อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) – SCG ประกอบพิธียกเสาเอกโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement)

1 min read


วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.59 น. บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) – SCG ประกอบพิธียกเสาเอกโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) เพื่อความเป็นสิริมงคลและการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงของกิจการ โดยคุณสุจริต ปัจฉิมนันท์ ประธานกรรมการบริษัทเป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งคุณชูศรี เกียรติขจรกุล รองประธานกรรมการบริษัท กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ลูกค้า คู่ค้า และแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว ณ บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพลังงาน ภายใต้การรวมกลุ่มธุรกิจ โดยบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ เครือสหพัฒน์ ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2539 มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมสูงสุด 214 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 96 ตันต่อชั่วโมง โดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 90 เมกะวัตต์ จำหน่ายแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้โครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และไฟฟ้าส่วนที่เหลือรวมทั้งไอน้ำจำหน่ายแก่โรงงานอุตสาหกรรมในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการลงทุนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) เป็นการดำเนินการตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อทดแทน (SPP Replacement) โครงการเดิมที่จะหมดสัญญากับ กฟผ. ในปี 2567 เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง โรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 79.50 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 75 ตันต่อชั่วโมง โดยมีกำหนดจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือนเมษายน 2567 ภายใต้งบประมาณการลงทุนรวม 2,700 ล้านบาท

ประวัติความเป็นมาและภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG

Ans. บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานภายใต้การรวมกลุ่มธุรกิจของบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และเครือสหพัฒน์ ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 ผลิตไฟฟ้าและไอน้ำด้วยระบบพลังความร้อนร่วมโดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 214 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 96 ตันต่อชั่วโมง พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 90 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และไฟฟ้าส่วนที่เหลือรวมทั้งไอน้ำจำหน่ายให้กับโรงงานต่างๆในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์-ศรีราชา

วัตถุประสงค์ในการสร้างโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement)

Ans. การก่อสร้างโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) เป็นการดำเนินการตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อทดแทน (SPP Replacement) โครงการเดิมที่จะหมดสัญญาจำหน่ายไฟฟ้ากับกฟผ. ในปี 2567 เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงด้านพลังงานให้กับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง

หลังจากสร้างโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) แล้วโรงไฟฟ้าโครงการเดิมยังคงอยู่หรือไม่ Ans. ยังคงดำเนินการอยู่ตามปกติ เครื่องจักรเดิมบางส่วนจะใช้เป็นเครื่องจักรสำรอง ไว้ทดแทนกรณีที่มีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำปี

ความพิเศษของโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) Ans. ใช้เครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำต่ำลง

บทบาทหน้าที่ของโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) Ans. โรงไฟฟ้าใหม่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำที่ส่งจำหน่ายให้กับคู่ค้าได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชาได้เป็นอย่างดี

มีการนำแนวคิดด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นกระแสโลกในปัจจุบัน มาใช้กับโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่หรือไม่ อย่างไร? Ans. การที่มีโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำตั้งอยู่ภายในสวนอุตสาหกรรมและจำหน่ายให้กับคู่ค้าโดยตรงเพียงจุดเดียว เป็นการช่วยลดมลภาวะจากกระบวนการผลิตในภาพรวม และการดำเนินธุรกิจของบริษัทอยู่ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด

ในแง่ของการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ตั้งแต่ระหว่างการก่อสร้างไปจนถึงเมื่อโครงการแล้วเสร็จ มีการดำเนินการอย่างไร Ans. การดำเนินงานของโครงการอยู่ในข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT – EIA) ซึ่งบริษัทได้ว่าจ้างบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งรายงานดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยมลพิษทางอากาศ ใช้เทคโนโลยี DRY LOW NOx (DLN) และ WATER INJECTION ในการควบคุมการเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนที่เกิดขึ้นขณะเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ จะส่งผลให้เกิดออกไซด์ของไนโตรเจนน้อยที่สุด ส่วนน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตจะมีค่าความปนเปื้อนต่ำ ตามข้อกำหนดของระบบบำบัดน้ำส่วนกลางของสวนอุตสาหกรรม

นอกจากกลุ่มผู้ใช้ที่มีอยู่เดิมอย่างเช่น กฟผ. และโรงงานอุตสาหกรรมในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จะมีการขยายผู้ใช้เพิ่มหรือไม่
Ans. สามารถรองรับได้ทั้งลูกค้าที่จะเข้ามาตั้งโรงงานใหม่และลูกค้าเดิมที่จะขยายกำลังการผลิตในอนาคต

มูลค่าการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement)
Ans. โรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ (SPP Replacement) มีมูลค่าการลงทุนรวม 2,700 ล้านบาท

หลังจากโรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่แล้วเสร็จ คาดว่าจะมีศักยภาพในการผลิตพลังงานได้เท่าไหร่ (ต่อหน่วยกำลังการผลิต)
Ans. โรงไฟฟ้าสหโคเจนโครงการใหม่ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 79.50 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 75 ตันต่อชั่วโมง

การก่อสร้างโครงการจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ และ สามารถเปิดใช้ได้อย่างเป็นทางการเมื่อไหร่
Ans. ตามกำหนดระยะเวลาของการก่อสร้างโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือนเมษายน 2567

ภาพ/ข่าว สมยศ วงสุดาวรรณ จ.ชลบุรี

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.