คปภ. นำทีมลงนาม MOU บูรณาการร่วมกับ EEC หอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ขับเคลื่อนส่งเสริมการบริหารความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัยอย่างยั่งยืน
1 min read
วันที่ 16 มีนาคม 2566 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) พร้อมด้วย ดร.ธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก นายปรัชญา สมะลาภา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย ดร.กฤษณะ วจีไกรลาศ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย ดร.สาโรจน์ วสุภานิช ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เรื่อง การบูรณาการองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านประกันภัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.)สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก โดยมีนายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี คณะผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 4 หน่วยงานและสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมเทาทองมหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ EEC Automation Park ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาคน นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EECเลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ เพื่อเป็นการประสานความร่วมมือและจัดให้มีเครื่องมือและกลไกที่ทั้ง 4 หน่วยงานสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ในการส่งเสริม
การบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยระบบประกันภัยอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบความร่วมมือ 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านวิชาการองค์ความรู้และความคิดเห็น ด้านการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงนโยบาย ด้านการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการประกันภัยผ่านสื่อต่าง ๆ และ ด้านอื่น ๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจและประชาชนในเขตพื้นที่ EEC เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อบรรเทาความสูญเสียหรือความเสียหาย และช่วยเสริมศักยภาพทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงนาม MOU ในครั้งนี้ คือ 1) ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่ ECC เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ให้สามารถตอบสนองต่อความเสี่ยงและความต้องการ 2) กลุ่มธุรกิจและประชาชน เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจทำประกันภัย 3) ภาคธุรกิจประกันภัยมีโอกาสเข้าไปร่วมลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการขับเคลื่อนนโยบาย EEC โดยสำนักงาน คปภ. จะเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการบูรณาการตามกรอบความร่วมมือของการลงนาม MOU “การลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงานในครั้งนี้ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจร ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันให้ระบบประกันภัยเข้ามามีส่วนในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความข้มแข็งให้กับประชาชนได้แบบยั่งยืนอย่างแท้จริง” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย
ภาพ/ข่าว วิศาล แสงเจริญ จ.ชลบุรี