อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

รฟท.ประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1 min read

รฟท.ประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนาครั้งที่1) งานสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เชื่อมเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ในพื้นที่จังหวัดตาก ที่ห้องเวียงปิง โรงแรมเวียงตากริเวอร์ไซค์ อ.เมือง จ.ตาก โดยมี ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนชาวจังหวัดตาก เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบผลการประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เห็นชอบตามข้อเสนอของเทศบาลนครแม่สอด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดตาก และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย-รฟท.) รับไปพิจารณาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดแผนการพัฒนารถไฟทางคู่และทางสายใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการลงทุนของภาครัฐ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 มีมติเห็นชอบแนวทาง และข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสั่งการไปพิจารณาดำเนินการ โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งดำเนินการเรื่องการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณฯ เพื่อดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ (Detailed Design) เพื่อให้แผนการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมตะวันตก-ตะวันออก (East-West Corridor Upper) จากแม่สอด-นครพนม มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ การรถไฟฯ จึงได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณลงทุนประจำปี 2563 เพื่อดำเนินการสำรวจออกแบบรายละเอียด และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ เป็นจำนวนเงิน 180 ล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่สำคัญของประเทศ ทั้งโครงการต่อเนื่อง และโครงการใหม่ที่มีความพร้อม

สำหรับการศึกษาโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางที่กระทรวงคมนาคม ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร และเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟสามารถลดระยะเวลาและประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในภาคการขนส่งของประเทศ ลดปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสาธารณะ ทั้งพื้นที่ชนบท เมือง และระหว่างประเทศ และจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการทางรางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน และนอกจากจะให้ความสำคัญกับการขนส่งผู้โดยสารแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการบริการขนส่งสินค้า รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแหล่งสถานที่ที่สำคัญในเขตภาคเหนือ และเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายการขนส่งทางรถไฟ

โดยโครงการดังกล่าว มีแนวเส้นทางรถไฟแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก มี 24 สถานี ระยะทาง 186.77 กิโลเมตร และช่วงที่ 2 ตาก-แม่สอด มี 5 สถานี ระยะทาง 68.15 กิโลเมตร สำหรับในพื้นที่จังหวัดตาก มี 8 สถานี ได้แก่ สถานีวังเจ้า (วังหิน) สถานีปะดาง สถานีหนองบัวใต้ สถานีตาก สถานีด่านแม่ละเมา สถานีแม่ปะ สถานีแม่สอด และสถานีด่านแม่สอด

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ได้มีหนังสือเชิญส่วนราชการ- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)และประชาชนชาวจังหวัดตาก เข้าร่วมประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการงานสำรวจ ออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟสาย แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมเวียงปิง โรงแรมเวียงตาก อ.เมือง จ.ตาก ซึ่งจะเป็นการประชุมปฐมนิเทศโครงการ(สัมมนาครั้งที่ 1) โดยมีนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากจะเป็นประธานเปิดการสัมมนา และผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้แนะนำโครงการ ให้ชาวจังหวัดตาก ได้เห็นถึงความสำคัญของเส้นทางรถไฟ ตลอดจนแผนการดำเนินการ ฯลฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ดรถไฟ ได้เคาะ งบประมาณ 168 ล้าน เพื่อศึกษารายละเอียดเวนคืน EIA ก่อสร้างทางคู่สายใหม่ “แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์” ระยะทาง 256 กม. ด้วยเงินลงลงทุนงบประมาณ 96,000 ล้านบาท ( 9.6 หมื่นล้านบาท) โดย เชื่อม เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) สนับสนุนการค้า ท่องเที่ยว

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. มีมติเห็นชอบจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียด (Detail Design) โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงแม่สอด – ตาก – กำแพงพชรเพชร – นครสวรรค์ ระยะทาง 256 กม. วงเงินลงทุน 96,000 ล้านบาท และได้ว่าจ้าง บริษัท เทสโก้ จำกัด ซึ่งจะมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บริษัท ดีไซน์คอนเซ็ป จำกัด และบริษัท ดอร์ช คอนซัลท์ เอเซีย จำกัด ร่วมอยู่ด้วย วงเงิน 168 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 360 วัน เนื้องานจะศึกษาแนวเส้นทาง เขตเวนคืน จัดทำรายละเอียดโครงการ และการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยโครงการเส้นทางรถไฟสายนี้ได้เข้าสู่กระบวนการดำเนินโครงการ ถือได้ว่าเป็นเส้นทางรถไฟเส้นแรกที่เชื่อมฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศ East-West Economic Corridor: EWEC

รายงานข่าวแจ้งว่าโครงการเส้นทางรถไฟแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ได้สร้างความดีใจให้ชาว อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นอย่างมาก ซึ่งกว่า 10 ปี ที่ส่วนราชการในจังหวัดตาก-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ในพื้นที่ และประชาชนชาวแม่สอด ได้ร่วมกันผลักดันมา ได้เริ่มเห็นว่าความจริงที่จะได้เห็นเส้นทางรถไฟมายังชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด จ.ตาก

รายงานข่าวแจ้งว่าการพัฒนาการขนส่งในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเชื่อมต่อไปยังหลายๆประเทศ รถไฟทางคู่ 2 จากนครสวรรค์-มาถึงชายแดนแม่สอด ผ่าน-ตาก และกำแพงเพชร เตรียมเปิดประมูลปี 2566 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย จะได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมตะวันออกและตะวันตกของไทยหรือ East West Economic -corridor เบื้องต้นรัฐบาลจะลงทุนเองทั้งหมด เนื่องจากเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศในการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่งจากภาคตะวันออกมายังภาคตะวันตก

รายงานข่าวแจ้งอีกว่าสำหรับเส้นทางแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ระยะทาง 250 กิโลเมตรมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือว่า 72% วงเงินลงทุน การรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดก่อสร้างแล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือว่า eia คาดว่าจะเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ภายในปี 2565 และเปิดประมูลในปี 2566 ถ้าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5-6 ปีและจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการประมาณปี 2571-2572 รถไฟทางคู่สายนี้มีความสำคัญมากเพราะจะวิ่งเชื่อมไปยังด่านแม่สอดด้วยซึ่งเป็นประตูการค้าชายแดนสำคัญของไทยเบื้องต้นจะสร้างเป็นทางรถไฟยกระดับที่สูงที่สุดในไทย เพราะต้องตัดผ่านภูเขาสูงจากตากมาแม่สอดสำหรับเส้นทางจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือช่วงที่ 1 นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก มี 24 สถานีมีญาติขนส่งสินค้า 3 แห่งระยะทาง 188 กิโลเมตรและช่วงที่ 2 จากตากถึงแม่สอดมีทั้งหมด 5 สถานีขนส่งสินค้า มีส่วนที่เป็นโครงสร้างทางรถไฟและปรับพื้น 230 กิโลเมตรและโครงสร้างอุโมงค์อีกยาว 31 กิโลเมตรและโครงสร้างสะพานยาว 21 กิโลเมตร ภูมิประเทศของโครงการส่วนใหญ่จะมีพื้นที่เกษตรกรรมช่วงที่การเข้า ชายแดนไทย-เมียนมา อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสลับกับภูเขา

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.