พลตรี เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2563 (มีคลิป)
1 min readวันนี้ 7 ม.ค.2563 ที่ ห้องประชุมกาหลง วิทยาลัยชุมชนสตูล อ.เมือง จ.สตูล พลตรี เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีนายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวรายงาน และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงาน ภาครัฐ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และเยาวชนภาคประชาชน ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดสตูล
พลตรี เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 มอบนโยบายในการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญเป็นบ่อนทำลายประเทศ ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาในระดับที่สูงมาก โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ปัญหายาเสพติดลดน้อยลงให้ได้ ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง แก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2563 ประกอบด้วย 5 มาตรการ คือNNT Toggle navigation รองแม่ทัพภาคที่ 4 ย้ำ นโยบายแม่ทัพภาคที่ 4 ให้ทุกภาคส่วนร่วมดูแลเฝ้าระวัง และนำผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด เพื่อคืนคนดีสู่สังคม คืนเยาวชนสู่อ้อมกอดของครอบครัว ตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2563 ประกอบด้วย 5 มาตรการ คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ,การปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ,การป้องกันยาเสพติด ,การบำบัดรักษายาเสพติด และการบริการจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด และลดระดับความรุนแรงของปัญหาสู่การเป็นสังคมไทยปลอดภัยยาเสพติด
ในส่วนของปัญหายาเสพติดถือเป็นทุกข์ร่วมของพี่น้องประชาชน โดยพลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นน้ำด้วยการนำผู้เสพสู่การบำบัดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด Camp 35 จังหวัดปัตตานี ครั้งแรกได้ตั้งเป้านำผู้เสพเข้าสู่การบำบัด 10,000 กว่าคน แต่จากปีที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการบำบัดมากถึง 20,000 กว่าราย สิ่งสำคัญที่ทางแม่ทัพภาคที่ 4 คาดหวัง คือ การคืนคนดีสู่สังคม คืนเยาวชนที่ปลอดจากยาเสพติดสู่อ้อมกอดของพ่อแม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบุคคลที่ผ่านจาก Camp 35 สามารถหลุดพ้นจากบ่วงยาเสพติดไม่หวนกลับไปเสพอีกได้เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ได้ช่วยกันดู เฝ้าระวัง และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดฯ
นอกจากนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ส่วนราชการในพื้นที่ให้บูรณาการร่วมกัน โดยทหารเป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนเท่านั้น ส่วนการปราบปรามได้ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ค้ารายย่อยที่จะตัดวงจรไปสู่ผู้บำบัด ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาเห็นสถิติมากมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนและสำคัญ ที่แม่ทัพภาคที่ 4 ให้ทุกภาคส่วนดำเนินการเพื่อนำเยาวชนคนดีคืนสู่สังคม และตัดวงจรของกระบวนการค้ายาเสพติดในพื้นที่
ภาพ/ข่าว นิตยา แสงมณี ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล