อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

เพชรบูรณ์ ฝนตกหนักชาวบ้าน เฮลั่น!! ได้ทั้งน้ำทำการเกษตร ได้ทั้งจับอึ่ง กบ เขียดขาย สร้างรายได้งาม

1 min read

วันที่ 12 มิถุนายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงาน ช่วงค่ำเวลาประมาณ 21.00น.ของวันที่11มิถุนายน 2663 ที่ผ่านมาหลายพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะช่วยคลายร้อนจากสภาพอากาศที่อบอ้าว และส่งผลดีแก่พื้นที่ทางการเกษตรที่ปลูกข้าวโพดเพราะฝนทิ้งมาหลายวันทำให้ข้าวโพดที่กำลังจะแห้งตายกับมาฟื้นคืน ยังพบว่าถือเป็นช่วงนาทีทองของชาวบ้าน ในพื้นที่อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่างพากันจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ออกหาจับอึ่ง จับกบ จับเขียด ซึ่งออกมาเล่นน้ำ ส่งเสียงร้องหาคู่ผสมพันธ์กันตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ช่วยให้ชาวบ้าน มีรายได้จากการจับอึ่ง กบ เขียด ขายสร้างรายได้งาม

สอบถาม นายเสถียร ดวงสิมมา อายุ 56ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 159 หมู่7 บ้านวังไทรทอง ต.ซับเปิบ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ เล่าให้ฟังว่า ในทุกปีหลังจากฝนแรก ที่ตกลงมาอย่างหนัก จนมีน้ำท่วมขังตามท้องทุ่งนาและตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ ชาวบ้านจะรีบพากันจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ลักษณะเป็นบ่วงตาข่ายต่อด้ามไม้ยาวพอเหมาะสำหรับใช้จับ อึ่ง กบ และเขียด เพื่อนำมาทำเป็นอาหารรับประทานในครัวเรือน ช่วยลดรายจ่าย และส่วนหนึ่ง จะนำมาแบ่งขายในชุมชน และตามท้องตลาด เพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งแต่ละคนสามารถจับอึ่งได้มากถึงคนละ 5-10 กิโลกรัม ส่วนตนเองจับได้ถึง 19 กิโลกรัม และบางคนสามารถจับได้มากสุดถึงกว่า 30 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้เฉลี่ยครั้งละกว่า 500 – 3,000 บาทเลยทีเดียว

ส่วน น.ส.ทองสุน บัวงาม อายุ52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ 7 บ้านวังไทรทอง เล่าว่า ตนเองกับสามีได้ออกไปจับอึ่งช่วง 3ทุ่ม ถึง 4ทุ่มได้มาเพียง 20กิโลกรัม แล้วกลับเข้าเพื่อพักผ่อนจนถึงเวลาตี4 ก็ได้ออกไปจับอีกรอบ ถึงแม้ราคาซื้อขายอึ่ง จะมีราคาดี สร้างรายได้อย่างงาม แต่เนื่องจากเป็นอาหารตามฤดูกาล ทำให้ในแต่ละปี จะสามารถจับอึ่งได้เพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น และไม่เพียงพอต่อความต้องการของท้องตลาด เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้บริโภค มาเลือกซื้อหาไปทำอาหารในเมนูยอดฮิต โดยตนเองจึงเลือกนำมาทำอาหารขาย เช่น อึ่งย่าง ต้มยำอึ่งใส่ใบมะขามอ่อน หรือจะนำไปถนอมอาหาร ด้วยวิธีการหมักเป็นปลาร้าอึ่ง เพื่อเก็บไว้รับประทานนานๆ ก็ได้

โดยในปีนี้ พบว่าราคาซื้อขายอึ่ง จะแบ่งออกเป็น อึ่งโกรกหรืออึ่งข้างลาย ตัวที่มีไข่ ขายกิโลกรัมละ 150-180 บาท อึ่งโกรกหรืออึ่งข้างลาย ไม่มีไข่ ขายกิโลกรัมละ 120 บาท อึ่งยาง ขายรวมราคากิโลกรัมละ 100-120 บาท นอกจากนั้น ชาวบ้านยังสามารถหาจับ กบ และ เขียด มาขายในคราวเดียวกัน โดย กบนา ขายราคา กิโลกรัมละ 200 บาท เขียดสด ขายราคากิโลกรัมละ 150 บาท และ หากนำเขียดสดมาแปรรูปเป็นเขียดแดดเดียว ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่า ขายได้ราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท

ภาพ/ข่าว เดชา มลามาตย์/มนสิชา คล้ายแก้ว

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.