อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เตือนประชาชน ป้องกัน pm 2.5 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค (มีคลิป)

1 min read

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เตือนประชาชน ป้องกัน pm 2.5 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค พร้อมเปิดศูนย์ OC ระดับจังหวัดเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

นายแพทย์ไกรสุข เพชระบูรณิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา กล่าวว่า จังหวัดพะเยา กำลังเข้าสู่ภัยแล้ง ก็จะเกิดการมีฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาพอากาศที่แห้งแล้ง เรื่องของการเผาป่า สวน ไร่ นา ฝุ่นจากการก่อสร้าง ฝุ่นจากยานพาหนะ ซึ่งในฝุ่นเหล่านี้ ก็จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน โดยหลักๆ ก็จะมีอยู่ 4 กลุ่มโรคด้วยกัน ประกอบด้วยกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด การอักเสบของผิวหนัง และตาอักเสบ

ซึ่งจากสถานการณ์ ในหลายปีที่ผ่านมา ภาพรวมของจังหวัดพะเยา ก็ไม่ได้มีผู้ป่วยที่มากขึ้นเมื่อเทียบเคียงในแต่ละปี แต่ทางสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ก็ได้มีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ใน 5 มาตรการหลักๆ คือ มาตรการที่ 1 การเฝ้าระวังแจ้งเตือนสถานการณ์ โดยได้มีการใช้ข้อมูลการแจ้งเตือนของกรมควบคุมมลพิษ แจ้งเตือนในทุกเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานีวิทยุการประชาสัมพันธ์ต่างๆการแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานสาธารณสุข ที่รับผิดชอบทั้ง อสม. รพ.สต. รวมถึงโรงพยาบาลทุกแห่ง เพื่อแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้รับทราบอย่างทั่วถึง มาตรการที่ 2 ก็เป็นเรื่องของการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยและสอบสวนโรคใน 10 กลุ่มโรคในปัจจุบันใหญ่ใหญ่และจะขยายเป็น 13 กลุ่มโรค ซึ่งจะมีการเฝ้าระวัง การวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อที่จะได้แก้ไขหรือรักษาได้ทันท่วงที มาตรการที่ 3 คือการสื่อสาร และการสร้างความรู้ การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เรามีระยะในเรื่องของความรุนแรงของค่า pm ในการแจ้งเตือนประชาชน ถ้าต่ำกว่า 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เรียกว่าระยะเฝ้าระวัง ระยะที่ 2 มีค่าตั้งแต่ 38 – 50 ค่าสูงควรระวัง ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ระยะที่ 3 เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นระยะหลังภัยจะต้องมีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนมีการปฏิบัติตัว ถ้าออกไปในสถานที่โล่งแจ้งก็ต้องมีการระวังมีการสวมใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้ามีการเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกินกว่าสามวัน ก็จะมีการเปิดศูนย์ปฎิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เพื่อที่จะได้ดำเนินตามขั้นตอนต่างๆ ระยะต่อไป เตือนภัยระยะที่สอง ต่ำกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จนถึงระยะสุดท้าย หรือเรียกว่าระยะวิกฤต คือมากกว่า 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นระยะที่ค่อนข้างรุนแรง มาตรการที่ 4 เน้นการดูแลสุขภาพประชาชน และก็จัดบริการสาธารณะสุขคลินิกมลพิษ โดยในจังหวัดพะเยา ได้มีการพูดคุย มีการเตรียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวชภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงห้องสะอาด เพื่อที่จะเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หากมีมลพิษมาก ประชาชนก็จะมีการเข้ามาใช้ห้องสะอาดได้ และมีนโยบายที่นอกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็จะขยายไปในส่วนของชุมชน และหน่วยงานราชการต่างๆ มาตรการที่ 5 คือมาตรการกฎหมาย

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยด้วยว่า เนื่องจากค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็ก เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าสูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2563 ซึ่งอยู่ในระยะเตือนภัยระดับ 1 (PM 2.5 = 51 – 75 มคก./ลบ.ม.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา จึงเปิดศูนย์ OC ในระดับจังหวัดเพื่อลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยได้กำชับให้สถานบริการในสังกัดทุกแห่งดำเนินการ ตามระยะเกิดเหตุ ดังนี้ 1. เฝ้าระวังสถานการณ์สุขภาพทุกวัน และรายงานเข้าสู่ระบบเฝ้าระวังสุขภาพ 2. สื่อสารเตือนภัยไปยังหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ 2 ครั้งต่อวัน 3. สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (กลุ่มเสี่ยง) ในพื้นที่ 4. ให้สถานบริการทุกแห่งเปิดให้บริการห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการ เพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยง และรายงานผลการดำเนินงาน 5. จัดตั้งคลินิกมลพิษ ในโรงพยาบาลทั่วไป (พะเยา และเชียงคำ) ตามแนวทางที่กรมการแพทย์กำหนด 6. ให้ อสม.ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และติดตามอาการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และรายงาน โดยใช้ แอปฯการเยี่ยมบ้านของ อสม. 7. สื่อสารความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ และรายงานผลการดำเนินงาน

ภาพ/ข่าว สมคิด วันดี รายงาน

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.