้อยล้านบาทที่ประชาชนที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราหากเกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเงินเหล่านี้ก็จะเป็นกองทุนในการชดเชยหรือเยียวยาหากเกิดผลกระทบดังกล่าว ซึ่งจากการอธิบาย นายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก , นางสาวฉัตรนภา เมืองแป้น นายก อบต.ท้ายดง ซึ่งเป็นตัวแทนผู้เข้าประชุมและเป็นผู้นำชุมชนได้แสดงความคิดเห็นว่า…กองทุนต่างๆเหล่านี้ที่ผ่านมาชาวบ้านเข้าถึงเม็ดเงินได้ยากมากทำโครงการอะไรเสนอไปก็มักถูกซักฟอก-ซักถาม-คอมเม้นให้ทำมาใหม่ จากคณะกรรมการกองทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝ่ายราชการและนักวิชาการ แต่ตรงกันข้ามโครงการที่เป็นของนักวิชาการกลับผ่านการพิจารณาแล้วมาเอาเม็ดเงินของกองทุนต่างๆไปใช้จนถึงวันนี้ชาวบ้านรอบเหมืองทองอัคราจึงมีความรู้สึกว่าไม่เห็นค่า ไม่เห็นความสำคัญของกองทุนต่างๆเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความวุ่นวายและข้อเรียกร้องต่างๆนานๆ ดังกล่าว
ภาพ/ข่าว สิทธิพจน์ พิจิตร