พล.อ.จำลอง คุณสงค์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล มอบโล่ แก่บุคคลต้นแบบ ดีเด่น สาขาสันติภาพ (สันติสุข) ขณะที่รองแม่ทัพภาค 4 ยันเดินหน้าพูดคุยสันติสุข (Peace Talk )
1 min readเมื่อวันที่ 29 ก.พ.2563 ที่ห้องประชุมโรงแรม ปาร์ค อินทาวน์ โฮเทล อ.เมืองปัตตานี พลเอกจำลอง คุณสงค์ ผู้แทนพิเศษ ของรัฐบาล หรือ คปต.ส่วนหน้า ได้เป็นประธานในพิธีมอบโล่เกียรติคุณ และใบเกียรติบัตร ให้กับบุคคลต้นแบบดีเด่น บุคคล องค์กร ผู้เกื้อหนุน ส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งหมด 9 ด้าน รวม 11 ท่าน
ประกอบด้วย 1. ด้านสื่อมวลชน นายอับดุลสุโก ดินอะ ผลงานคอลัมนิสต์ 8 สื่อมวลชนท่านที่ 2. นายอับดุลเลาะ เบ็ญญากาจ ผู้สื่อข่าวปัตตานี 3. ด้านองค์กร นายวิเชษฐ์ ไทยทองนุ่ม แฮนด์อีนแฮนด์รือเสาะ 4.ด้านสตรี นางธัมมกมลา ตนุพันธ์ (ภิกษุณี) 5.ด้านภาครัฐ พันเอกเอกธวุฒิ คงคาเขตร ผลงาน แสงแห่งความหวัง 6. ด้านผู้นำพุทธศาสนา พระปรัด จันทรส (ธัมมานัน) ผลงานสืบสานศาสนา 7. ด้านผู้นำศาสนาอิสลามนายอับดุลอาซิซ เจ๊ะมามะ ผลงานสร้างความเข้าใจการอยู่ร่วมกัน 8. ด้านเยาวชน นายนิยาซีน สุไลมาน ยูทรูเบอร์ yes I go 9. ด้านผู้นำท้องถิ่น นางสมใจ ชูชาติ ผลงานผู้ใหญ่บ้านหญิง การอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ 10. ด้านภาคประชาชน นายมะรีนอ เจ๊ะโว๊ะ ผลงานกิจกรรมวิ่งสุขภาพ หาทุน เพื่อเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสชายแดนภาคใต้ และ 11. 11.ด้านส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ (สันติสุขพื้น จชต.) พลโทพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้เปิดพื้นที่ อย่างเป็นทางการ แต่งตั้งคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล3) สันติสุขจังหวัดชายแดน เพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำข้อเสนอ ของประชาชนมายังกองทัพภาคที่ 4 และคณะพูดคุย เพื่อนำข้อเสนอของ ภาคประชาสังคม หรือ คณะ สล.3 สู่โต๊ะเจรจาการพูดคุย ระหว่างรัฐไทยและขบวนการผู้เห็นต่าง party A และ party B
ทั้งนี้ พลเอกจำลอง คุณสงค์ ผู้แทนพิเศษรัฐบาล ได้กล่าวว่า กระบวนการสร้างสันติสุข ต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อน เพื่อสร้างให้พื้นที่เกิดความสงบสุข ร่วมถึงสื่อมวลชน และน้อมนำกระแสพระราชดำรัส ในหลวงราชการที่ 9 “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ให้เข้าอย่างลึกซึ่ง มาแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในวันนี้จะเห็นทุกฝ่าย ได้ร่วมมือ ร่วมใจกัน ซึ่งรัฐบาลเห็นความสำคัญและจัดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบหรือความมั่นคงที่เกิดขึ้น ความยุติธรรมรัฐเองก็ต้องอำนวยการ ให้เกิดขึ้นกับประชาชน และจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การแก้ปัญหาความไม่สงบ หรือความไม่มั่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้หมดสิ้นไป นำความสันติสุขคืนพื้นที่กลับมา เพื่อความผ่าสุขของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้านนายรพี มามะ อุปนายกบริหารสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สมาคมสื่อฯ ได้แลเห็นความสำคัญ ของคนและองค์กร ที่เสียสละ เพื่อจิตสาธารณะ และทำดีความดีเพื่อบ้านเมือง ส่งเสริมการกระบวนการสร้างพื้นที่ให้เกิดความสงบสุข และสันติสุข สมาคมและเครือข่ายสื่อฯ จึงได้จัดทำโล่ห์ รางวัล สาขาสันติภาพ (สันติสุข)ชายแดนภาคใต้ ขึ้น เพื่อเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนทำงาน อนึ่งกิจกรรมเพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคม ได้เปิดข้อเสนอ ไปยังรัฐบาลและคณะพูดคุย ในฐานะ ภาคประชาสังคม สู่คณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ที่จะเกิดขึ้น ในปี 2020
ด้าน พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รอง ผอ.รมน.ภาค ๔ สน. /เลขานุการร่วมคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จชต. ร่วมกิจกรรมการมอบโล่เกียรติคุณผู้มีบทบาทดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ/สันติสุข เปิดข้อเสนอวาระประชาสังคมสู่โต๊ะพูดคุยสันติภาพ ๒๐๒๐ ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์ อ.เมือง จ.ปัตตานี พร้อมทั้งได้บรรยายในประเด็นภาพรวมของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การหาทางออกด้วยการพูดคุย และการพูดคุยเพื่อสันติสุขที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
การพูดคุยเพื่อสันติสุขเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ทางออกของปัญหา ทุกเรื่อง แต่ทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับนั้นต้องมาจากการตกผลึกของการพูดคุยกับระหว่างผู้ที่มีแนวคิดและความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างทางความคิดต้องไม่แสดงออกด้วยความรุนแรง
สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ จชต. เกิดจากความขัดแย้งไม่เข้าใจกัน ในทุกๆที่ในโลกย่อมมีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา เราต้องบริหารความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี หากใช้ความรุนแรงก็จะส่งผลให้เกิดความเสียหายทุกภาคส่วน ในพื้นที่ จชต. เช่นเดียวกัน สื่อทุกต้องเป็นกระบอกเสียงสื่อสาร/ตีแผ่ความจริงให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้ความจริงที่เกิดขึ้น
เรื่องการพูดคุยในฐานะที่เป็นเลขานุการร่วมของคณะฯ ก็ได้พูดคุยกับตัวแทนกลุ่มคนที่เห็นต่างที่เคยใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหาทั้งในทางลับและทางเปิดเผยในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันเขายอมรับแนวทางการดำเนินการของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการความเป็นธรรม การเปิดโอกาสให้พี่น้องทุกศาสนิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ และไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงมันส่งผลต่อพี่น้องอย่างรอบด้าน
ตัวแทนของ UN มาพูดคุยพบปะพวกเขาได้เข้าใจต่อการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ซึ่งแตกต่างจากที่ได้รับข่าวสารมาก็มีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้แนวทางสันติวิธี พร้อมกับให้กำลังใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ทุกภาคส่วน นโยบายหนึ่งที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหา คือ การพูดคุยเพื่อสันติสุข รัฐบาลปัจจุบันยึดถือกรอบการทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ที่มุ่งสร้างความปลอดภัยและความสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการแก้ไขจนเกิดความสงบและสันติสุขอย่างยั่งยืน พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจกับกลุ่มเห็นต่างตามแนวทางสันติวิธีผ่านกลไกต่าง ๆ รวมไปถึงการพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร
นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ ยังได้ระบุในเรื่องการพูดคุยไว้อย่างชัดเจน ในวัตถุประสงค์ข้อที่ ๕ คือ สร้างความเชื่อมั่นและหลักประกันความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุย เพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดเป็นวาระแห่งชาติและเตรียมความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง โดย
๑. ส่งเสริมกระบวนการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ในเรื่องหลักการ เป้าหมาย และรูปแบบของการกระจายอำนาจที่เหมาะสมบนพื้นฐานความเป็น พหุสังคมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นไปตาม หลักสากล ไม่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน
๒. ส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ บุคคลที่มีความเห็นและอุดมการณ์ต่างจากรัฐ ให้มีเอกภาพและสร้างหลักประกันความปลอดภัยในการเข้ามา มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
๓. เสริมสร้างความพร้อมและความเข้าใจของทุกภาคส่วนในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน และประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ ให้มีความรู้ ความเข้าใจต่อพัฒนาการของสถานการณ์ที่เป็นจริงของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
หลักการสำคัญในการพูดคุย การพูดคุยถึงแม้เป็นการเปิดพื้นที่ให้แสดงความเห็นได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ยังมีหลักการที่รัฐบาลยึดถือและขอเน้นย้ำไว้ คือ
๑. พูดคุยได้ในหลายประเด็น แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญของไทย และไม่นำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน
๒. มาเลเซีย ทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) แต่ยืนยันว่าปัจจุบันไม่มีใครมาทำหน้าที่ คนกลาง/ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator)
๓. เราต้องการคุยกับกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในพื้นที่ เนื่องจากเราต้องการจะลดความรุนแรงในพื้นที่ เพื่อลดการสูญเสียให้เร็วที่สุด แต่ไม่ปิดโอกาสการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่มอื่นๆ ที่ต้องการพื้นที่ในการแสดงความเห็น
๔. การพูดคุยฯ ถือเป็นวาระแห่งชาติ และมีความต่อเนื่อง เห็นได้ชัดจากยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
๕. การพูดคุยฯ ไม่ใช่ความพยายามในการหาข่าวเพื่อทำลายอีกฝ่าย แต่เราต้องการเปิดพื้นที่เพื่อหาจุดร่วมในการหาทางออกอย่างสันติ บนพื้นฐานของการให้เกียรติ ความจริงใจ
และสมัครใจ
ในวันนี้ท่านแม่ทัพภาคที่ ๔/หน.คณะประสานงานระดับพื้นที่ คาดหวังผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ที่ได้รับรางวัลจะเป็นกระบอกเสียงแทนภาครัฐไปขยายผลและสร้างความเข้าใจในเรื่องการพูดคุยสันติสุขไปยังพี่น้องประชาชนในทิศทางเดียวกัน ตรงกับประเด็นที่เราได้คุยกัน ทุกท่านคือกลไกที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยสันติสุข ภาครัฐจะดำเนินการเพียงลำพังไม่ต้องเราต้องเดินไปด้วยกันเพื่อสร้างสันติสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน การพูดคุยหรือการเจรจาสันติสุข หรือสันติภาพ จะเดินหน้าต่อไป รอง แม่ทัพภาค 4 กล่าว
นราธิวาส/ภาพ/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