ปัญหาที่ทับซ้อน จ.กาญจนบุรี จากกรณีพิพาก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศ ทับพื้นที่นิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2518 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา
1 min readวันนี้ รับเรื่องร้องเรียนที่ห้องฝ่ายค้านอิสระครับ
เรื่อง ปัญหาที่ทับซ้อน จ.กาญจนบุรี จากกรณีพิพาก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศ ทับพื้นที่นิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2518 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา
จากการลงสำรวจพื้นที่เขตอำเภอสังขละบุรีและทองผาภูมิ ของทีมงานข่าวชัดประเด็นจริงเพื่อมารับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงทุกภาคส่วน จากกรณีพิพาก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศ ทับพื้นที่นิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2518 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ซึ่งมีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 7,000 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ ถึงเกือบ 2แสนไร่ จากการที่ลงไปรับทราบข้อมูล ทราบว่าเดิมทีในพื้นที่ดังกล่าวมีประชาชนอาศัยอยู่นับร้อยปีจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2518 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและสังขละบุรีให้ประชาชนในพื้นที่สามารถมีที่อยู่มีที่ทำกินได้ครอบครัวละ 50 ไร่ภายใต้ข้อบังคับของนิคมสหกรณ์ ทองผาภูมิและสังขละบุรี พ.ศ.2518 ซึ่งจะมีการแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ทำกินให้ ประชาชนจำนวนครอบครัวละ50 ไร่ในการประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2522 ทางการไฟฟ้าต้องการที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าจึงมาขอใช้พื้นที่นิคมสหกรณ์ เพื่อสร้างเขื่อนเขาแหลมซึ่งหลังจากทำการสร้างเขื่อนเขาแหลมแล้วทำให้น้ำท่วมในเขตพื้นที่นิคมสหกรณ์ทองผาภูมิและสังขละบุรี ที่มีเนื้อที่ประมาณ 2แสน ไร่ ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมากกว่า 90% มีเพียงพื้นที่บางส่วนเท่านั้นรอบบริเวณเขื่อนที่น้ำท่วมไม่ถึง ในการสร้างเขื่อนดังกล่าวมีการเวนคืนที่ดินแล้วก็จัดสรรที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว โดยมีการจัดสรรที่ทำกินให้ 15 ไร่และจัดแบ่งให้ประชาชนได้สร้างชุมชนและบ้านพักอาศัย แต่บางรายก็ยังอยู่บริเวณรอบเขื่อนที่น้ำท่วมไม่ถึงโดยอาศัยทำแพในเขื่อนเพื่อเป็นที่พักอาศัย ประชาชนได้อาศัยน้ำในเขื่อนเพื่อประกอบอาชีพประมงแทนการทำเกษตรเพราะพื้นที่เดิมที่เคยทำเกษตรกลายเป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเป็นที่เรียบร้อย ประชาชนกลุ่มหนึ่งจึงได้ทำแพอยู่บริเวณริมเขื่อนเพื่อทำการเกษตรและปลูกผักผลไม้ในพื้นที่ ที่น้ำท่วมไม่ถึง ซึ่งจากการสำรวจก็มีประชาชนอยู่ในพื้นที่มากกว่า 7,000 ครัวเรือนที่ใช้ชีวิตในลักษณะแบบนี้แต่การใช้ชีวิตอยู่ในริมเขื่อน
ต่อมาปี 2534 อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ประกาศแนวเขตอุทยานครอบคลุมพื้นที่ บริเวณน้ำท่วมของนิคมสหกรณ์ทองผาภูมิและสังขละบุรี ซึ่งกินเนื้อที่ มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของนิคมสหกรณ์ฯ ทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ ที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศพื้นที่ทับนั้น ได้รับผลกระทบทันที ต้องปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งชาวบ้านดังกล่าว ตกอยู่ในสถานะเป็นผู้บุกรุกอุทยาน เพราะเนื่องจาก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมอ้างว่าได้ทำหนังสือแจ้ง ถึงนิคมสหกรณ์ทองผาภูมิสังขละบุรีแล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ได้ประกาศครอบคลุมพื้นที่และห้ามให้นิคมสหกรณ์และทองผาภูมิออกใบอนุญาต หรือเอกสารสิทธิ์ใดๆ ให้กับประชาชนในพื้นที่นิคมสหกรณ์ที่มีการประกาศทับของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม โดยมีหนังสือ 7 พฤษภาคม ปี 2535 ส่งถึง ผอ. นิคมสหกรณ์ทองผาภูมิ เพื่อให้ ติดประกาศให้สมาชิกนิคมสหกรณ์รับทราบ โดยมีนายปรีชา บุญศรี ซึ่งเป็นหัวหน้านิคมสหกรณ์ทองผาภูมิ ในขณะนั้นได้เซ็นรับทราบและปฏิบัติตาม คำขอของอุทยานแห่งชาติเขาแหลม หลังจากที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศพื้นที่ครอบคลุมบริเวณนิคมสหกรณ์นั้น ชาวบ้านที่อยู่บริเวณริมเขื่อนและสร้างแพอยู่ในเขื่อน ก็ได้รับผลกระทบทันที โดยเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติเขาแหลมก็ใช้ประกาศและใช้อำนาจ หน้าที่ปฏิบัติกับประชาชนที่อยู่อาศัยบริเวณริมเขื่อนและในแพ เข้าข่ายเป็นผู้บุกรุกอุทยาน จึงใช้อำนาจจับกุม ยึดสิ่งของผู้บุกรุก ตามกฎหมายที่มีอยู่
