อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

สุดคำบรรยาย วิกฤตหมอกควัน แม่สาย – เชียงราย – ท่าขี้เหล็ก ถ้าไม่รีบแก้ไขคงตายผ่อนส่ง ล่าสุดพุ่งสูงถึง 600 ไมโครกรัม

1 min read

สืบเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องหมอกควันในพื้นที่ อ.แม่สาย อ.แม่ฟ้าหลวง และใน จ.เชียงราย ยิ่งทวีความรุนแรงหนัก ขึ้นทุกๆ ปี ไม่ว่าจะมีการประชุมหารือแนวทางแก้ไข ร่วมกันทั้งสองประเทศ ไทย-เมียนมา ในวาระการประชุมประสานงานระหว่างประเทศ (TBC ) แต่ก็ยังไม่เข้าถึงปัญหา ที่จะสามารถแก้ไขให้หมอกควันลดน้อยหมดลงไปได้ ยิ่งหนักเพิ่มมากไปทุกๆปี ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบหนักขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี ในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม จนถึงปลายเดือนเมษายน ของแต่ละปี ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เกิดหมอกควันขึ้นหนักทวีความรุนแรงในแต่ละปี ปัญหาคือการเผาเศษวัชพืชของไร่ข้าวโพด ของพีน้องกลุ่มชนชาติพันธุ์ ( ลาหู่ ว้า ไตย ) ที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนในพื้นที่ปกครองของเขตรัฐฉาน ของประเทศเพื่อนบ้านเรา โดยอยู่ห่างจากชายแดนด้าน อ.แม่สาย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ตะเข็บชายแดนทางทิศตะวันตก ประมาณ 15-35 กิโลเมตรออกไป ที่ได้ทำการเผาของเศษวัชพืชไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นี้เอง ทำให้เกิดฝุ่นละอองหมอกควันพิษลอยข้ามมาปกคลุมบนท้องฟ้าลอยเข้ามายังประเทศไทย ยิ่งหนักขึ้นในทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีการปลูกพืชไร่ข้าวโพดการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยไร่ข้าวของกลุ่มชาติพันธุ์มีอยู่ประมาณ 3,312, 500 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยคิดเป็นเงินกว่า 350 – 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพีน้องชนชาติพันธุ์จะมีผู้ส่งเสริมการปลูกข้าวโพด และผู้รับชื้อรายใหญ่จาก CP Myanmar ที่มีทุนรับชื้อ เมื่อถึงเวลาหน้าเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ก็จะทำการเผาเศษวัชพืช ทำให้เกิดหมอกควันขึ้นปกคลุมความกดอากาศต่ำสร้างมลพิษทางอากาศ แล้วจึงได้ทำการปลูกขึ้นมาใหม่ทดแทนตามฤดูกาล สร้างผลกระทบทำให้เกิดหมอกควัน และเกิดโรคทางเดินระบบหายใจ หู ตา จมูก โรคผิวหนังผื่นคันตามร่างกาย ไม่สามารถทำกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง ได้รับผลกระทบหนักทำให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้น ท่าขี้เหล็ก – อ.แม่สาย – อ.แม่ฟ้าหลวง รวมจนถึงในจังหวัดเชียงราย ได้รับผลกระทบฝุ่นละอองหมอกควันปกคุม และขี้เถ้า เป็นเวลามานานกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ยิ่งปีนี้ทวีความรุนแรงของจำนวนการเผาเศษวัชพืชข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามจำนวนที่ปลูกและทำการเผาจำนวนเริ่มขึ้น

แนวทางวิธีแก้ไขปัญหาหมอกควันให้ลดน้อยหมดลงจากพื้นที่ได้รับผลกระทบ
1.ภาครัฐไทย-เมียนมา ต้องวางแผนนโยบายประชุมหารือ แก้ไขปัญหาหมอกควัน ให้จริงจังเด็ดขาด และให้บรรลุผลในระยะยาว ที่ผ่านมายังไม่เข้าถึงปัญหาและต้นต้อที่แท้จริง ของปัญหาฝุ่นละอองหมอกควันที่เกิดขึ้น
2.เชิญผู้นำของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีประชากรทำการเกษตรปลูกไร่ข้าวโพด มาหารือวางแนวทางแก้ไข ของปัญหาที่ได้รับผลกระทบหมอกควันที่เกิดขึ้น ยาวนานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา

  1. วางแผนงานให้นักวิชาการ มาให้ความรู้ เรื่องเกษตรให้กับชนชาติพันธุ์ที่ปลูกพืชไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามแนวตะเข็บชายแดน ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มปลูก จนถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ และแนะนำในการไม่ให้เผาเศษวัชพืชที่สร้างผลกระทบ โดยใช้วิธีไถ่กลบ หรือใช้วิธีต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงในการเผาเศษวัชพืชของข้าวโพด หรือบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขาชันไม่สามารถไถ่กลบได้ ให้ปลูกพืชการเกษตรตัวอื่นทดแทนที่ทำรายได้ไม่แตกต่างจากข้าวโพด โดยทางไทยมีตลาดรับชื้อรองรับ ให้กับกลุ่มผู้ปลูกของพีน้องชนชาติพันธุ์
    4.เจ้าหน้าที่เพื่อนบ้านต้องขึ้นบัญชีกลุ่มเป้าหมายที่ปลูกไร่ขาวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามแนวชายแดนไทย-เมียมา ด้าน จ.เชียงราย และเชียงใหม่ เพื่อเสนอในการจัดชื้อเครื่องมือจักรกลในการทำการเกษตร โดยภาครัฐทางการไทยจะลดภาษีในการนำเข้าของเครื่องมือจักรกลการเกษตร ที่อยู่ตามแนวชายแดนของไทย ที่ได้ขึ้นบัญชีเอาไว้แล้ว
    5.เข้าถึงและจริงใจ ถึงกลุ่มผู้นำ – และเกษตร ของชนชาติพันธุ์ในเขตรัฐฉาน ให้ความรู้ความเข้าใจ ในด้านการเกษตร และหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควัน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ให้ลดน้อยหมดลงไป ในการช่วยกันแก้ปัญหา และวางแนวทางร่วมกันของ ของภาครัฐไทย – เมียนมา – กลุ่มผู้นำชนชาติพันธุ์ และผู้ปลูกไร่ข้าวโพดตามตะเข็บชายแดนในเขตรัฐฉาน – และกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบหมอกควัน ของไทย – เมียนมา ถ้าเราไม่วางแนวทางแก้ไขร่วมกันทุกฝ่ายอย่างเอาจริงจัง อีก 5 ปี 10 ปี ปัญหาหมอกควันก็ไม่หมดลงไปเหมือนเดิม ( เพื่ออากาศที่บริสุทธิ์สดใส โลกใบนี้ที่สวยงาม ) ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ฝ่ายที่หาแนวทางแก้ไขปัญหาหมอกควันตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมา ให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จลุล่วงที่ว่างเอาไว้

ณฐพัชร์ อภิโชคกุล หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์ รายงานสกุ๊ปพิเศษ หาแนวทางแก้ไขหมอกควันที่ยืดเยื้อมานานกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.