สถานเอกอัครราชทูตฯเคแอล ประจำประเทศมาเลเซียเป็นห่วงใย แจกจ่ายอาหารแห้งสำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียโดยมีความร่วมมือจากจิตอาสา
1 min read“ขอให้พี่น้องคนไทยที่ยังอยู่ในมาเลเซียเข้มแข็งและขอให้มีกำลังใจ” นายณรงค์ศศิธร เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้กล่าวผ่านเฟสบุ๊คของสถานทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
หลังจากประเทศมาเลเซียประกาศปิดประเทศควบคุมการเคลื่อนย้ายเป็นเหตุให้มีแรงงานไทยไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้และเป็นเหตุให้มีแรงงานหลายคนประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและเงินในการใช้จ่ายประจำวันเนื่องจากไม่สามารถเปิดร้านอาหารได้ตามปกติ จากความเดือนร้อนของแรงงานไทยในมาเลเซียที่ยังตกค้างหลายพันคนเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมาสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข นายแพทย์กิ๊ฟลัน ดอเลาะ นายกสมาคม ได้ระดมความคิดเห็นจาก นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ และนักวิชาการและผู้ประกอบการในมาเลเซียเพื่อปรึกษาหารือในการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ตกค้างในมาเลเซีย จากการประชุมหารือได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อร่วมกันช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซีย ( คฉ.จม.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่บาดของโควิค 19 ที่เกิดจากการที่มาเลเซียประกาศปิดประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมาโดยมีนายตูแวดานียา มือรีงิง ผู้สื่อข่าวเป็นประธานกรรมการพร้อมกับตัวแทนภาคประชาสังคม ตัวแทนจากชมรมต้มยำไทย และบุคคลกรด้านต่างๆจำนวนรวม 11 คน
นายตูแวดานียา มือรีงิง ได้เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อร่วมกันช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซีย (คฉ.จม.) ได้ประชุมครั้งแรกเพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือและประสานงานกับสถานทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ให้ทราบถึงภารกิจของคณะกรรมการเฉพาะกิจ
“ หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศว่าจะปิดประเทศโดยควบคุมการเคลื่อนย้าย มีแรงงานไทยในมาเลเซียจำนวนกว่า 50,000 คนได้กลับบ้านส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนใต้ก่อนหน้านี้และยังมีที่เหลืออยู่จำนวนอาจถึง 10,000 คนที่ยังติดค้างในมาเลเซียโดยมีผู้ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทางสถานทูตไทยจำนวนประมาณ 6000 คนที่เหลือยังกระจัดกระจายโดยทางกลุ่มยังไม่มีข้อมูลเช่นกลุ่มแรงงานไทยที่มาทำงานนอกระบบ เช่นหมอนวด ร้านบาร์ต่างๆ และแรงงานด้านเกษตรและประมงอีกจำนวนมาก” ประธานกรรมการกล่าว
มาตราการในการช่วยเหลือแรงงานไทยมีข้อสรุปดังนี้
1.สรุปสถานการณ์หลังจากที่มาเลเซียขยายเวลาปิดประเทศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2563 จนถึง 14 เมษายน 2563 ให้แรงงานเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานร้านต้มยำกุ้งไทยในมาเลเซียยังคงอยู่ในประเทศมาเลเซียตอนนี้มีคนที่ต้องการกลับไทยและบางคนต้องการอยู่ต่อจำนวนหนึ่งคนที่ต้องการจะกลับไทยต้องมีใบรับรองแพทย์มีค่าใช้จ่าย 30 ริงกิต (ประมาณ 300 บาท) และใบรับรองจากสถานทูตไทยในสถานการณ์ตอนนี้มีความยากลำบากในการเดินทางออกไปที่คลินิกที่กำหนดไว้เท่านั้นในกรุงกัวลาลัมเปอร์และที่รัฐยะโฮร์อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายค่าเดินทางและมาตรการ MCO ที่ต้องผ่านด่านตรวจของตำรวจอย่างเข้มงวดตอนนี้หลายคนอยู่ในสภาพตกงานขาดรายได้ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระและความเดือดร้อนมากขึ้น
2.ในเรื่องการทำสื่อเผยแพร่ให้สังคมรับรู้ถึงปัญหาของแรงงานร้านต้มยำได้มีการสื่อสารสองรูปแบบคือสื่อสำหรับแรงงานที่อยากกลับมีปัญหาอะไรบ้างเช่นใบรับรองแพทย์ fit to travel และสื่อที่สะท้อนปัญหาที่มีอยู่ให้ชัดเจน ของคนที่อยากอยู่ในประเทศมาเลเซียโดยต้องสื่อสารให้รับผิดชอบต่อสังคมการป้องกันการแพร่กระจายไวรัสโควิดในขณะอยู่ต่อในประเทศมาเลเซียโดยได้มีประสานงานให้ทางกงสุลไทยในทางรัฐยะโฮร์ให้นำถุงยังชีพไปแจกให้กับคนที่เดือดร้อนบางส่วนแล้วสำหรับกลุ่มที่อยู่ต่อในประเทศมาเลเซีย
ในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยได้มอบเงินจำนวน 3000 ริงกิต ให้กับนายซัมซูดิง วาสุกาเลาะ ประธานกลุ่มต้มยำกุ้งไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายหลักของอาสาสมัครที่ออกไปแจกจ่ายเสบียงแก่ผู้ที่เดือดร้อน เพื่อไปซื้อของจำเป็นไปมอบให้กับแรงงานที่เดือนร้อนในรัฐต่างๆโดยผ่านตัวแทนชมรมต้มยำที่อยู่ในรัฐต่างๆเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
หากแรงงานไทยที่มีปัญหาหรือขาดแคลนอาหารแห้งใดๆแรงงานสามารถมาติดต่อรับได้ที่สถานเอกอัครราทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์หรือติดต่อกับอาสาสมัครในรัฐที่ท่านอยู่หากใครไม่ทราบสามารถ inbox มาสอบถามในเพจของสถานเอกอัครราชทูตฯได้
“ถึงแม้สิ่งของและถุงยังชีพที่สถานเอกอัครราชทูตฯได้พยายามแจกจ่ายให้ทั่วถึงจะไม่มีค่ามากมายแต่ขอให้พี่น้องคนไทยทราบว่าสถานเอกอัครราชทูตฯจะไม่ทอดทิ้งคนไทยด้วยกันและจะพยายามช่วยเหลือคนไทยอย่างเต็มที่เพื่อให้เราทุกคนผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นายณรงค์ ศศิธร เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์กล่าว
อับดุล หาดี ยะลา
ทีมข่าวเฉพาะกิจ รายงาน