เพื่อขับไล่กลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้การใช้ชีวิตและดำรงชีวิตความเป็นอยู่ เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะไม่สามารถสร้างบ้านถาวรได้และหากมีการซ่อมแซมบ้านหรือแพต้องไปขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่อุทยาน แต่การที่เจ้าหน้าที่จะอนุมัติให้จัดทำแก้ไขซ่อมแซมนั้น บางครั้งประชาชนก็ต้องยอมจ่ายเงินให้กับกลุ่มบุคคล เพื่อจะได้อำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่งที่กลุ่มบุคคล ใช้ ในการหาเงินกับกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่อุทยาน โดยอ้างว่าชาวบ้านอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ซึ่งผิด กฎอุทยาน การที่ชาวบ้านจะอยู่อย่างดีมีสุขได้จำเป็นต้องจ่ายเงินบางส่วนให้กับกลุ่มบุคคล ที่อ้างตนว่าถือกฎหมายอุทยานอยู่ในมือ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ ก็ไม่กล้าต่อกลอน หรือขัดขืน เพราะเกรงว่าครอบครัวของตนจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่
มีเพียงประชาชนบางกลุ่มที่ ทนไม่ได้กับการถูกกระทำ จึงต้องออกมาเรียกร้อง ขอความเป็นธรรม กับหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน กว่า 29 ปี ชาวบ้านดังกล่าวก็ยังอยู่ อย่าง หวาดระแวง เพราะไม่รู้ว่าจะถูกเจ้าหน้าที่อุทยาน จับกุมวันไหน แต่ระหว่างการเรียกร้องตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 จนถึงปัจจุบัน ก็ได้มี แนวทางในการแก้ปัญหาของภาครัฐเพื่อมาดูแลชาวบ้านในพื้นที่ โดยใช้ 30 มิ.ย พ.ศ.2541 ประกาศให้ คนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดยให้คนในชุมชนที่ อยู่ในเขต นิคมสหกรณ์ ที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศพื้นที่ทับนั้นเข้าโครงการ 30 มิ.ย พ.ศ.2541 แต่ผู้ที่เข้าโครงการจะไม่ได้เอกสารสิทธิ์ใดๆ ซึ่งก็มีกลุ่มบุคคล บางรายที่เข้าร่วมโครงการ แต่บางรายก็ยังรอเจ้าหน้าที่มาสำรวจเพื่อที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่ระหว่างรอที่เจ้าหน้าที่สำรวจเข้าร่วมโครงการนั้น ได้ถูกเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของอุทยานจับกุม ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เป็นรายๆไป หากทำผิดกฎของอุทยาน แต่เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคำสั่ง คสช.ของนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายว่า ยางพารา ราคาตกต่ำ จึงอยากให้มีการตัดต้นยางพาราทิ้งและปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน ด้วยนโยบายของพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาคำสั่งของ คสช. ทำให้กลายเป็นดาบของเจ้าหน้าที่อุทยาน ที่จะมาบังคับใช้กฎหมาย กับประชาชนที่ยังไม่ได้เข้า 30 มิ.ย.พ.ศ.2541 ที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีการทำการเกษตรโดยการปลูกยางพารา กว่า 2,000 ไร่ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นคำสั่ง คสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ชี้นำสั่งให้ตัด
ทำลายต้นยางพาราของประชาชนที่มีการปลูกไว้อยู่เนื่องจากยางพาราล้นตลาด ทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ปลูกยางพาราถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีและจับกุมพร้อมกับยึดที่ดิน ซึ่งมีประชาชนที่จะถูกยึดที่ดินกว่า 2,000 ไร่เบื้องต้นขณะนี้เจ้าหน้าที่ทำการตัดไปแล้วกว่า 1,000 ไร่ ยังเหลือประมาณ 1,000 ไร่ ที่ยังตัดไม่เสร็จเรียบร้อย หลังจากตัดต้นยางพาราเสร็จเรียบร้อยเจ้าหน้าที่อุทยานก็จะยึดที่ดินดังกล่าวตกเป็นของอุทยานทันทีและดำเนินคดีกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างผลกระทบเกิดขึ้นวงกว้าง เพราะประชาชนที่เขามีอาชีพ ปลูกยางพารากรีดยางพารา เป็นหลัก จะถูกเจ้าหน้าที่อุทยาน อ้างนำคำสั่ง คสช.