อังคาร. พ.ย. 5th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคลองหลวง ชี้แจง ไม่ได้ทุจริตงบประมาณ

1 min read

นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคลองหลวง ชี้แจง ไม่ได้ทุจริตงบประมาณ
วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 10:30 น. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ เทศบาลเมืองคลองหลวง ติดตามความคืบหน้ากรณีที่มี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง เข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ เพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่อง การทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ของ นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคลองหลวง

นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองคลองหลวง ได้เปิดใจชี้แจงให้กับผู้สื่อข่าว พร้อมนำหลักฐานเอกสารวาระการประชุมเรื่องการอนุมัติ โครงการทั้ง 5 โครงการ ที่มีสมาชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง ร้องเรียนตน ว่ามีการใช้งบประมาณที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเทศบาลฯ โดยเฉพาะช่วง covid 19 ซึ่งมีพฤติกรรมที่ส่อแววทุจริตในงบประมาณ (200-300ล้านบาท)


โดยนายเอกพจน์ ปานแย้ม ชี้แจงไขข้อกระจ่าง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆในการใช้งบประมาณ ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างหลังคาสะพานลอยแบบประติมากรรมพร้อมชุดไฟส่องสว่าง
ซึ่งโครงการนี้ ได้นำเข้าเสนอในที่ประชุม สภาเทศบาลเมืองคลองหลวง สมัยวิสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 21 กันยายน 2564 ในระเบียบวาระที่ 4 ญัตตินายก เทศมนตรี เรื่องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม เพื่อจ่ายเป็นค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
เหตุผลที่ขออนุมัติ ใช้จ่ายเงินสะสมเพราะเป็นโครงการซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เพื่อเป็นการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการสัญจรเดินทาง และเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของประชาชน จึงจำเป็นต้องขอใช้จ่ายเงินสะสม ประจำปีงบประมาณพ. ศ. 2564 โดยมติในที่ประชุมยกมือเห็นชอบอุนุมัติ 13 ท่าน งดออกเสียง 4 ท่าน ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการ ก่อสร้างหลังคาสะพานลอยแบบประติมากรรมพร้อมชุดไฟส่องสว่างนั้น ได้ผ่านมติที่ประชุมของสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง อย่างถูกต้อง

2.โครงการจัดซื้อถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ที่ได้ผลกระทบ covid
ซึ่งโครงการนี้ได้นำเข้าที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.25564 โดยโครงการจัดซื้อถุงยังชีพ มีเป้าหมายการจัดซื้อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้กับพี่น้องประชาชนเมืองคลองหลวง ทุกครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 ชุด ชุดละ 550 บาท ซึ่งในถุงยังชีพนั้นจะประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิ ขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัม จำนวน 1 ถุง ปลากระป๋อง ขนาดบรรจุ 10 กระป๋อง 1 แพ็ค น้ำมันพืช ขนาดบรรจุ 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนาดบรรจุ 10 ซองจำนวน 1 แพ็ค น้ำดื่ม ขนาดบรรจุ 600 ml จำนวน 3 ขวด น้ำปลาแท้ จำนวน 1 ขวดน้ำมันหอย จำนวน 1 ขวด ซีอิ๊วขาว จำนวน 1 ขวด ผักกาดดองเค็ม จำนวน 1 ถุง แล้วก็บรรจุภัณฑ์ รวมเป็นเงินทั้งหมด 550 บาท
โดยมติในที่ประชุมยกมือเห็นด้วยอนุมัติ 13 ท่าน งดออกเสียง 4 ท่าน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า โครงการจัดซื้อถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชนนั้น ได้ผ่านมติในที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง อย่างถูกต้อง

3.โครงการจัดซื้อเวชภัณฑ์ และวัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
ซึ่งโครงการนี้ ได้นำเสนอเข้าที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.25564 ตามหลักการ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันบำบัดโรคและระงับโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50(4)บัญญัติให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ มาตรา 53(1) บัญญัติให้เทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามเอกสารที่ระบุไว้ในมาตรา 50 และมาตรา 56 (1)
โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ที่ประชุมสภามีการเสนอให้จัดซื้อ

  • ยาเวชภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยาง หรือหนังผ้าปิดปากหรือปิดจมูก รองเท้ายางหุ้มส้นสูงใต้เข่า (รองเท้าบูท) หรือเสื้อกันฝน
  • หน้ากากอนามัย 3 ชั้น (ขนาดบรรจุ 50 ชิ้น/กล่อง)
  • สเปรย์แอลกอฮอล์ ขนาด 50 ml.
  • เจลแอลกอฮอล์ ขนาด 300 ml.
  • ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด ขนาดบรรจุ 1 ลิตร
  • คู่มือ วัคซีนสู้โควิชฉบับประชาชน
    ซึ่ง โครงการจัดซื้อเวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ได้เสนอญัตติต่อสภาเทศบาล เพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมเพื่อเป็นค่า เวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์
    โดยในมติที่ประชุม ยกมือเห็นด้วยอนุมัติ 13 ท่าน งดออกเสียง 3 ท่าน
    จะเห็นได้ว่า โครงการนี้ ได้นำเสนอและผ่านมาดี ที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองคลองหลวงอย่างถูกต้อง

