โครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี
1 min readวันนี้ 27 ธค.63 ที่ห้องประชุมโรงแรมแคนทารี่กบินทร์บุรี นายจำรัส คงเอี่ยม ผอ.ป.ป.ช.ประ
จำจังหวัดปราปราจีนบุรีเป็นประธานเปิดโครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561ได้มุ่งเน้นให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดังนั้นจะเห็นได้จากมาตรา 33 ซึ่งใช้อำนาจคณะกรรมการป.ป.ช.ในการกำหนดมาตรการและกลไกลที่จำเป็นในการส่งเสริมมีส่วนร่วมของประชาชน
อันจะนำไปสู่การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิด
การแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต เนื่องจากปัญหาการทุจริตในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่จึงเป็นผู้ที่รับทราบปัญหาการทุจริตภายในพื้นที่มากที่สุด ซึ่งหากประชาชนหรือเครือข่ายพบข้อสงสัยหรือพฤติกรรมที่ส่อว่าจะมีการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือการกระทำความผิดตามกฏหมายหรือระเบียบอื่นใด และแจ้งเบาะแสให้แก่สำนักงาน ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้ดำเนินการจัดทำ”โครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่” เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงรุกแก่เครื่องข่ายในพื้นที่ เพื่อขยายผลการป้องกันการทุจริตเชิงรุกผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนในจังหวัดปราจีนบุรี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราทหารทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)ในระดับจังหวัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมและประชาชนสามารถเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ
กลุ่มเป้าหมาย เครือข่ายภาคประชาสังคมหรือประชาชนในจังหวัด/สมาชิกSTRONG จำนวน 50 คน โครงการแก้ไขปัญหาการทุจริตในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้
-กิจกรรมที่ 1 การประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางและให้ความรู้เกี่ยวกับการปัองกันการทุจริตเชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนดำเนินโครงการ เดือนมกราคม 2563 รูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินการและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตเชิงรุก
กิจกรรมที่ 2 การลงพื้นที่สังเกตุการณ์ ติดตามโครงการ/กิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ
-กลุ่มเป้าหมาย แบ่งดำเนินการ จำนวน 2ครั้ง ครั้งละ 25 คน
-ดำเนินโครงการเดือนกุมภาพันธ์ 2563
-รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการลงพื้นที่เพื่อสังเกตุการณ์โครงการของภาครัฐ ตามที่เครือข่ายภาคประชาชนได้แจ้งการดำเนินงานหรือโครงการของภาครัฐสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต
กิจกรรมที่ 3 การประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
-กลุ่มเป้าหมาย จำนวน50 คน
-ดำเนินโครงการ เดือนมีนาคม 2563
-รูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการจัดประชุมเพื่อสรุปผลการลงพื้นที่สังเกตุการณ์ระดมความคิดเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆ จากกิจกรรมทั้งนี้มีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม 50 คน
ภาพ/ข่าว ทองสุข สิงห์พิมพ์