ผู้ว่าอุดรฯนำบุคลากรแพทย์ 4 พันคน ฉีด “ซิโนแวค” เข็ม 2
1 min readวันที่ 9 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.00 น. บริเวณชั้น 1 อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยนราชภัฎอุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี พร้อมกับ พล.ต.ต.พิษณุ อุณหเสรี ผบก.ภ.จว.อุดรธานี นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ สสจ.อุดรธานี เดินทางมาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ “ซิโนแวค” เป็นเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรกฉีดไปเมื่อ 18 เม.ย.64 โดยมี ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มรภ.อุดรธานี นพ.สุมน ตั้งสุนทรวิรัตน์ รอง ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี แนะนำและอำนวยความสะดวก ระหว่างพักคอยดูอาการ ได้นำดูห้องฉุกเฉินสำหรับผู้มีอาการ
ขณะที่มีบุคลากรทางการแพทย์ จากหน่วยงานส่วนกลางในพื้นที่ จ.อุดรธานี , หน่วยงานในพื้นที่ อ.เมืองอุดรธานี และเจ้าหน้าที่อื่นที่ทำหน้าที่ด่านหน้า ทยอยเดินทางมารอรับการฉีด ตามที่มีการนัดหมายในเวลา 5 ช่วง ผู้มาถึงจะรับเอกสารเพื่อเข้าคิว ก่อนจะผ่าน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย เริ่มจากวัดไข้-น้ำหนัก-ส่วนสูง-ความดัน , รอลงทะเบียน , ลงทะเบียนคัดกรอง , ฉีดวัคซีน , พักสังเกตอาการหลังฉีด , วัดความดันโลหิตหลังฉีด , รับหนังสือรับรอง และกลับบ้าน
นพ.สุมน ตั้งสุนทรวิรัตน์ รอง ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี เปิดเผยว่า วันนี้ได้นัดหมายบุคลากรทาการแพทย์ และเจ้าหน้าทีอื่นทำหน้าที่ด่านหน้า ที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกมาฉีดเข็มที่ 2 รวมแล้ว 4,000 คน ซึ่งถือว่าสูงสุดที่ รพ.ศูนย์อุดรธานีฉีดมา โดยใช้บุคลลากรในการทำงาน 400 คน และวันที่ 17 พ.ค.นี้ จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 อีกครั้งราว 2,500 คน ซึ่งจะเป็นรูปแบบฉีดวัคซีน ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 7 โรค ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป เราจะสามารถฉีดได้วันละ 4,000 คน
รอง ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี ตอบคำถามด้วยว่า ตามที่บุคลากรทางแพทย์ใน รพ.ชุมชนของ จ.อุดรธานี เกิดอาการชาแขน ขา ปาก ลิ้น ใบหน้า หลังจากฉีดวัคซีนเข็ม 2 นั้น ได้รับทราบ และพูดคุยกับเจ้าตัวแล้ว ระบุว่าได้เขียนข้อความ จากเหตุการณ์ฉีดวัคซีน ลงไปในกลุ่มไลน์เพื่อนๆ ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์เหมือนกับ เพื่อแชร์ประสบการณ์ เมื่อฉีดวัคซีนไปแล้วมีอาการ แต่อาการชาไม่ได้หายใน 72 ชม.โดยไม่ใช้ยา เมื่อเข้ามารักษาใน รพ.ศูนย์ฯ และปรึกษาอาจารย์แพทย์ในกรุงเทพฯ ได้แนะนำยามารักษาอาการก็ดีขึ้น แต่เพื่อนๆได้นำไปส่งต่อ หลายคนนำไปขยายความ ออกไปในทางตรงข้าม ตอนนี้เจ้าตัวมาช่วยรณรงค์ฉีดวัคซีนด้วย