4.โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสนามจำนวน 2 แห่ง เป็นอำนาจของนายกตามระเบียน ว.115และผ่านการเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ตามหนังสือสั่งการ
โดยทางจังหวัดปทุมธานี ได้ทำหนังสือถึงนายกเทศบาลเมืองคลองหลวง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
เรื่อง มอบหมายภารกิจการปฏิบัติงาน การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID19) กรณีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่

  1. หนังสือจังหวัดปทุมธานี ด่วนที่สุด ที่ ปท 0023.3/ว 263 ลงวันที่7 มกราคม 2564
  2. หนังสือจังหวัดปทุมธานี ด่วนที่สุด ที่ ปท 0023.3/ว 510 ลงวันที่ 12 มกราคม 2564
  3. หนังสือจังหวัดปทุมธานี ด่วนที่สุด ที่ ปท 0023.3/ว 1779 ลงวันที่ 29 เมษายน 2564
    ตามที่จังหวัดปทุมธานี แจ้งซักซ้อมแนวทางการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID19) กรณีตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว นั้น
    จังหวัดปทุมธานี พิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 50 (4) บัญญัติให้เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำตามกิจการที่ระบุไว้ในมาตรา 50 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) เป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย และรวดเร็ว
    ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ครั้งที่ 35/2564 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 25564 จึงมอบหมายภารกิจให้เทศบาลเมืองคลองหลวง มีหน้าที่ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และการรักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) โดยให้เทศบาลเมืองคลองหลวง ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ โดยบูรณาการความร่วมมือกับโรงพยาบาล วัด หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และการรักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ในจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด และบริหารจัดการขยะติดเชื้อตามมาตรการการจัดการขยะในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ถ้า 2019 (COVID 19) เรียนเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป(นายชัยวัฒน์ชื่นโกสุม)ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
    ซึ่งกรณีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามนั้น นายกเทศมนตรี มีอำนาจหน้าที่นำเรื่องเสนอต่อทางจังหวัดได้โดยตรงเพื่อให้ทางจังหวัดอนุมัติ การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ โดยไม่ต้องผ่านมติในที่ประชุมของสภาเทศบาลก็ได้ ต่อมา ทางจังหวัดได้มีหนังสือถึง นายกเทศมนตรีเมืองคลองหลวง มอบหมายภารกิจให้เทศบาลเมืองคลองหลวง มีหน้าที่โดยให้เทศบาล เมืองคลองหลวงดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ โดยบูรณาการความร่วมมือกับโรงพยาบาล วัด หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และการรักษาพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดปทุมธานี
  4. กรณีสร้างโรงพยาบาลสนาม นายเอกพจน์ ปานแย้ม ยังชี้แจงอีก ว่า การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลเมืองคลองหลวง ทุกโครงการนั้นโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ไม่มีการทุจริต ต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยเด็ดขาด!.และไม่เป็นความจริง อย่างที่ท่านสามชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวงกล่าวหา และร้องเรียนไป
    การที่สมาชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวงไปร้องเรียนตนนั้น ทำให้เกิดความเสื่อมเสียมากแก่ตนและเทศบาลเมืองคลองหลวง ประชาชนเข้าใจผิด และขาดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
    ซึ่งประเด็นที่มีการร้องเรียนข้างต้น นั้น ล้วนแต่มีการนำเสนอต่อที่ประชุมสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง และมีญัตติเห็นชอบอนุมัติโครงการทั้งสิ้น
    โดยในการจัดประชุมทุกครั้ง จะมีสมาชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวงเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกันตลอด ซึ่งผู้ร้องเรียน ก็เป็นถึงสมาชิกสภาเทศบาลเมืองคลองหลวง และเข้าร่วมการประชุมลงญัตติในที่ประชุมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวตลอด
    จึงอยากเรียนชี้แจง กับผู้ที่ร้องเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง พี่น้องประชาชน ว่า การใช้จ่ายงบประมาณองค์กรส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลเมืองคลองหลวงนั้น ได้มีการผ่านมติในที่ประชุมและอนุมัติในการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรงตามวัตถุประสงค์ สามารถตรวจสอบได้ทุกโครงการ
    นายเอกพจน์ ปานแย้ม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองคลองหลวงกล่าว!
 
Loading...

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.