“ร่วมสืบสาน บุญผะเหวด” (มีคลิป)
1 min readวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 วัดป่าคีรีบรรพต(วัดภูน้อย)” อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี จัดงานประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทุกหมู่บ้านมีการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติเป็นประจำทุกปี โดยมีวันโฮมบุญก่อน พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลา หรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อนและเครื่องคาวหวาน สำหรับผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวน ผ้าผะเหวด วันต่อมาจะมีการแห่พระเวสสันดรชาดก โดยทำเป็นขบวนแห่ มีการประดับตกแต่งขบวนแห่แต่ละขบวนให้มีความสวยงามและเป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร





บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญเดือนสี่ หรือบุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการ บริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อ ตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็ จะมี การเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใด ฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงาม ความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า


บุญผะเหวด เป็นประเพณีที่ชาวอีสานนับถือ สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อถึงเดือนสี่ชาวอีสานแต่ละหมู่บ้านจะประชุมกันเพื่อ กำหนดวันจัดงาน ตามความพร้อมของแต่ละหมู่บ้าน เมื่อกำหนดวันเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะบอกกล่าวญาติ พี่น้อง และหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ และจะ ช่วยกันหาดอกไม้มาตากแห้งไว้ ช่วยกันฝานดอกโน (ทำจากลำต้นหม่อน) งานนี้เป็นงานใหญ่ทำติดต่อกันสามวัน


ภาพ/ข่าว ณะรินทร์ศาล์ งามวงศ์