ปราจีนบุรี พุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุญวันวิสาขบูชา
1 min read
วันนี้ 6 พค.63 ที่วัดโนนฝาวพุทธาราม ต.วังตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พุทธศาสนิกชน ยังคงมาทำบุญตักบาตรฯ เช่นทุกครั้งที่ผ่านมา โดยมีการสวมใส่หน้ากากและนั่งเว้นระยะห่าง หลังจากนั้นประชาชนบางส่วนได้เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา ตามประเพณีที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย
วันวิสาขบูชา ตรงกับวัน15ค่ำเดือน6
ความหมายคำว่า”วิสาขบูชา”หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชาย่อมาจาก”วิสาขปุรมีบูชา”แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือมี 8 สองหนก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7 ความสำคัญวันวิสาขบูชา วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติคือ เกิด ได้ตรัสรู้คือ สำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่พระราชทานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ต.อุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปีปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่าพุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
3.หลังจากตรัสรู้แล้วได้ประกาศพระศาสนาและโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปีพระชนมายุได้ 80 พรรษาเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคารขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ(ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปีบังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญเช่นนี้ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณพระปัญญาธิคุณและพระบริสุทธิคุณของพระองค์ท่านผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทยวันวิสาขบูชานี้ปรากฏตามหลักฐานว่าได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งสันนิษฐานว่าคงได้แบบอย่างมาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณพ.ศ 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกาได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อๆมาก็ทรงดำเนินรอยตามแม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้สรุปใจความได้ว่า
“เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบลต่างช่วยกันทำความสะอาดประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอมจุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พรัมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์พ่อทรงศิลป์และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆขั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อส่งเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีลฟังธรรมเทศนาถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกําพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้าและเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระโดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุยืนยาวต่อไป
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจและอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เข้าครอบงำ ประชาชนคนไทยและผู้มีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนาจึงไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ 2360)ทรงดำริกับสมเด็จพระสังฆราช(มี)สำนักวัดราชบูรณะมีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นเป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำเดือน 6 ต 2360 และจัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เมื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศลเป็นหนทางเจริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและอุปัทวันตรายต่างๆโดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้นการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทยจึงได้หรือฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัยคงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาพ. ศ. 2500เส้นทางราชการเรียกว่า งาน ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ตั้งแต่วันที่ 12-18 พฤษภาคมรวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวงส่วนสถานที่ราชการและวัดอารามต่างๆปรับทรงคิ้วและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วันมีการอุปสมบทพระภิกษุรวม 2,500 รูป ประชาชนงดการฆ่าสัตว์และงดการดื่มสุราตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พค.รวม 3 วันมีการก่อสร้างพุทธมณฑลจัดภัตตาหารเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2500 รูปตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนวันละ 200,000คนเป็นเวลา 3 วันออกกฎหมายสงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้นรวมถึงการฆ่าสัตว์และจับสัตว์ในบริเวณวัดและหน้าวัดด้วยและได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่อย่างพร้อมเพียงกันเป็นกรณีพิเศษในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
น.ส.ชนิสรา สุดตา อายุุ17ปี และ น.ส.ณัฐธิดา จันทร์ภักดี อายุ16ปี กล่าวว่า มาทำบุญกับครอบครัวในวันนี้เพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และร่วมเวียนเทียนกับผู้ถือศีลในวันนี้ด้วย โดย ทำกิจกรรมเวียนเทียน โดยเว้นระยะห่าง เพื่อความปลอดภัยตามประกาศของเจ้าอาวาส ฯ…
ภาพ/ข่าว:ทองสุข สิงห์พิมพ์
ลักขณา สีนายกอง/รายงาน