ตำรวจสน.ห้วยขวางเผยนาทีช่วยชีวิต สาวเครียด ก่อเหตุพยายามกระโดด จากชั้น 8 คอนโดแห่งหนึ่งย่านห้วยขวาง
1 min read เมื่อเวลา 20:19 น ของค่ำคืนที่ผ่านมา (11/03/67) ด.ต.ไตรจเรส คล้ายขำ
จ.ส.ต.ณัฐพงษ์ โคตรรัตน์ จ.ส.ต.สิทธิพร เกษรพรหมเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ ของสถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ ออกตรวจพื้นที่อย่างปกติ ได้รับแจ้งจาก ศูนย์วิทยุของสน. ห้วยขวาง ว่ามีเหตุหญิงสาว พยายามจะกระโดด จากหน้าต่างชั้น 8 ของคอนโดแห่งหนึ่ง ย่าน ถนนเทียนร่วมมิตร จึงรีบรุดไปตรวจสอบ พบ หญิง 1 ราย พยายามฉีกมุ้งลวด เพื่อที่จะรอดตัวออกมาจากหน้าต่างจึงรีบเข้าไประงับเหตุ โดยการตะโกนพูดคุยเจรจา แต่ขณะนั้นฟังกันไม่รู้เรื่อง เพราะหญิงดังกล่าวอยู่ที่บริเวณชั้น 8 ซึ่งขนาดนั้นเอง ก็ได้มองเห็นว่ามี ชายอีกคนหนึ่ง พยายามพูดคุยอยู่ บริเวณ ข้างห้องดังกล่าว จึงสอบถามผู้ดูแลจนทราบว่าชายคนดังกล่าว เป็นแฟนที่พักอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่ผู้ก่อเหตุ ได้อยู่ในห้องนอน และล็อคประตู จึงไม่สามารถเข้าไป ช่วยเหลือได้ ต่อมาจึงได้ประสาน ขอขึ้นไป เจรจาบนระเบียงดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ซึ่งในขณะนั้นช่วงแรก หญิงสาวที่ก่อเหตุ ไม่ยอมพูดจาด้วย จึงใช้ความพยายาม เพื่อถ่วงเวลาให้หญิงสาวคนดังกล่าว สงบลง โดยทางด้าน พ.ต.อ ประสพโชค เอี่ยมพพินิจ ผกก.สน.ห้วยขวาง ก็ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่สืบสวน เร่งตรวจสอบประวัติและภูมิลำเนา ของผู้ก่อเหตุ จนทราบว่า เป็นคนมุกดาหาร ซึ่งตัว จ.ส.ต.ณัฐพงษ์ ก็เป็นคนหนองคาย จึงใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าพูดคุยปลอบประโลม ซึ่งก็ต้องใช้เวลากว่า 10 นาที จนในที่สุด หญิงคนดังกล่าว จึงใจเย็นลง และยอมพูดคุยด้วย โดยหลังจากพูดคุยกัน จึงได้ทราบว่า ทางผู้ก่อเหตุเอง มีปัญหาจากที่ทำงาน และปัญหาส่วนตัว เมื่อรวมๆกันแล้วจึงเกิดอาการเครียด ประกอบกับมีปัญหาทางด้านสุขภาพ เป็นโรคซึมเศร้าอีกด้วย โดยที่ผ่านมา ยาที่ใช้รักษาอยู่หมด และไปรับช้า จึงถูกทางแพทย์ตำหนิ เลยยิ่งเครียดหนักกว่าเดิม ในที่สุดก็ตัดสินใจก่อเหตุดังกล่าว
โดยทางด้าน ด.ต.ไตรจเรส คล้ายขำ ก็ได้เปิดเผยถึงขั้นตอนในการ ช่วยเหลือ สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีการฝึกอบรมเบื้องต้น ในการเจรจาระงับเหตุ ซึ่งสุดท้ายในวันนี้ ก็ได้นำมาใช้ สำหรับยุทธวิธีที่ได้ฝึกมา คือต้องใช้เวลา ใช้ความใจเย็น และต้องสุขุมรอบคอบ ซึ่งยุทธวิธีดังกล่าวนั้นก็ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ ผู้ป่วยได้เช่นกัน อย่างเช่นเคสนี้ เราก็จะมองว่า สิ่งเร้าต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ก็ต้องตัดออกไป และอะไรที่น่าจะเป็นประโยชน์ ก็ให้นำมาใช้ เช่นกันใช้ภาษาท้องถิ่น ในการพูดคุย ก็เพื่อให้ผู้ก่อเหตุ ได้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และยินยอมที่จะพูดคุยตอบโต้ด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น แล้วมาถามว่ามีความมั่นใจมากน้อยแค่ไหน กับการระงับเหตุในลักษณะนี้ด.ต.ไตรจเรส คล้ายขำ กล่าวว่า ไม่สามารถคาดการณ์เป็นเปอร์เซ็นต์ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่สิ่งสำคัญ คือต้องไม่สร้างสิ่งเร้าอารมณ์ ให้กับผู้ก่อเหตุ ต้องพยายามทุกวิธีทาง เพื่อทำให้ ผู้ก่อเหตุนั้นเย็นลง โดยเฉพาะในเรื่องของเวลา ไม่สามารถเร่งเร้าหรือกระตุ้นได้เลย
ส่วนทางด้าน พ.ต.อ.ประสพโชค เอี่ยมพินิจ ผกก.สน.ห้วยขวาง ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในฐานะหัวหน้าสถานี ต้องชื่นชมผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ให้การช่วยเหลือ หญิงสาวคนดังกล่าว ที่ก่อเหตุทำร้ายตัวเอง สำหรับเหตุนี้ ขั้นตอนดำเนินการ ยุทธวิธีในการเข้าให้ความช่วยเหลือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในการปฏิบัติต่างๆ จำเป็น ต้องปฏิบัติไปตามยุทธวิธี ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การพูดคุย การเจรจา จำเป็นต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้น การให้การช่วยเหลือในเคสดังกล่าว ที่ประสบความสำเร็จ ได้นั้น ก็ต้องขอชื่นชมชุดปฏิบัติ และสิ่งที่อยากฝากถึงพี่น้องประชาชน สำหรับในสภาวะแบบนี้ คือผู้ที่อยู่ในสภาวะผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางจิตก็ดี หรืออยู่ในสภาวะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ดี คงต้องฝากถึงคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด ที่จะต้องช่วยกันดูแล อย่างใกล้ชิด ยกตัวอย่างเช่นเคสที่เกิดขึ้น ผู้ก่อเหตุ อยู่ในสภาวะโรคซึมเศร้า ฉะนั้นคนในครอบครัว ควรต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่ คอยสังเกต เพราะการสร้างแรงกระตุ้นในเชิงลบ เพียงเล็กน้อย อาจจะส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งนำไปสู่การก่อเหตุ ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งในสังคมปัจจุบันเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ใครผ่านอะไรมาบ้าง เพราะฉะนั้นการใช้คำพูดต่างๆ เพราะฉะนั้นการใช้คำพูดต่างๆ ในเชิงลบ ต่อใครก็ตาม ก็อาจไปเสริมแรงกระตุ้น ให้ผู้ที่อยู่ในสภาวะ เครียด หรือสภาวะที่ไม่ปกติอยู่แล้วไปผสมปนเป จนก่อให้เกิดสภาวะ แบบเคสนี้ขึ้นได้จึงอยากฝากถึงพี่น้องประชาชน ให้ช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลคนในครอบครัวกันอย่างใกล้ชิด สิ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ แบบนี้ขึ้นได้