ร้อยเอ็ด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar)
1 min readร้อยเอ็ด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar) เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ช่วงเปิดงานประธานตื่นเต้นในการจุดไฟเผาถ่านแบบไม่ธรรมดาที่ อ.ศรีสมเด็จ
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 3 ก.พ.2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอศรีสมเด็จ หมู่ที่ 4 ตำบล โพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ดนายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการ(ถ่านชีวภาพ Biochar) นายอำเภอศรีสมเด็จ กล่าวต้อนรับเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงาน
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย ได้ให้คำแนะนำต่อเกษตรกรที่เข้าร่วมงาน ถึงประโยนช์ ถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar) เป็นการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร ด้วยการผลิตเป็นถ่านชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดิน ถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar)ที่ได้จากกระบวนการ ย่อยสลายเชิงความร้อนของชีวมวลเช่น ต้นไม้/เศษใบไม้กิ่ง/ไม้เศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เช่น ฟางข้าว/ตอซัง/ ซังข้าวโพด/ เปลือกถั่ว/ เปลือกผลไม้ /เหง้ามันสําปะหลัง
ประโยชน์ : การดูดซับสารเคมีและโลหะหนักจากสารเคมี ที่อยู่ในดินและน้ำ ความแตกต่างระหว่าง ถ่านชีวภาพ (biochar) และถ่าน (char) ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง กรองน้ำ ดับกลิ่น ใช้อุณหภูมิสูงกว่า 700 องศาเซลเซียส ขณะที่ถ่านชีวภาพใช้อุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้ถ่านชีวภาพมีสารที่เป็นประโยชน์กับพืช มีอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก สามารถกักเก็บคาร์บอนลงในดินและช่วยปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินและมีสมบัติอีกหลายอย่างที่ทำให้ถ่านชีวภาพถูกนำมาใช้ในหลายด้าน
highlightของงาน : เหตุการณ์สำคัญช่วงที่ประธานเปิดงาน เจ้าภาพไม่ได้เตรียมริบบิ้นไว้ให้ประธานตัดริ้บบิ้นและไม่ได้เตรียมฆ้องให้ท่านประธานได้ลั้นฆ้องชัย เพื่อเปิดงาน แต่เจ้าภาพได้เตรียมปุ่มกดแบ๊ตเตอร์รี่จุดชนวนบ๊องไฟให้ประธานกด เมื่อประธานกดปุ่ม บั้งไฟจะถูกจุดชวนด้วยแบตเตอรี่แล้ววิ่งเข้าสู่เถาเผ่าถ่าน ชีวภาพ หรือไบโอชาร์ (Biochar)เพื่อเผาเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร (ประธานตื่นเต้น)ในการจุดไฟเผาถ่านแบบไม่ธรรมดาที่ อ.ศรีสมเด็จ
ภาพ/ข่าว สุเทพ ลอยแก้ว รายงาน