มาบังคับใช้กฎหมาย และจับกุมเขา แต่กลับกัน คนที่เข้าร่วม 30 มิ.ย. พ.ศ.25 41 ปลูกยางพาราเช่นเดียวกันกลับไม่จับกุมและยึดพื้นที่ ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะ กรณีที่เขายังไม่ร่วม 30 มิ.ย.พ.ศ.2541 ก็เป็นเพราะเจ้าหน้าที่รังวัด ยังไม่ได้ไปรังวัด ที่ดินเขาเพราะเนื่องจากงบประมาณในการทำ ตารางวัด 30 มิ.ย พ.ศ.2541 ยังไม่ถึงชุมชนหรือบ้านของเขา นี่ก็คือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในเขตพื้นที่อำเภอสังขละบุรีและทองผาภูมิ ในกรณีที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมอากาศพื้นที่ครอบคลุม ซึ่งเรื่องดังกล่าวทางทีมงานข่าวชัดประเด็นจริงได้เข้าไปพูดคุยกับ ตัวแทนหัวหน้าอุทยาน นายสุภาพ งานทองเหลือง โดยได้นำหนังสื่อจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ ที่ตอบคำถาม นายสุรินทร์ สุรินก้อน และพวd
เรื่องการเรื่องที่ดินทำกินราษฎรทองผาภูมิและนิคมสหกรณ์สังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรีอุทยานแห่งชาติทับซ้อนซึ่งนายสุรินทร์สุรินทร์ก้อนกับพวกได้เข้าร้องเรียนส่งหนังสือถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์เทเวศร์ในวันที่ 23 กรกฎาคม 62 โดยตามที่อ้างจากหนังสือดังกล่าวประสงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อที่ 1 ให้แก้ไขปัญหาพื้นที่ของสหกรณ์ทองผาภูมิและนิคมสหกรณ์สังขละบุรีตามประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ปีพ.ศ 2518 ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาเนื่องจากทำให้สมาชิกสหกรณ์ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถทำกินและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ข้อ 2 ขอให้ราษฎรในพื้นที่นิคมสหกรณ์มีส่วนร่วมในการเสนอการแก้ไขปัญหาพื้นที่โดยโดยยึดหลักประกาศพระราชกฤษฎีกาพ.ศ 2518 เป็นหลักและหากจะดำเนินการเกี่ยวกับวันแม่แบบขอให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อ 3 ขอให้ราษฎรที่ทำกินอยู่ในเขตนิคมสหกรณ์ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนให้ทำกินได้ตามปกติจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จและขอให้เจ้าหน้าที่นิคมสหกรณ์ดำเนินการรังวัดที่ดินและออกหนังสือรับรองสิทธิ์ในการทำกินให้แก่สมาชิกสหกรณ์ตามความรักนั้นทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ตอบออกมาว่า 1 ขนาดนี้ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตความ onemap 2 หากมีความชัดเจนในการปรับปรุงแนวเขต onemap แล้วกรมส่งเสริมจะแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ 3 เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาในระดับพื้นที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จะแจ้งให้นิคมสหกรณ์ทองผาภูมิและนิคมสหกรณ์สังขละบุรีประสานงานหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่มีพื้นที่ทับซ้อนเพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติจนกว่าจะมีความชัดเจนในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตวัน map แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 4 หากมีความชัดเจนในพื้นที่ทับซ้อนว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอำนาจอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แล้วกรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยมีนายเชิดชัยพรหมแก้วรองอธิบดีปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมส่งเสริมและตอบคำถามมาซึ่งจากเอกสารดังกล่าวชาวบ้านต่างตีความหมายว่าสามารถทำอยู่ทำกินในพื้นที่ของสหกรณ์นิคมในพื้นที่ทับซ้อนได้แต่ความเป็นจริงแล้วนายสุภาพงามทองเหลือและชี้แจงว่าตามข้อที่ 3 ขัดกับกฎหมายของอุทยานหาชาวบ้านจะทำอยู่ทำกินหรือทำเกษตรที่ซับซ้อนอาจจะขัดกฎหมายของอุทยานเว้นแต่จะมีการทำonemap เป็นที่เรียบร้อยถึงจะสามารถเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมประกาศพื้นที่ทับนิคมสหกรณ์ทองผาภูมิและสังขละบุรีได้
