พุธ. พ.ย. 6th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

สภาพสวนทุเรียนเสียหายจากภัยน้ำท่วม เกษตรกรเรียกร้องให้มีการเยียวยาที่เหมาะสมกับความเสียหาย

1 min read

วันที่ 27ม.ค.64 จากกรณีเกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ต้องได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมสูงในรอบหลายสิบปี บางพื้นที่กล่าวได้ว่าเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ7ปี บางพื้นที่เป็นน้ำท่วมในรอบ10ปีก็ว่าได้ นอกจากน้ำนั้นในพื้นที่ยังต้องประสพกับน้ำท่วมขังติดต่อกันนาน6-7วัน ก่อเกิดความเสียหายต่อสัตว์เลี้ยง สวนพืช สวนผลไม้ของเกษตรกรเป็นวงกว้างในพื้นที่สามจังหวัดชานแดนภาคใต้กับสี่อำเภอของสงขลา

พื้นที่ตำบลบาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เกิดภัยน้ำท่วมสูงในระดับสูง2เมตรกว่า และยังเกิดภาวะน้ำท่วมขังส่งผลกระทบต่อสวนพืชผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่เป็นวงกว้างกินพื้นที่ไม่น้อยกว่า700ไร่ นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งในรอบ7ปี สร้างความเสียหายต่อเศษฐกิจ ที่เป็นรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่แห่งนี้ นอกจากสวนยางพารา จากการพูดคุยจากเกษตรกรผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม ระบุว่าสิ่งที่เกษตรยอมรับไม่ได้จากภัยพิบัติน้ำท่วมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดจากภัยธรรมชาติเพียงลำพัง แต่เกิดจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนที่มีมวลน้ำมหาศาลไหลข้าม ห้วย คลอง ผ่านสวนทุกเรียนของชาวบ้าน ไม่ได้ไหลมาทางคลองปกติ จะเห็นได้ว่าบริเวณสวนทุกเรียนที่ได้รับผลกระทบ เกิดความเสียยืนตายนั้นห่างจากคลอง3-4 กิโลเมตร แต่ทำไมหน่วยงานจังหวัดยะลาถึงพยายามเบี่ยงเบนว่าไม่ได้เกิดจากสาเหตุปล่อยน้ำจากเขื่อน แต่กลับพยายามพูดให้เข้าใจว่าเกิดจากน้ำป่าไหลหลากทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

ด้านนายมูฮำหมัด หะยีสาและ เผยกับทีมสื่อฯว่าน้ำท่วมในครั้งนี้สูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มาอยู่ทำสวนที่นี่และมีความเร็วน้ำไหลเชี่ยวมากแรงมากทำอะไรไม่ทันจริง ๆ มีน้ำท่วมสูงไม่ต่ำกว่า2เมตร ท่วมถึงหยอดมะพร้าวน้ำห้อมหลังบ้าน ส่วนบ้านชั้นล่างถูกน้ำท่วมโชคดีบ้านมีสองชั้นจึงหลบไปอาศัยกันบนชั้นสอง หลังน้ำลดต้นทุกเรียนที่ปลูกในพื้นที่8ไร่ จำนวน150ต้น เหลือรอดสองวันแรก30ต้น แต่ถึงวันนี้เริ่มทยอยตายเพิ่มขึ้นเหลือเพียง20ต้น ไม่รู้ว่าจะตายเพิ่มอีกกี่ต้น ส่วนการเยียวยาที่รัฐจะช่วยเหลือนั้น ตนเองขึ้นทะเบียนเกษตรกร มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดเนื้อที่8ไร่แต่ยังไม่ได้โอนชื่อเป็นของตัวเอง จึงไม่ได้ยื่นเอกสารเพื่อรับสิทธิการเยียวยาจากรัฐ เพราะ จนท.บอกว่าได้หรือไม่ได้รับการเยียวยา50/50% จึงไม่ลงทะเบียนเมื่อไม่ได้ไปลงทะเบียนไปทำไม

นายบานียามิง อาลีมามะ เผยกับทีมสื่อฯว่าเกษตรกรไม่รับการแจ้งเตือนล่วงหน้าว่าจะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจนกระทั่งเห็นมวลน้ำขนาดใหญ่มีความรุนแรงเอ่อเข้าในสวนเมื่อเวลา08.00น.ของวันที่6มกราคม64 ซึ่งตรงกับเพจแจ้งเตือนของเขื่อนว่าจะมีการน้ำเขื่อนเมื่อเวลา06.00น.ของวันเดียวกัน จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆจนขึ้นสูงในระดับ2เมตรกว่า ชาวบ้านในพื้นที่ต้องระดมกำลังช่วยเหลือกันจึงถึงยามสอง ไม่หลับไม่นอนกันเลยทีเดียว แล้วยังเกิดภาวะท่วมขังนานถึง6วันติดต่อกัน พอน้ำเริ่มลดลงภาพที่เห็นต้นทุเรียนปลูกมาอายุไม่น้อยกว่า2ปี ในพื้นที่ 10ไร่ ต้องทยอยยืนตายจากไป โดยไร้ความรับชอบใดๆจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ยินการแสดงความรับผิดชอบใดๆแม้คำขอโทษสักคำ สิ่งที่ชาวบ้านเรียกร้องช่วงนี้คือเรื่องการเยียวยาที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่จ่ายตามหลักเกณฑ์ระเบียบของทางราชการที่กำหนดในวงเงินที่ไร่ละไม่เกิน1600 บาทและไม่เกิน30ไร่ เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนทำสวนทุเรียนสูงมาก กว่าจะโตได้ไม่ง่ายเลย ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี ไม่ใช่สวนยาง ยิ่งบางรายต้นที่เคยให้ผลผลิดมาแล้วต้องใช้เวลาเกือบ10ปี แล้วมานับหนึ่งใหม่ ที่สำคัญราชการพยายามอ้างเหตุจากน้ำป่าไหลลาก โทษฟ้า โทษฝนยังเดียว ทั้ง ๆที่เกิดจากการปล่อยน้ำเขื่อน

ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.