ลพบุรี กรมชลประทาน จัด โครงการปรับปรุงโครงการส่งน้ำในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาว
1 min read
ที่ เรือนรับตะวัน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี นาง เพชรรัตน์ เลิศรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธาน เปิดการปฐมนิเทศรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์และช่องแค โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงผู้แทนกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ และตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ กว่า 200 คน เข้าร่วม
ทั้งนี้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์และช่องแค เป็นโครงการในลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองชัยนาท-ป่าสัก มีพื้นที่ชลประทานครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยประตูระบายน้ำมโนรมย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำ ที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำช่องแค ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ทั้ง นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี และ สระบุรี บางส่วน
ซึ่งปัจจุบัน ระบบชลประทานของโครงการ มีประสิทธิภาพลดลงและไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นเวลานาน กว่า 50 ปี และอาคารบางแห่งชำรุดเสียหาย แม้ว่าจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ
กรมชลประทาน ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยต้องดำเนินการปรับปรุงระบบชลประทานของทั้ง 2 โครงการ ให้มีความสอดคล้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของชัยนาท-ป่าสัก และเป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์กับระบบชลประทานของโครงการได้อย่างเหมาะสม จึงนำไปสู่การศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา และเกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะ ที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการ ซึ่งกรมชลประทานและคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟัง และจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ด้าน นายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 กล่าวว่า การจัดโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์และช่องแค ถือเป็นประโยชน์โดยตรง ต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เนื่องจาก ประตูระบายน้ำและระบบการส่งน้ำ ทั้ง 2 โครงการ มีอายุในการก่อสร้างมาแล้วกว่า 50 ปี หากมีการแก้ไข้ปรับปรุง จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และอุกภัย ในพื้นที่ได้ในระยะยาว…. (ปล่อยเสียงสัมภาษณ์….นายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 )
เช่นเดียวกับ นางสาวลภิณโกฬร์ จาตะวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจ กรมชลประทาน ระบุว่า ,,,,กรมชลประทาน ยึดการทำงานตามยุทธศาสตร์ และนโยบายของ ภาครัฐ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผ่นพัฒนาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ตามตัวชีวัด ในเรื่องของประสิทธิ์ภาพ ของการใช้น้ำชลประทาน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ กรมชลประทาน ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้การส่งน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้การส่งน้ำตรงตามรอบเวร ที่แน่นอน ครอบคลุมพื้นที่ ได้อย่างทั่วถึงในระนะยาว
สมชาย เกตุฉาย/ภาพ-ข่าว เอกพงษ์ พรหมเรนทร์/รายงาน