“พ่อเลี้ยงคำ” กับ “วัวแคระ” ให้โชค ความรัก ความผูกพันที่แสนประทับใจ
1 min readเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่แนวชายแดนไทย-เมียนมา ท่าข้ามริมแม่น้ำเมย (ท่า 23 หรือท่าพ่อเลี้ยงคำ วังแก้ว )บ้านวังแก้ว ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ผู้สื่อข่าวได้พบเห็นภาพที่แสนประทับใจ จากภาพที่นายคำ จันทร์บุญ หรือชาวบ้านเรียก “พ่อเลี้ยงคำ” เจ้าของท่าข้ามธรรมชาติ ท่า 23 ริมแม่น้ำเมย ใช้เวลาว่างเว้นจากภารกิจ กิจการธุรกิจ มาเลี้ยงดูแล วัวแคระ เพศผู้ ที่ตั้งชื่อว่า “เจ้าแก้ว” ซึ่งเสมือนหนึ่งว่า “วัวเจ้าแก้ว” เป็นสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้านพัก ที่ดูน่ารักมาก
พ่อเลี้ยงคำ เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ท่าข้าม 23 เป็นหนึ่งในท่าข้ามที่มีการขออนุญาตนำเข้า โค-กระบือ (วัว-ควาย) ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีวันหนึ่ง ได้มีวัวแคระตัวหนึ่ง เพศผู้ เดินมาหาและมีหมอบนั่งที่ข้างตนเอง ในลักษณะมาอ้อน ตนเองเห็นแล้วรู้สึกชอบวัวแคระตัวนี้มาก เลยแยกออกเพื่อเอามาเลี้ยง และตั้งชื่อให้ว่า “เจ้าแก้ว” และจะเหมือนต้องชะตากัน หลังนำ วัวแคระเจ้าแก้ว มาเลี้ยงได้ไม่นาน กิจการการค้า การขาย และกิจการต่างๆ ที่ท่าเรือท่าข้าม 23 (พ่อเลี้ยงคำ) เจริญรุ่งเรืองขึ้นมามาก ทำมาค้าขายขึ้น ค้าขายดีธูรกิจรุ่งเรือง ตนเองจึงเชื่อว่า “วัวแก้ว” ให้โชค ยิ่งเพิ่มความรัก ความสงสาร เจ้าวัวแก้ว มากขึ้น และเลี้ยงดูเป็นอย่างดี บริเวณรอบๆบ้านพัก ซึ่งวัวแก้ว เมื่อเห็นตนเอง ลงมาจากบ้านก็มักจะ ส่งเสียงร้องเรียก และเดินมาหา ทุกวันนี้ส่วนหนึ่งตนเองมีความสุขกับการได้ดูแลเลี้ยงดู เจ้าวัวแก้ว อย่างมาก ด้วยความรักและความผูกพันที่ประทับใจมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า นายคำ จันทร์บุญ หรือ “พ่อเลี้ยงคำ” นับว่าเป็นที่รักและนับถือ ของชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก เป็นพ่อเลี้ยงใจบุญ ที่มักจะช่วยเหลือสังคมคนท้องถิ่น และชุมชน หมู่บ้าน ทุกแห่ง งานบุญงานกุศลทุกงานในพื้นที่ พ่อเลี้ยงคำ จะช่วยเหลือ บริจาค อย่างทั่วถึง เช่นเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส วิด 19 ก็จะนำหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ ข้าวสารอาหารแห้ง ไปแจกจ่ายให้ชุดทำงาน(ชรบ.)ทุกหมู่บ้าน หรือชาวบ้านที่เดือดร้อนก็ช่วยเหลือเสมอๆ เป็นพ่อเลี้ยงใจดี ใจบุญ ที่คนในพื้นที่ยอมรับในคุณงามความดี และเมื่อได้วัวแคระ เจ้าแก้ว มาเลี้ยงก็ทำให้ มีโชค มีลาภ เข้ามาไม่ขาดสาย