นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในเขตรับผิดชอบ สำนักงานชลประทานที่ 10 สำหรับการผลิตน้ำประปาใน พื้นที่ จ.ลพบุรี และสระบุรี
1 min readนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะได้ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ สำหรับช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปา ในพื้นที่ จังหวัดลพบุรีและสระบุรี โดยมีนายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 และผู้ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปแนวทางการช่วยเหลือ
โดย นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 ได้กล่าวว่าจากแผนบริหารจัดการน้ำในช่วง ฤดูแล้ง ปี 2562/63 ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ สำนักงานชลประทานที่ 10 ได้ดำเนินการสูบน้ำจาก แม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาเติมยังคลองชัยนาท-ป่าสัก เป็นระยะทางกว่า 130 กิโลเมตร วันละ 3 ล้าน ลบ.ม. (หรือวันละ 35 ลบ.ม./วินาที) ในช่วงกลางเดือน ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์ ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น มีความจำเป็นต้องระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อทำการควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี สูบน้ำสำแล โดยเพิ่มการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จากเดิมวันละ 70 ลบ.ม./วินาที เป็นวันละ 85 ลบ.ม./ วินาที ส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ต่ำกว่าแผนที่กำหนดไว้
โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 ปริมาณ น้ำไหลเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักได้เพียง 16 ลบ.ม./วินาที หรือวันละ 1.4 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณ ความต้องการใช้น้ำ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่บริเวณ ประตูมโนรมย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 6 เครื่อง สามารถสูบน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักได้ ในอัตรา 15.50 ลบ.ม./ วินาที (หรือวันละ 1.30 ล้าน ลบ.ม. เมื่อรวมกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ด้วยแรงโน้มถ่วง รวม เป็นปริมาณน้ำ 2.70 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเพียงพอต่อปริมาณการใช้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ ตลอดจน รักษาเสถียรภาพของคลอง
และสำหรับในส่วนของแม่น้ำบางขาม ซึ่งมีความยาว 25 กม. ไหลผ่าน 5 ตำบล ในท้องที่อำเภอบ้านหมี่ เนื่องจากปีนี้ ปริมาณฝนในพื้นที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 37% และมีการใช้น้ำจากประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำบางขาม กว่า 4,000 ครัวเรือน ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำบางขามลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ 23 ธันวาคม 2562 ปริมาณน้ำในแม่น้ำมี เพียง 10% หรือ 700,000 ลบ.ม. และมีบางช่วงแห้งขอด ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาใน 4 ตำบลของอำเภอบ้านหมี่ที่อยู่ริมแม่น้ำ ได้แก่ตำบลบ้านชี, ตำบลบางพึ่ง,ตำบลบางขาม และตำบลมหาสอน และจากการลงพื้นที่พร้อมกับผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เพื่อติดตามสถานการณ์ น้ำได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ให้ ความช่วยเหลือ โดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่บริเวณริมคลองชัยนาท-ป่าสัก ตำบลบ้านกล้วย อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี ขนาด 12 นิ้ว จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งสูบน้ำได้วันละประมาณ 70,000 ลบ.ม. จนถึงวันที่ 3 มกราคม 2563 ได้ทำการติดตั้ง เครื่องสูบน้ำเพิ่มอีก 1 ชุด รวมปริมาณน้ำที่สูบได้ต่อวัน 200,000 ลบ.ม. ปัจจุบันสามารถสูบน้ำเติมให้กับแม่น้ำบางขามได้รวมทั้งสิ้น 1,400,000 ลบ.ม. คิดเป็นปริมาณ 20% ของความจุแม่น้ำ (ความจุ 7 ล้าน ลบ.ม.) ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเพิ่มขึ้น และเพียงพอต่อสำหรับการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และสัตว์น้ำให้สามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้
กรมชลประทาน ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความ เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อให้มีน้ำเพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภคตลอด ฤดูแล้งนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าอย่างไม่ขาดแคลน
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า….. ทั้งนี้ต้องขอความกรุณาจากสภาผู้แทนราษฎร ช่วยผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เนื่องจากขนาดนี้ล่าข้ามาหลายเดือนแล้ว ซึ่งความจริงงบประมาณที่มีความจำเป็นต้องเอามาใช้บริหารจัดการเรื่องน้ำ เรื่องชลประทาน เรื่องการแก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชน ควรจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีที่แล้ว ซึ่งวันนี้ยังไม่มีเงินเลย โดยที่ผ่านมาได้ใช้การบริหารจัดการโดยได้รับความกรุณาจากท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐมนตรีที่เห็นชอบ ของการใช้งบประมาณฉุกเฉิน พอบรรเทาปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเงินก้นถุง จึงอยากขอความกรุณาสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยเหลือประชาชน
ภาพ/ข่าว สมชาย เกตุฉาย
เอกพงษ์ พรหมเรนทร์ รายงาน