เสาร์. พ.ย. 2nd, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

หนุ่มใหญ่เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังและทำไร่อ้อย หลังประสบปัญหาภัยแล้ง หันมาเพาะเห็ดนางฟ้าที่ใช้น้ำน้อยจำหน่ายจนประสบผลสำเร็จ (มีคลิป)

1 min read

วันที่ 28 ม.ค.63 นายพัฒนา ประสงค์ อายุ 43 ปี และนางศิรินทร์ทิพย์ ใจสำราญ อายุ 35 ปี สองสามีภรรยา เกษตรกรบ้านบำเหน็จสุวรรณ หมู่ 5 ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ปกติสองสามีภรรยา มีอาชีพทำนาทำไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง มาปีนี้ ผลผลิตการเกษตรประสบปัญหาภัยแล้งฝนได้ทิ่งช่วงเร็วกว่าทุกปีทำให้พืชผลทางการเกษตรเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์จึงทำให้มีผลกระทบต่อจำนวนการผลิตและราคาที่ลดลง ซึ่งทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สองสามีภรรยา จึงตัดสินใจนำความรู้จากการไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกอาชีพตามจังหวัดต่างๆ เมื่อสมัย 5-6 ปีก่อน มาทดลองทำเป็นอาชีพเสริมหารายได้เพิ้ม จึงหันมาทำการเพาะเชื่อเห็ดนางฟ้าปลอดสารขายเองทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีโรงเรือนเห็ดนางฟ้าอยู่5โรงเรือน เพาะเห็ดขายตลอดทั้งปีทำให้มีรายได้ ประมาณเดือนละ 40,000ถึง50,000บาท เป็นอย่างต่ำ ปัจจุบันทำให้มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน

นาย พัฒนา เล่าว่า ปัจจุบัน ตนมีบุตร 2 คน หญิงและชายและดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราด้วย มาวันนี้ ภูมิใจมากที่การเพาะเห็ดประสบผลสำเร็จ หลังจากทำการทดสอบลองผิดลองถูกมากว่า 5 ปี จนถึงปัจจุบัน ภูมิใจกับความพยายามของตนเอง ที่ค้นคว้าหาวิธีทำให้ผลผลิตดอกเห็ดออกมาเป็นที่น่าพอใจทำให้มีเงินใช้จ่ายภายในครอบครัวเร็วขึ่น สำหรับในช่วงฤดูหนาวอากาศจะเหมาะสำหรับการเพาะเห็ดนางฟ้า ปัจจุบันตนมีโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้าอยู่ 5 โรงเรือน ตอนนี้กำลังขยายกิจการโดยเพิ่มโรงเรียนขึ้นมาอีก 6 โรงเรือน รวมเป็น 11 โรงเรือน จึงได้จ้างแรงงานจากเพื่อนบ้านเข้ามาช่วยเพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอีกทางหนึ่งและจากการขยายกิจการนี้คาดว่ารายรับหรือกำไรคงได้เพิ่มขึ้นมาอีก ส่วนราคาจำหน่ายนั้น ปัจจุบัน กิโลกรัมละ 50-55 บาท ส่วนก้อนเห็ด จะขายก้อนละ 7-9 บาท

นายพัฒนา บอกว่า การเพาะเห็ดนางฟ้าถ้าเราสนใจและตั้งใจทำจริงๆก็ไม่ยุ่งยากเหมือนอย่างที่หลายๆคนคิด บางครั้งตนจะศึกษาหาความรู้จากตำราต่างๆพร้อมกับออกไปศึกษาจากฟาร์มเห็ดจริง จึงอยากจะบอกว่า ถ้าใครคิดจะหันมาเพาะเห็ดขายเป็นรายได้เสริมหรือเพราะเป็นอาชีพ ก็ไม่ยุ่งยากอะไร แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจและถ่องแท้ก่อนเริ่มต้น การเตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้าจะต้องถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ และควรมีขนาดมาตรฐานเป็นแบบที่สร้างง่ายลงทุนน้อยใช้วัตถุในท้องถิ่นเราเอง เช่นฟางหญ้าแฝกไม้ไผ่ เป็นต้น และสร้างในที่เย็นชื่น การมุงหลังคาขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ดด้วย และให้ดูสภาพอากาศว่า เห็ดอะไรชอบอากาศแบบไหนสำหรับประตูโรงเรือนให้ปิดประตูด้วยกระสอบป่าน หรือผ้าสแลน ปูพื้นด้วยทรายเพื่อเก็บความชื้นและทิศทางลมก็สำคัญมาก เพราะมีผลต่อก้อนเห็ดและการออกดอกของเห็ด การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้าก็ต้องมีความรู้ ในการเตรียมวัตถุอุปกรณ์ เช่น ขี้เลื่อยยางพาราหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและซังข้าวโพด ตามประสบการณ์ที่เคยทำมาซังเข้าโพด จะให้ผลดีมากกว่า จากนั้นก็หาส่วนผสมอื่นๆมาผสม เช่นขี่เลื่อยยางพาราแห้งสนิท 100 กิโลกรัมรำละเอียด 6-8 กิโลกรัม ซังข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม ปูนยิปซั่ม 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 80 กิโลกรัมและอีเอ็ม 1 ลิตร เป็นต้น จากนั้นเมื่อหาส่วนผสมได้ครบก็ลงมือทำก้อนเชื้อขั้นตอนนี้สำคัญมากต้องผสมให้ดีหรือ ให้ถูกสูตร หลังจากหยอดเชื้อลงในก้อนเชื้อ เสร็จเราก็จะบ่มเชื้อเห็ดในอีกขั้นตอนหนึ่ง โดยการบ่มเชื้อเห็ดนั้นต้องนำก้อนไปบ่มประมาณ 20-25 วัน ผลผลิตจึงจะออกมาดีส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นเราควรมีเทคนิคที่ทำให้ออกดอกสม่ำเสมอและดอกใหญ่ซึ่งทำให้ได้ดังนี้คือ เมื่อเจ็บดอกเสร็จต้องทำความสะอาดหน้าก้อนเชื้อโดย เคลียร์เศษเห็ดออกให้หมดงดใช้น้ำสัก 3 วันเพื่อให้เชื้อฟักตัว แล้วกลับมาใช้น้ำอีกตามปกติ เห็ดก็จะเกิดเยอะเหมือนเดิมหรือเมื่อเจ็บดอกเห็ดเสร็จก็ทำความสะอาดหน้าก้อนเชื่อเหมือนเดิมแล้วรัดปากถุงไม่ให้อากาศเข้า ทิ้งระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน ให้น้ำปกติหลังจากนั้น เปิดปากถุงก็จะเกิดดอกที่สม่ำเสมอและเมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วต่อมา ขั้นตอนการเก็บดอกโดยเจ็บที่โคนดอกทั้งช่อโยกซ้ายขวาบนล่างแล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ปากถุงเห็ดบาน นอกจากนี้ต้องรู้เรื่องศัตรูจำพวกหนอน แมลงหวี่และปัญหาอื่นๆ ด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจอยากดู ตัวอย่างหรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม หรือศึกษาดูงานของจริง ติดต่อได้ที่ ตามที่อยู่ข้างต้น ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความเต็มใจ ผู้ที่สนใจดูงานหรือต้องการจะซื้อผลผลิต สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่เบอร์ 087 2 4 2 7 7 3 8

ภาพ/ข่าว คำหอม ชุมชน 02 ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ รายงาน

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.