ฟักไข่เต่ายักษ์!! ผบ.ฐานทัพเรือพังงา ทรภ.3 ตรวจพื้นที่หลุมฟักไข่เต่ามะเฟืองหวังลูกเต่าคลอดสมบูรณ์ทุกตัวให้เป็นมรดกโลกทางทะเล (มีคลิป)
1 min readเมื่อวันที่ 17 พ.ย.62 ผู้สื่อข่าวจังหวัดพังงารายงานว่า อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) พล.ร.ต.สมพงษ์ นาคทอง ผู้บัญชาการฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 (ผบ.ฐท.พง.ทรภ.3) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบริเวณหลุมไข่เต่ามะเฟือง ณ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลป.1 (ที่ทำการอุทยานฯ) โดยมีนายมงคล ลิ่ววิริยกุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง และนายปรารพ แปลงงาน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ร่วมกันดูแลความเรียบร้อยและหาแนวทางในการจัดการต่อไปจนไข่จะฟักเป็นตัว
ทั้งนี้เบื้องต้นได้มีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิในหลุมไข่ โดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อทำการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของหลุมฟัก และได้ทำคอกไม้ไผ่ขนาด 3×4 เมตร มากั้นไว้ก่อนจะทำรั้วไม้กั้นล้อมรอบนอกอีกครั้ง เพื่อป้องกันผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น สุนัข สัตว์ในธรรมชาติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพชายหาดที่เกิดจากคลื่นลมในอนาคต
ทั้งนี้วันที่ 17 พฤศจิกายน 2562 พบเต่าทะเลขึ้นวางไขบริเวณหาดท้ายเหมืองภายนอกเขตอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ประมาณ 4 กม. เป็นเต่ามะเฟือง ขนาดความยาว 194 ซม.ความกว้าง 173 ซม. ความยาวพายหน้าจากปลายพายข้างซ้ายไปขวา 197 ซม. วางไข่รวม 104 ฟอง เป็นไข่ดี 85 ฟอง ไข่ลม 19 ฟอง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองได้ย้าย
ไข่เต่าไปฟักบริเวณชายหาดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
วัฐจักรวงจรของอุณหภูมิน้ำทะเล อุณหภูมิของหลุมทรายที่แม่เต่าวางไข่จะทำให้ลูกเต่าจดจำอุณหภูมิต่ำอุณหภูมิสูงชายหาดที่จากไปได้ค่าความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างหลุมไข่กันทรายคันบนจะเป็นตัวกำหนดและกลับมาเพื่อวางไข่ต่อไป การเคลื่อนที่ของลูกเต่าโดยจะคลื่อนที่จากที่อุณหภูมิสูงไปหาอุณหภูมิต่ำซึ่งเป็นช่วงเวลากลางคืนเมื่อแม่เต่ามะเฟือง ขึ้นมาวางไขในหลุมทรายแล้วไข่จะมีการพัฒนาของตัวอ่อนใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 55-65 วัน (ขึ้นกับอุณหภูมิ) จากนั้นจะคลานขึ้นมาที่ปากหลุมทรายด้วยความต่างของอุณหภูมิ แล้วก็คลานกลับลงทะเลตามแนวแสงจากเส้นขอบฟ้า
และลูกเต่าเมื่อแตกออกจากเปลือกไข่เลือกคลานลงทะเลในช่วงเวลากลางคืน”เพราะความร้อนในตอนกลางวันจะทำให้ลูกเต่าสูญเสียความชื้นและอุณหภูมิ ในร่างกาย และภายในหลุมไข่ที่มืด เมื่อลูกเต่าคลานออกมา หากมาเจอแสงสว่างอย่างกระทันหัน จะมีผลต่อการมองเห็นทำให้ลูกเต่าเกิดภาวะตาบอดชั่วคราวได้ นอกจากนี้ในช่วงเวลากลางคืนจะมีศัตรูทางธรรมชาติน้อยกว่าอีกด้วย
ภาพ..ขอบคุณภาพจากอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง
ข่าว..โกอู๋@นักข่าวอาวุโสจังหวัดพังงา/นายพงษ์ศักดิ์ ประทีป รายงาน