ชีวิตอนิจจัง ไม่เที่ยง
1 min readบทความ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ในสมัยหนึ่ง เมืองเวสาลีเกิดโรคระบาด ในขณะนั้นชาวเมืองคิดว่า เมืองนี้ไม่เคยเกิดภัยพิบัติเช่นนี้ถึง ๗ รัชสมัย คือเกิดโรคระบาด ฝนแล้ง ขาดแคลนอาหาร มีคนอดอยากล้มตายมากมาย ซากศพถูกโยนทิ้งนอกเมือง พวกอมนุษย์ได้กลิ่นศพก็พากันเข้ามาในเมือง ทำอันตรายคนให้ตายมากขึ้น และยังเกิดอหิวาตกโรคระบาดอีกด้วย ทำให้เมืองเวสาลีประสพภัยในครั้งพุทธกาลยุคที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่นั้นก็เคยเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้น ในเมืองเวสาลี หรือไพสาลี โรคระบาดนี้แม้แต่หมอชีวก แพทย์ใหญ่ก็ยังไม่อาจที่จะคิดค้นสืบเหตุได้ รักษาได้ โรคทุกๆโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก โรคซาร์ส เหล่านี้ล้วนเกิดในฤดูแล้งที่ลมแรงๆทั้งสิ้น โบราณจึงไม่ค่อยกลัวโรคนี้ เมื่อรู้ที่ทางของการมา คือ โรคที่มากับลมจะย่อมสลายไปกับน้ำเสมอ เมื่อครั้งเกิดไข้หวัดนก โรคซาร์ส ประเทศเราก็ไม่เดือดร้อน เพราะการแพทย์ของเราสามารถรักษาได้ ไม่เหมือนกับโรคโควิด ๑๙ เดือดร้อนกันไปทั่ว มีสถิติคนล้มตายเป็นร้อย และติดโรคเป็นหลักหมื่นในแต่ละวัน โรคนี้จึงใกล้ตัวเรามาก ทางการแพทย์เห็นแล้วว่าการที่จะเอาโรคนี้อยู่ต้องดำเนินการด้วยการมีเครื่องมือตรวจโรคนี้ได้อย่างพอเพียง มีวัคซีนให้พอกับความต้องการของประชาชน และต้องมีภูมิคุ้มกันที่สูงพอในแต่ละคน
พระเจ้าพิมพิสารให้ผู้ปกครองเมืองเวสารีไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ผู้ปกครองเมืองเวสาลีพึงปฏิบัตตาม อาราธนานิมนต์พระพุทธเจ้าไปเมืองเวสาลี ครั้นพอฝ่าพระบาทของพระองค์เหยียบประทับที่เมืองเวสาลีแล้วนั้นเค้าฝนก็ส่อเลาะตั้งเค้าตามล่องนภากาศไม่ช้าไม่นานก็สาดเส้นสายลงมาโปรยปราย เช่นนี้อยู่ ๗ ราตรี การที่ฝนตกแบบนั้นจึงได้ทำให้เกิดการชำระล้างกวาดเชื้อโรคสิ่งสกปรกออกจากเมืองไปจนหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้ที่โบราณเขาจึงมีคำว่า โรคมากับลมย่อมไปกับน้ำ พระพุทธเจ้ทรงให้พระอานนท์กล่าวคาถาตามที่พระองค์แนะนำ เรียกว่า รตนสูตร และมีบทขัดด้วย ซึ่งขึ้นต้นว่า ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิ สาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโตฯ
บทนี้อ้างถึงพระบารมีของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญมาจนครบ ๓๐ ทัศด้วย พระอานนท์ทรงนำเอาน้ำมาปะพรหมให้กับผู้ปกครองนครและประชาชนให้อยู่ดีมีสุข จากนั้นโรคห่าทั้งปวงก็หมดไปจากเมืองเวสาลี แต่ยุคนี้เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ๒๕๖๔ ปี เรียกว่ากึ่งพุทธกาล จึงเป็นการยากที่จะหาผู้ที่มีบุญบารมีดังเช่นพระพุทธองค์ที่สามารถยับยั้งโรคระบาดได้ในเวลาอันรวดเร็วในคราวที่โรคระบาดที่เมืองเวสารี พระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ไม่กลัวโรคระบาดหรือพระพุทธเจ้าข้าฯ พระพุทธเจ้ากล่าวกับพระอานนท์ ช่วงที่เกิดโรคห่า ในขณะที่พระองค์ไปปฐมพยาบาลพระที่ป่วย … พระองค์กล่าวว่า “อานนท์ ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น แต่ถ้าเราทำมา หนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น” สิ่งนี้เป็นกำลังจิตกำลังใจ ให้คนที่ทำสิ่งใดอย่างเต็มที่แล้ว สามารถปล่อยวางได้ง่ายขึ้นมากเหลือเกิน
โรคโควิด ๑๙ นี้ ก็เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เพราะอดีตกาลนานมา มนุษย์ได้ฆ่าสัตว์เช่น วัว ควาย หมู ไก่ ปลา สัตว์ป่าทั้งหลาย นำมาเป็นอาหาร เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ และสัตว์ดุร้าย เช่น เสือ สิงห์ เบียดเบียนชีวิตเขามามาก นานวันเข้า กฎแห่งกรรมได้ส่งผลให้เกิดโรคระบาด เพื่อฆ่าทำลายชีวิตมนุษย์บ้าง เรื่องนี้มิได้เกิดเฉพาะคนในยุคนี้เท่านั้น หากแต่เกิดมานานแล้ว สมัยพุทธกาลก็เกิดมาแล้ว ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่ละปานาติบาตตราบนั้น ก็จะมีโรคระบาดคู่โลกนี้ตลอดไป และจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า บุคคลใดที่จิตมีเมตตา ไม่ทำเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน ได้แก่การไถ่ชีวิต ช้าง ม้า วัว ควาย ปลา ซึ่งเป็นสัตว์มีคุณ คนเหล่านี้ก็จะพ้นจากโรคภัยต่าง ๆ เหมือนคำกล่าวของพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ที่ว่า “ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น แต่ถ้าเราทำมา หนีอย่างไรก็หนีไม่พ้น” พระพุทธองค์สอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรม แต่ก็สอนให้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การเจริญภาวนานั้นเพื่อฝึกจิตให้อยู่กับปัจจุบัน ด้วยการตามรู้ดูลมหายใจเข้าออก จิตจะสงบไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่คิดไปเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว จะทำให้จิตเศร้าหมอง อย่าจมอยู่กับอดีต เพราะอดีตผ่านไปแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ อนาคตยังมาไม่ถึงไม่ถึง ไม่ต้องไปกังวล ถ้าจมอยู่กับอดีตจะเป็นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยชรา ผู้คนร้อยทั้งร้อยคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด” ซึ่งก็ดูเหมือนว่านั่นจะเป็นความจริงที่คนทุกคนรู้ เข้าใจ และพยายามทำด้วยกันทั้งนั้น แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น เชื่อว่าใครหลาย ๆ คน ก็ยังคงปล่อยให้อดีตมามีอิทธิพลกับปัจจุบันอย่างไม่รู้ตัว ขณะที่หลายคนก็ยังคงกังวลและกลัวอนาคตที่ยังคงมาไม่ถึง พระพุทธเจ้าสอนให้สาวกรู้จักการภาวนา นั่นก็คืออยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่พยายามขุดค้นภาพในอดีต ทั้งดีและร้าย ล้วนนำทุกข์มาให้
การไถ่ชีวิตโค-กระบือ ก็คือการที่เราไปเอาเงินไปซื้อชีวิตโค-กระบือ ที่กำลังจะถูกส่งไปฆ่ายังโรงฆ่าสัตว์เพื่อช่วยชีวิตพวกเขาเอาไว้น่ะครับ โค-กระบือตัวที่เรานำเงินไปซื้อนั้นเขาก็จะเลี้ยงดูอย่างดีให้พวกมันแก่ตายไปเอง ถือว่าเป็นการให้อภัยทานให้ชีวิต โค กระบือเป็นสัตว์มีคุณ ให้แรงงาน ให้ปุ๋ย มีศีลบริสุทธิ์ ชาวนาเลี้ยงไว้ทำนา เพราะความเดือดร้อน ยากจน จึงขายโค กระบือ ให้เข้าโรงเชือด เคราะห์กรรมอันนี้ส่งผลให้ชาวนายากจน อภัยทานเป็นทานชั้นเลิศ สูงกว่าวัตถุทานทั้งหลาย เอาของไปแจกร้อยครั้ง สู้ให้ทานชีวิตเป็นอภัยทานครั้งเดียวไม่ได้ กิจกรรมนี้ พ.ต.อ.วิธิวัฒน์ ศรีทองจ้อย และคณะได้จัดให้มีการไถ่ชีวิตโคท้อง และปล่อยปลาเป็นประจำทุกเดือน ทำมาติดต่อกันหลายปีแล้ว ถ้าท่านได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว จะทำให้ท่านพ้นบาปและเคราห์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ มีชีวิตที่ยืนยาว ขอเชิญร่วมไถ่ชีวิตโคท้อง ๑ ตัว ปล่อยปลา ๕๐๐ กก ประจำเดือนนี้ ซึ่งเป็นเดือนอาสาฬหบูชา พระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลก ถวายเป็นพุทธบูชา เป็นการทำบุญตามกาล เดือนละ ๑ ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗/๖๔ การให้ชีวิตสัตว์นั้นเป็นอภัยทาน เป็นทานชั้นเลิศ ต้องสะสมบุญไว้ครับ จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคภัย ต่อชีวิตเขา ยืดชีวิตเรา พบแต่ความสุข ความสำเร็จครับ
ผู้ใดได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน ให้มาปรึกษากับสมาคมส่งเสริมคุณธรรมเพื่อตำรวจและประชาชน ที่ตู้ ปณ.๑๑ ไปรษณีย์บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ความเดือดร้อนของท่านคือความทุกข์ของเรา สวัสดีครับ แล้วพบกันในโอกาสหน้านะครับ