โดยนายสุภาพ งานทองเหลืองได้ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ อุทยานก็จะบังคับใช้กฎหมายอุทยานกับประชาชนในพื้นที่เพราะ ยังไม่มีกฎหมายอื่นมายกเลิก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ประกาศพื้นที่ครอบคลุมนิคมสหกรณ์ เว้นแต่หากมีการรังวัดและการตรวจสอบพื้นที่วันonemap เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อุทยานแห่งชาติเขาแหลม ถึงจะยกเลิกพื้นที่ครอบคลุม นิคมสหกรณ์ ตามข้อบังคับ one map ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 13 โดยมีข้อที่ 7 ใจความสาระสำคัญว่า หลักเกณฑ์ที่ 7 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับซ้อนกับนิคมสร้างตนเอง หรือนิคมสหกรณ์ พิจารณาดังนี้ 7.1 กรณีนิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ ที่มีแนวเขตตามกฎหมายบังคับก่อนการกำหนดแนวเขตป่าไม้ข้างต้น ให้ใช้เขตนิคมสร้างตนเอง หรือเขตนิคมสหกรณ์ที่ไม่มีสภาพป่าเป็นหลัก โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแผนที่ที่สภาพป่าให้ชัดเจน เว้นแต่บริเวณที่มีสภาพป่าตามผลการอ่าน แปล ตีความจากภาพถ่ายดาวเทียม พ.ศ. 2557-2558 ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบข้อเท็จจริงในสภาพภูมิประเทศ 7.2 กรณีนิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ ที่มีแนวเขตตามกฎหมายบังคับภายหลังการกำหนดแนวเขตป่าไม้ข้างต้น ให้ใช้แนวเขตป่าไม้ข้างต้นเป็นหลัก
พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เดิม ของใครก็ตามผู้ที่มาทีหลัง ต้องยอมให้กับผู้ที่อยู่ก่อน ได้ใช้สิทธิ์นั้นซึ่งนิคมสหกรณ์ มีราชกฤษฎีกาออกมาก่อนอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทำให้ข้อนี้ พื้นที่ดังกล่าวอาจจะต้องตกเป็นของสหกรณ์นิคมสหกรณ์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา one map ยังไม่ลงมาสำรวจพื้นที่ และทำรางวัดพื้นที่ นิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2518 แต่พื้นที่อื่นทั่วประเทศ onemap ลงพื้นที่ตรวจสอบหมดแล้วเว้นแต่ ที่นิคมสหกรณ์ ทองผาภูมิและสังขละบุรีที่ยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้ประชาชน ก็อยู่อย่างหวาดระแวง ล่าสุด อุทยานแห่งชาติมีกฎหมายและพระราชบัญญัติออกมาใหม่ ที่จะ บังคับใช้กฎหมายเดือนพฤศจิกายนพ. ศ. 2562 นี้ ให้ประชาชนหรือคนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้แต่ก็ต้องอยู่ใต้ข้อบังคับของอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหรืออุทยาน แต่จะไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆให้กับประชาชน แต่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เขาก็คงยังยึดติดแล้วรอความหวัง จากนิคมสหกรณ์สังขละบุรีและทองผาภูมิที่จะมาทวงคืนสิทธิ์ แล้วก็แบ่งจัดสรรที่ทำกินให้ตามเดิมที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำรัสและให้นิคมสหกรณ์สังขละบุรีและทองผาภูมิจัดสรรที่ดินให้ประชาชนจำนวน 50 ไร่ ดังนั้นความหวังเดียวที่ประชาชนในพื้นที่รอคอยและตั้งตารอว่าจะเกิดขึ้นจริงคือประชาชนในพื้นที่อยากได้สิทธิ์ที่ทำกิน จำนวน 50 ไร่กลับคืนมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตนเองมีสิทธิ์ที่จะทำกินในพื้นที่ของตนเองอย่างไรก็ได้ โดยไม่ได้อยู่ใต้ข้อบังคับของอุทยาน แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ นิคมสหกรณ์สังขละบุรีและทองผาภูมิ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ตรัส ไว้ว่าให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำกินของประชาชน ดังนั้นจึงมีการรวมตัวของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เพื่อจะผลักดันให้นิคมสหกรณ์สังขละบุรีและทองผาภูมิ ได้ที่ดินคืน โดยมีแกนนำได้มายื่นเรื่องขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ได้ช่วยจัดตั้งกรรมาธิการเพื่อมาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนกว่า 7,000 ครัวเรือน 2 อำเภอพื้นที่กว่า 2แสน ไร่ เพื่อความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่อยู่มาก่อนตั้งแต่บรรพบุรุษให้ได้ที่อยู่ที่ทำกิน ตามพระราชบัญดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงตรัสไว้ว่าให้จัดสรรที่อยู่ที่ทำกินให้กับประชาชนครอบครัวละ 50 ไร่โดยมีนิคมสหกรณ์สังขละบุรีและทองผาภูมิเป็นผู้ดำเนินการ