อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

สรุปมาตรการเยียวยา แรงงานลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการและธุรกิจจากผลกระทบCOVID-19

1 min read

คณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังประกาศมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 การประกาศครั้งนี้เป็นมาตรการระยะที่ 2 หลังจากที่ประกาศระยะที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็นมาตรการสำหรับภาคประชาชน ที่เน้นเพิ่มสภาพคล่อง และธุรกิจที่เน้นการผ่อนผันทางภาษีเพื่อลดผลกระทบจากสภาพที่ต้องหยุดกิจการ

มาตรการภาคประชาชน

  1. มาตรการเพิ่มสภาพคล่องภาคประชาชน

สนับสนุนเงิน 5,000 บาทต่อเดือนสูงสุด 3 เดือน 

ปล่อยกู้ 10,000 บาท ดอกเบี้ยง 0.1 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องมีหลักประกัน 

ปล่อยกู้ 50,000 บาท ดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีหลักประกัน

สำนักงานธนานุเคราะห์ รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยไม่เกิน 0.125 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน

  1. ลดภาระ

กรมสรรพากรยืดเวลารับยื่นแบบและชำระภาษีรายได้บุคคลไปถึงเดือนสิงหาคม 2563 พร้อมเตรียมเร่งคืนภาษี 

ประกาศเพิ่มหักลดหย่อยเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาท 

ยกเว้นภาษีรายได้กลุ่มคนทำงานที่เกี่ยวกับ COVID-19

นอกจากนี้ เตรียมหารือกับสถาบันการเงิน หาแนวทางป้องกันการยึดทรัพย์อย่างไม่เป็นธรรมระหว่างเกิดการแพร่ระบาด

  1. ฝึกอบรม สอนทักษะอาชีพ ผ่านเครือข่ายต่างๆ อย่างมูลนิธิในโครงการพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้าน กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และวิจัยนวัตกรรม สำหรับมาตรการเยียวยา แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 คาดว่าประชาชนสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันเสาร์นี้ (28 มีนาคม 2563) ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยใช้หลักฐาน ได้แก่ บัตรประชาชน ขัอมูลส่วนบุคคล และข้อมูลนายจ้าง หลังจากนั้นจะสามารถรับเงินเยียวยาได้ผ่านระบบพร้อมเพย์ (Promptpay) ที่ผู้กับเลขประจำตัวประชาชน และโอนเข้าบัญชีธนาคาร จากการประกาศมาตรการระยะที่ 2 เรื่องการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ของคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการดูแลเยียวยา ‘แรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม’ ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จำนวน 3 ล้านคน โดยในมาตรการ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ นี้ รัฐบาลจะชดเชยรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563

4 ขั้นตอนการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท

  1. ตรวจสอบคุณสมบัติ

โดยคุณสมบัติของผู้รับเงินเยียวยาที่ต้องมีคือเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มแรงงาน ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ จาก COVID-19 เนื่องจากการปิดพื้นที่เสี่ยง COVID-19 ชั่วคราวและการหยุดกิจการของธุรกิจที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถานบันเทิง สปา ฟิตเนส เป็นต้น และในส่วนกลุ่มที่อยู่ในระบบประกันสังคมนั้น จะได้รับเงินกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างโดยแยกเป็น 2 กรณีคือกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน หรือกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน 

  1. เตรียมหลักฐาน

ในส่วนของการรับเงินชดเชย ผู้ที่ประสงค์จะรับเงินเยียวยาจะต้องมีหลักฐานดังต่อไปนี้

-บัตรประชาชน

-ข้อมูลส่วนบุคคล

-ข้อมูลนายจ้างเป็นหลักฐานการรับเงิน

  1. ลงทะเบียน

ผู้ประสงค์ขอรับเงินเยียวยาสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 ที่จะถึงนี้ ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

ผ่านทาง www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยตรง

ผ่านธนาคารของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  1. รับเงินเยียวยา

ผู้ประสงค์ขอรับเงินสามารถรับเงินเยียวยาเป็นจำนวน 5,000 บาท 5 วันหลังการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์ โดยเงินจะถูกโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของผู้รับเงิน

มาตรการเพื่อผู้ประกอบการและธุรกิจ

  1. สภาพคล่อง ปล่อยสินเชื่อรายย่อยรายละ 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ 2 ปี แรก วงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย SME Bank
  2. ลดภาระ ยืดการเสียภาษีประเภทต่างๆ 

ภาษีนิติบุคคล ภ.ง.ด. 50 เลื่อนไปยื่นภายใน สิงหาคม 2563 ภ.ง.ด. 51 เลื่อนไปยื่นภายใน กันยายน 2563

ภาษีสรรพากรทุกประเภท เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ เลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบชำระออกไป 1 เดือน

ภาษีสรรพสามิต กิจการสถานบริการ เลื่อนออกไป 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563 ให้เสียภาษี 15 กรกฎาคม 2563

ภาษีสรรพสามิต ผู้ประกอบการกิจการน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เลื่อนการชำระภาษีภายใน 10 วัน เป็นวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยมีระยะเวลา 3 เดือน

ยกเว้นอากรนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19 เป็นเวลา 6 เดือน หรือราวเดือนกันยายน 2563 

ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ Non-Bank เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล หรือเช่าซื้อ ภายใน 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563


Loading...

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.