ชมรมสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ดพร้อมด้วยองค์กรเครือข่าย แต่งชุดดำแสดงสัญลักษณ์ ร่วมกันแถลงข่าวและยื่นรายชื่อเพื่อขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่านครม. ออกจากสภาฯ
1 min readเมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 21 มิถุนายน 2564 นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย นายสิงขร ริโยธา ประธานชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายชัยณรงค์ มนตรีโพธิ์ ที่ปรึกษาชมรมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายประภาส บุญมาก เลขานุการสมาคมครูจังหวัดร้อยเอ็ด นายสฤษดิ์ วิเชียรศรี นายกสมาคมครูอำเภอเมือง นายจีระ อินทรกลาง ที่ปรึกษาสมาคม และนายฉัตรชัย จัตุโพธิ์ รองประธานสมาคมครูร้อยเอ็ด ร่วมแถลงข่าวเพื่อแสดงสัญลักษณ์การไม่รับและขอให้รัฐบาลถอนร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่านครม. ออกจากสภาฯ ที่ หน้าศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ชั้น 1 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูร้อยเอ็ด กล่าวว่า เหตุผลและข้อเรียกร้องและให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…..(ฉบับรัฐบาล ตามหนังสือ สคก. 660/2564) ออกจากรัฐสภาด้วย ด้วยสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) เป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในราชการปัจจุบัน ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพทางการศึกษา ทั้งประเทศ ได้ประชุมร่วมกันโดยได้นำร่าง ร่าง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.ค.ร.มได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 และจะนำเข้าบรรจุเพื่อรับคำแนะนำและยินยอมจากรัฐสภา เพื่อประกาศและให้มีผลบังคับใช้ต่อไป มาศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ พบว่า ยังมีส่วนที่เป็นข้อกังวลใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในราชการปัจจุบัน และในหลายประเด็น ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และขวัญกำลังใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในอนาคต สมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.)
จึงมีมติร่วมกัน ให้คัดค้าน ไม่เห็นด้วย และขอเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติออกจากการประกอบการพิจารณาในรัฐสภา เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ…..ตดามรายละเอียดข้อเรียกร้องคัดค้าน เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีที่สุด ใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติอย่างแท้จริง ดังนี้ ประเด็นข้อเรียกร้อง มี 8 ประเด็น คือ
- ไม่มีบทบัญญัติ ที่บ่งบอกถึงครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และผู้บริหารหรือ “พนักงานราชการ”
- ไม่มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานสึกษา และ อปท.
- ไม่มีบทบัญญัติให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการทุกระดับ
- ไม่มีองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่บริหารโดยสภาวิชาชีพ
- ไม่มีการจัดระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีองค์คณะบุคคลในรูปคณะกรรมการบริหารในแต่ละระดับการศึกษา
- บทบัญญัติการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา คนไทยเป็นมนุษย์สมบูรณ์เทียบเท่าสากลไม่ชัดเจน
- ไม่มีบทบัญญัติให้ตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกระดับทุกประเภทการศึกษา
- เอื้อประโยชน์หรือโอนสถานศึกษาของรัฐให้กับเอกชน
นายประจวบ นาก้อนทอง นายกสมาคมครูร้อยเอ็ด กล่าวอีกว่า พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับผ่าน ครม.อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพการศึกษาในอนาคต และไม่มีหลักประกันให้กับผู้รับบริการที่เป็นลูกหลาน และจะเติบโตเป็นอนาคตของซาติ การศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจและประสบการณ์ที่รู้และเข้าใจผู้เรียน แล้วทำโดยไม่ได้หวังผลกำไร จากเหตุผลดังกล่าสมาพันธ์องค์กรวิชาชีพครูไทย (ส.อ.ท.) และองค์กรวิซาชีพทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์และบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ จึงคัดค้าน ไม่เห็น ด้วยกับ ร่าง พ ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ……(ฉบับรัฐบาล ตามหนังสือ สคก.ที่ 660/2564) และเรียกร้องให้รัฐบาล ได้มีคำสั่งนำร่างกฎหมายนี้ ออกจาการพิจารณาของรัฐสภา เพื่อที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงตามประเด็นข้อเรียกร้องคัดค้านทุกประเด็นแล้วนำเข้าพิจารณาในรัฐสภาอีกครั้ง เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติในวาระต่อไป
ภาพ/ข่าว คณิต ไชยจันทร์ รายงานจากจังหวัดร้อยเอ็ด