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ฉีดวัคซีนทั้งเข็ม 1 และเข็ม 2 ไม่แสดงอาการผิดปกติ ขณะที่ห้องฉุกเฉยที่เตรียมไว้ สำหรับผู้มีอาการข้างเคียง ก็มีผู้ฉีดวัคซีนเข้าพักไม่กี่ราย และเป็นอาการทั่ว ๆไป ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงการลงทะเบียน ของกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ขอเชิญชวนให้ทั้งสองกลุ่มลงทะเบียน ผ่านทางกลุ่มไลน์ หรือแอบฯ “หมอพร้อม” หากไม่สะดวกก็ลงทะเบียนได้ที่ รพ.ที่ท่านมีสิทธิอยู่ หรือที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน อุดรธานีมีความพร้อมให้บริการ
ต่อมาเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน นายอุเทน หาแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี พ.ญ.พัชริดา กลิ่นพะยอม แพทย์ผู้ประสานงานโรคติดต่อโควิด-19 รพ.ศูนย์อุดรธานี ร่วมแถลงข่าวผ่านโปรแกรมซูม สถานการณ์โควอด-19 อุดรธานี ว่าสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3 ราย สะสม 387 ราย กลับบ้านแล้ว 304 ราย ยังรักษาอยู่ 81 ราย เสียชีวิต 2 ราย (เดิม) โดยพบว่าในการกักตัวที่บ้าน มีการกักตัวแบบไม่ระมัดระวัง ทำให้ติดกันภายในมากถึง 17 ราย
นายอุเทน หาแก้ว รองนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี กล่าวว่า การสอบสวนควบคุมโรครายที่ 383-386 พบว่าเป็นการนำเข้าเชื้อใหม่ 2 ราย รายแรกลูกชาย-ลูกสะใภ้ ทำงานอยู่ จ.ระยอง กลับมาบ้านเอาเชื้อมาติดแม่สามี รายที่สอง ทำงานอยู่สมุทรปราการ กลับมางานศพพบว่าป่วยติดเชื้อ ขณะอีก 2 รายเป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ต้องตรวจเชื้อหลายครั้งจึงพบ โดยเฉพาะรายที่กลับมาจาก จ.ชลบุรี ตั้งแต่ 12 เม.ย.64 แพร่เชื้อติดกับมนครอบครัว คนใกล้ชิด รายสุดท้ายต้องตรวจหาเชื้อ 4 ครั้งจึงพบ รวมผู้ติดเชื้อ 17 ราย เหลือเสี่ยงสูงอีก 1 ราย
“ วันนี้มีการตรวจหาเชื้อเชิงรุก ทั้งกรณีแม่ค้าขายผัดในตลาด และการตรวจแรพพิททิสที่ รพ.อุดรธานี , รพ.ชุมชนทุกแห่ง , รร.เทศบาล 2 นครอุดรธานี และตรวจด้วยหน่วยเคลื่อนที่ 2,976 ราย ไม่พบเชื้อจากการตรวจเชิงรุก ระหว่างที่รอการฉีดวัคซีน ซึ่งมียอดลงทะเบียนจองเพิ่มวันละเพียง 1,000 ราย ทำให้เราจำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้นกันส่วนบุคคล และเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้ามาใหม่ ทั้งจากพื้นที่เสี่งสูง 50 จังหวัด ต้องตรวจพบเชื้อและกักตัว 14 วัน ที่เหลือจะต้องเฝ้าระวัง ”
พ.ญ.พัชริดา กลิ่นพะยอม แพทย์ผู้ประสานงานโรคติดต่อโควิด-19 รพ.ศูนย์อุดรธานี กล่าวว่า รพ.ศูนย์ดูแลผู้ป่วยรวมใ 61 ราย อยู่ รพ.ศูนย์ฯ 42 ราย (ผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย เป็นหญิง อายุมากกว่า 60 ปี ต้องต่อท่อช่วยหายใจ เนื่องจากปิดอักเสพ ติดเชื้อแบคทีเรียยในปอด , ให้ออกซิเจนแรงดันสูง 5 ราย อาการคงที่ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีผู้ป่วยสะสม 20 ราย เหลือรักษาตัวอยู่ 4 ราย อายุมากกว่า 3 ขบวน ไม่มีอาการใด ๆ ส่วนเด็กดอายุ 6 เดือนกลับบ้านได้แล้ว
ภาพ/ข่าว นายกฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าว จ.อุดรธานี