กยท.เขตภาคใต้ตอนล่างพร้อมนักวิชาการ ลงพื้นที่ยะลา ทดสอบการใช้สารชีวภัณฑ์จากธรรมชาติในโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา
1 min readวันที่ (13ธค.62) นายสุรชัย บุญวรรโณ อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง พร้อมด้วยนายศานติ พันธุ์มณี ผอ.กยท.จ.ยะลา นายภาสกร ปาละวัล ผช.ผอ.กยท.จ.ยะลา นายสุบันดริโอ มะเกะ ผอ.กยท.สาขารามัน และ อาจารย์อัชมาน อาแด อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้เดินทางลงพื้นที่สำรวจความเสียหายแปลงยางของเกษตรกรใน ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงชิดใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าวและส่งผลผกระทบต่อผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง
โดยนายสุรชัย บุญวรรโณ อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคใบร่วงของยางพาราในจังหวัดยะลาขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดยะลาพบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา และได้มีการรายงานในพื้นที่จังหวัดยะลาพบว่ามีสวนยางพาราประสบปัญหาโรคใบร่วงดังกล่าว ได้รับความเสียหายแล้ว จำนวน 2,720 ไร่ และล่าสุดพบว่ามีการแพร่ระบาดในเขตพื้นที่ ตำบลปะแต อำเภอยะหา ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ให้แก่สวนยางพาราเกษตรกรแล้ว จำนวน 10 ไร่
ทั้งนี้การลงพื้นที่สำรวจความเสียหายในครั้งนี้ ได้มีทีมอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยอาจารย์อัชมาน อาแด ได้ทำการทดสอบใช้สารชีวภัณฑ์จากธรรมชาติที่ปลอดภัยต่อเกษตรกร ต้นยาง สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นวิธีง่ายๆ และเกษตรกรทำด้วยตัวเองและมีต้นทุนต่ำ โดยเน้นหนักการรักษาและป้องกันโรคใบร่วงของยางพารา ที่เริ่มต้นจากการศึกษาและวิจัยกลไกการเข้าทำลายใบยางของเชื้อรา Pestalotiopsis ด้วยการใช้สารชีวภัณฑ์ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นดินรอบต้นยาง หลังจากนั้น รากยางพาราจะดูดซึมสารชีวภัณฑ์เพื่อกำจัดเชื้อก่อโรคจากภายในต้น และมีผลต่อการป้องกันต้นยางพาราด้วย สารชีวภัณฑ์จะทำงานในเชิงสร้างภูมิต้านทานให้กับต้นยางทั้งยางที่ติดโรคและไม่ติดโรคให้มีความแข็งแรงและต้านโรคได้เมื่อมีการแพร่ระบาดอีกครั้ง
ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา