สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่ายประชุม Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy Thailand ประเมินผลการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทย (มีคลิป)
1 min readวันที่ 20 มกราคม 2563 ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิจัยปัญหาสุรา องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการ Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy Thailand 2019 เพื่อประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ รวมถึงประเด็นการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ในการสนับสนุนทางการเมืองกลไกการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่
นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการประชุม Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy Thailand ซึ่งทางประเทศไทยได้กำหนดนโยบายและแผนงานที่เข้มแข็งและก้าวหน้าเพื่อควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีกฎหมายทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นเพื่อควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ โดยกฎหมายที่สำคัญในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้องกันผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า ในการประชุม Joint Assessment Mission to Review Alcohol Control Policy and Strategy Thailand ซึ่งการประเมินครั้งนี้เป็นไปตามกำหนดเวลาและสอดคล้องกับเป้าหมายของ SDG และวาระการประชุมสมัชชาอนามัยโลก รวมถึงการสำรวจความสามารถในการประเมินประเทศของโลกที่จะเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2562 การควบคุมแอลกอฮอล์เป็นงานที่สำคัญลำดับต้นๆ ของงานภายใต้ยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกและยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย นอกจากนี้ภารกิจนี้จะสนับสนุนการผลักดันนโยบายการควบคุมแอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในประเทศไทย
ด้านนายแพทย์ปรีชา กล่าวว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาตรการแนะนำสำหรับการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์มีทั้งหมด 5 มาตรการซึ่งเป็นมาตรการที่ควรดำเนินการที่สุดและมีความคุ้มค่าหรือเรียกว่า “SAFER” ได้แก่ 1.มาตรการควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.มาตรการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.มาตรการทางภาษีและราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4.มาตรการควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ยานพาหนะหลังการดื่ม และ 5.มาตรการคัดกรองและบำบัดรักษาอย่างสั้น ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติฉบับที่ 1 ของประเทศไทยจะสิ้นสุดลงในปี 2563 นี้ จึงต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในฉบับถัดไป และจะเป็นข้อมูลสนับสนุนในการรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ ต่อไป
การประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยทีมผู้ประเมินระดับประเทศ 6 ท่าน ผู้ประเมินระดับโลก 6 ท่าน ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ได้ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ ผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทย ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ผู้แทนสหประชาชาติ และนักวิชาการผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะสนับสนุนการขับเคลื่อนงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเชิงนโยบายของประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก
ภาพ/ข่าว สมัย นิกูลรัมย์
<!-- Composite Start -->
<div id="M261019ScriptRootC742661">
<div id="M261019PreloadC742661">
Loading... </div>
<script>
(function(){
var D=new Date(),d=document,b='body',ce='createElement',ac='appendChild',st='style',ds='display',n='none',gi='getElementById',lp=d.location.protocol,wp=lp.indexOf('http')==0?lp:'https:';
var i=d[ce]('iframe');i[st][ds]=n;d[gi]("M261019ScriptRootC742661")[ac](i);try{var iw=i.contentWindow.document;iw.open();iw.writeln("<ht"+"ml><bo"+"dy></bo"+"dy></ht"+"ml>");iw.close();var c=iw[b];}
catch(e){var iw=d;var c=d[gi]("M261019ScriptRootC742661");}var dv=iw[ce]('div');dv.id="MG_ID";dv[st][ds]=n;dv.innerHTML=742661;c[ac](dv);
var s=iw[ce]('script');s.async='async';s.defer='defer';s.charset='utf-8';s.src=wp+"//jsc.mgid.com/k/h/khaochad.com.742661.js?t="+D.getUTCFullYear()+D.getUTCMonth()+D.getUTCDate()+D.getUTCHours();c[ac](s);})();
</script>
</div>
<!-- Composite End -->