ส.ส.ศรีสะเกษเขต 8 เปิดงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟเทศบาลตำบลผือใหญ่ปี 2565
1 min read
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เวลา 17.00 น ที่ลานวัดบ้านผือ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นางผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ เขต8 เป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมี นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ นายประยูร เดชหาญ นายกเทศมนตรีตำบลผือใหญ่ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และนามคณะกรรมการดำเนินงานหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลผือใหญ่ร่วมกิจกรรมงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี พ.ศ.2565 เป็นจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสีบสานประเพณีบุญขั้งไฟอันเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป เพื่อเป็นการบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณีอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบลร่วมกันดำเนินงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ตำบลผือใหญ่ มีความสมัครสมานสามัคคีมีความสมานฉันท์อันนำไป สู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนต่อไป ทั้งนี้ได้ดำเนินการดังกล่าว ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด
นายประยูร เดชหาญ นายกเทศมนตรีตำบลผือใหญ่ กลล่าว่า ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนาน มาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้าน ดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญขั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถนหรือ เทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตก ถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงาน บุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิด ภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ บั้ง” แปลว่า”ไม้กระบอก” บั้งไฟเป็นดอกไม้เพลิง ทำจากกระบอก ไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นการ บวงสรวงพญาแถน โดยมีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ”บั้งไฟธรรมดา” บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม บั้งไฟหมื่น” บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัมและบั้งไฟแสน” บรรจุดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม
นายกเทศมนตรีตำบลผือใหญ่ กล่าวต่อไปว่า การเสี่ยงทายถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็แปลว่าฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะพากันเลี้ยงฉลองรื่นเริงกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้น ก็หมายความว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น ในวันแรกของเทศกาลหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า”วันโฮม” จะมีการนำเอาขั้งไฟออกมาแห่แหนตามหมู่บ้านกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจุดกันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิดการระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวดความสวยงามและความสูง ของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า และหากยั้งไฟอันไหนไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้าน เจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตมกลางทุ่งนาเป็นการทำโทษ การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ เน้นการจัดตามแบบประเพณีดั้งเดิมคือ การจัดบั้งไฟเองในทุกขั้นตอน เพื่อให้เยาวชนรุ่นลูกหลานได้รู้ถึงวิธีการทำบั้งไฟ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป
ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ จ.ศรีสะเกษ