เกษตรดิจิทัล ปลูกกล้วยไม้ งดงามท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 สู้ภัยแล้ง
1 min read“วิกฤติโควิด-19” เป็นความยากลำบากที่ท้าทายที่ต้องผ่านพ้นไปให้ได้ ประสบการณ์จาก “สวนกล้วยไม้กำนันแวน” คือตัวอย่างธุรกิจการเกษตรที่หยิบยกเอา“ดิจิทัล”มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคครั้งนี้ แต่รอดอย่างเดียวไม่พอต้องเติบโตและยั่งยืนด้วย องค์ความรู้จากกรมชลประทานจึงเป็นตัวช่วยที่น่านำมาถ่ายทอดต่อ
นาย พนม พึ่งสุขแดง เกษตรกร สวนกล้วยไม้กำนันแวน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ทำสวนกล้วยไม้เผชิญวิกฤติมาหลายครั้ง ซึ่งวิกฤติที่ใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นครั้งนี้ คือโควิด -19 แต่ก็มีหนทางที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไป จากตัวช่วยและเครื่องมือหลายๆอย่าง“ที่บอกว่าหนักเพราะใครที่พออยู่ได้ก็อยู่กันไปแต่หลายคนก็ต้องเลิกไปเพราะขายไม่ได้เลยผมเจอวิกฤติมาตั้งแต่น้ำท่วมปี 2538 ฟองสบู่ปี 2540 กระทั่งน้ำท่วมปี2554 ก็ผ่านมาถึงโควิด-19 หนักมาก เมื่อธุรกิจกล้วยไม้ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆเหมือนชื่อแล้ว ธุรกิจเริ่มบนที่ดิน 2ไร่ 2 งาน แต่ตัดจำนวนไม่ได้ตามออร์เดอร์ที่บริษัทต้องการเพราะพื้นที่เล็กเกินไป จึงคิดนำที่ดินมารวมกันในชุมชน เป็น 5 ไร่ 10ไร่ ปัจจุบัน รวมกันได้เป็นพันไร่ และได้ภาครัฐสนับสนุนเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ เน้นปลูกพันธุ์แวนด้า ที่มีกลีบแข็งแรง และเป็นที่ต้องการของตลาดจากนั้นนำผลผลิตของสวนต่างๆมารวมกันทำให้เป็นศูนย์กลางขายและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ไทเป และในกลุ่มมีการทำห้องเย็น ใช้พักสินค้า เพื่อให้คงความสดอยู่เสมอ ส่วนการบริหารจัดการที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น แต่หัวใจของการปลูกกล้ายไม้คือน้ำและคุณภาพน้ำ เพราะน้ำดี กล้ายไม้จะงาม ทำให้องค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่กรมชลประทานที่เข้ามาช่วยดูแลคุณภาพน้ำและการจัดการต่างๆอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นอีกกุญแจสำคัญของความสำเร็จ
“กรณีเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำ มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่กรมชลประทานเจ้าหน้าที่ฯก็เข้ามาตรวจวัดคุณภาพน้ำและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการส่งน้ำเข้ามาเพิ่มเพื่อช่วยเจือจางความเค็ม ทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้นตามลำดับ ”เมื่อมีการผลิตที่ดีและจัดการสินค้าที่ดีแล้ว ปลายทางคือการขาย แต่วิกฤติโควิด-19 รายได้หายไปถึง 80% เมื่อมีการล็อกดาวน์เมือง ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือต่างประเทศ ทำไม่ได้เลย จึงหาทางออกโดยอุไร พึ่งสุขแดง ภรรยาได้เข้ามาช่วยเรื่องการหาตลาดและติดต่อขายประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เมียนมา เวียดนามบางส่วน มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างโซเชียลมีเดียมาช่วย นอกจากนี้ได้ร่วมกับสมาชิกช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งภาระทางการเงิน หาช่องทางใหม่ๆ อย่าง เฟสบุ๊ค รวมถึงการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาเสริม มีการทดลองใช้เครื่องจักรทุ่นแรง เครื่องให้น้ำอัตโนมัติผ่านแอพพลิเคชั่น เพื่อลดต้นทุน หรือลดการใช้คนงาน
เกษตรดิจิทัลคือ องค์ความรู้ใหม่ที่ศึกษาร่วมกันช่วงหยุดส่งออก ตอนนี้เริ่มกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง ทำให้พนักงาน 70 คนและคนในชุมชนอยู่ได้อย่างมีความสุขเพราะความเชื่อที่ว่าสิ่งสำคัญที่ยังทำให้สวนกล้วยไม้มีความสุขได้ คือกำลังใจจากคนรอบข้าง การเข้าใจวิกฤติ เข้าใจกล้วยไม้ และเข้าใจน้ำ นั่นคือ คำตอบของความท้าทายที่ชื่อว่า“วิกฤติ”
ภาพ/ข่าว นายประยงค์ วิลัย นสพ.การเมืองชุมชน