อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

ชาวบ้านนายางกลัก ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ร่วมใจจัดงานสืบสานประเพณีบุญผะเหวด (บุญมหาชาติ) สุดยิ่งใหญ่ (มีคลิป)

1 min read

ชัยภูมิ โดยท่านพระครูปฏิพาน ธรรมรส รักษาการ เจ้าคณะอำเภอเทพสถิต และ รักษาการ เจ้าอาวาสวัดใหญ่นายางกลัก ต.นายางกลัก อ.เทพสถิตจ.ชัยภูมิ พร้อมกับชาวบ้านนายางกลัก ร่วมกันจัดงานบุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน 3 พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณ จบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า

ซึ่งในปีนี้ชาวบ้านนายางกลัก และวัดใหญ่นายางกลัก ได้จัดงานขึ้นในวันที่ 19-20 ก.พ. 2563 ซึ่งจะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงกลางเดือน 5 โดยเวลา 14:00 น.จัดให้มีขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองโดยออกจากป่า เดินผ่านหมู่บ้าน เข้าสู่วัด และเป็นวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่าวันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต บริเวณรรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ 1 ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล

และในวันเดียวกันยังได้ร่วมกันทำบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน หรือ บุญคูณลาน ตามความเชื่อโบราณฮีตสิบสอง คองสิบสี่ของชาวอีสาน โดยจะประกอบพิธีหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อระลึกถึงบุญคุณของพระแม่โพสพและแสดงออกถึงความกตัญญูต่อแผ่นดินที่ให้ผลผลิตเพื่อการยังชีพ และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและการเพาะปลูก ตลอดจนเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น

ในประเพณีบุญบายศรีสู่ขวัญข้าวคูณลาน มีจุดเริ่มต้นการสร้างในปี พ.ศ. 2537 โดยขณะนั้น เมื่อถึงช่วงเวลาประกอบพิธีบุญคูณลานชาวบ้านส่วนใหญ่ยังนวดข้าวไม่เสร็จ จึงนำมัดข้าวที่ยังไม่แยกเมล็ดข้าวออกจากฟางมาถวายวัดจนเกิดเป็นแนวคิดในการนำมัดรวงข้าวดังกล่าว มาสร้างเป็นปราสาทข้าว และพัฒนารูปแบบมาจนมีขนาดใหญ่และสวยงามอลังการเช่นปัจจุบัน

การประกอบพิธีบุญบายศรีสู่ขวัญคูนลานนั้น จะเป็นการอาศัยแรงศรัทธาและพลังความสามัคคีจากคนในชุมขนในการร่วมกิจกรรมในโครงการ ชาวบ้านจะนำข้าวเปลือก หรือ ข้าวสารที่สมบูรณ์ ซึ่งได้จากศรัทธาของชาวบ้านที่นำมารวบรวมกันไว้ที่วัด จากนั้นก็จะเริ่มการประกอบพิธีบุญบายศรีสู่ขวัญคูนลาน เป็นผลงานศิลปะชั้นเยี่ยมที่สะท้อนถึงพลังแห่งศรัทธาและความสามัคคีในชุมชนได้เป็นอย่างดี

อนึ่งคำว่า “ลาน” หมายถึงสถานที่สำหรับนวดข้าว “คูณ” คือการทำให้เพิ่มขึ้น คำนี้จึงมีความหมายว่าการนำข้าวที่นวดแล้วกองให้สูงขึ้น เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เป็นเหมือนการทำขวัญข้าว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวที่อยู่ภายในลาน ซึ่งโดยปกติแล้วการทำบุญคูณลานของชาวบ้านจะทำไม่พร้อมกัน แต่จะขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าว หากมีการขนข้าวเข้ายุ้งข้าวเมื่อใดก็ถือเอาวันนั้นเป็นวันทำบุญคูณลาน เป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวและสมาชิกในชุมชน มีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ และการประกอบพิธีบายศรีสูตรขวัญให้แก่ข้าว

ภาพ/ข่าว คำหอม ชุมชน 02 ผู้สื่อข่าว จ.ชัยภูมิ รายงาน

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.