ส.ส.เต้ ซัด! “แซนด์บ็อกซ์” ยังไม่คืบหน้า! รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูแก่ SME ผู้ประกอบการท่องเที่ยว อย่างปล่อยให้ต้องดิ้นรนกันเอง
1 min read
วันที่ (28ต.ค.64) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ พร้อมด้วยทีมงานสมาชิกพรรค ประกอบด้วย พลโทอัศวิน รัชฎานนท์ รองหัวหน้าพรรค ,นางสาวภคอร จันทรคณารองหัวหน้าพรรค,นายวิวัฒน์ เจริญพาณิชย์ศิริเลขาธิการพรรค,นายศยุน ชัยปัญญา รองเลขาธิการพรรคและนายสรกฤช จันทรคณาโฆษกพรรค ลงพื้นที่ป่าตอง จ.ภูเก็ต รับฟังเรื่องความเดือดร้อนผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่
นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ กล่าวว่า การเดินทางมาภูเก็ตในครั้งนี้ ซึ่งตนต้องการอยากรู้ว่าที่ทางรัฐบาลบอกว่า”ภูเก็ตแซนบอกซ์”มีนักท่องเที่ยวเยอะนั้น แล้วก็สามารถที่จะทำให้ภูเก็ตกลับมาเหมือนเดิมได้ เป็นอย่างที่พูดกันหรือไม่ แต่เท่าที่ทราบตั้งแต่หนึ่งกรกฎาคมจนถึงปัจจุบันนี้ก็มีนักท่องเที่ยวหมุนเวียนอยู่ประมาณ 4 หมื่นกว่าคนด้วยกัน ซึ่งก็ได้พูดคุยกับทางนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวก็จะใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณคนละ 1แสนบาท ซึ่งรายได้ของผู้ประกอบการนั้นมีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต้องเข้าใจว่าภูเก็ตเองก่อนที่ยังไม่เกิดโควิด มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาและมีรายได้จำนวนประมาณ 3 แสน 4 หมื่นล้านบาทต่อปี เดือนหนึ่งก็ตกประมาณ 3 หมื่นล้านบาทแสดงว่าก่อนหน้านี้ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวเยอะมาก แต่นั่นคือสถานการณ์ปกติ
แต่ในปัจจุบันนี้ เท่าที่ติดตามข่าวดูหลังจากที่มีการเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มา ดูแล้วผู้ประกอบการเองส่วนมากยังตั้งหลักไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่หรือรายย่อย โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กโฮลเทลต่างๆ ซึ่งเป็นโรงแรมที่มีห้องพักไม่เยอะ กลุ่มคนเหล่านี้กฎหมายในประเทศไทยยังไม่เอื้อ และยังติดเงื่อนไขพรบ.กฎหมายโรงแรมปี 2547 อยู่ อย่างเช่น ร้านนวดที่ได้ไปสอบถามมา ก็มีนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการยังไม่ครอบคลุมรายได้ของพนักงานเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ วินมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ตรงนี้ก็ถือว่ารายได้อย่างน้อยมากๆอยู่
ทั้งนี้ เท่าที่ดูถือว่าในภาพรวมของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์นั้น ยังขยับไม่ เพราะว่าผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่แต่ละรายยังมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศเค้าจะไม่คิดเรื่องของเครดิตบูโร และจะมีกฎหมายยกเว้น เงื่อนไขหลายหลายอย่าง ซึ่งก็จะมีเงินอุดหนุนจากทางรัฐบาลให้ไปทำทุนกัน แต่ในประเทศไทยนั้น ผู้ประกอบการพอเจอสถานการณ์โควิดพิษเศรษฐกิจแบบนี้ ก็ต้องดิ้นรนกันเอง เหมือนปล่อยให้ผู้ประกอบการไปอยู่กลางทะเล และปล่อยให้ว่ายน้ำเอง อย่างเช่น การทำ SHA+ ก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายเยอะ สุดท้าย ม.44 หมดอายุไปเมื่อช่วง 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ก็มีเงื่อนไขข้อกฎหมายพรบ.โรงแรมเข้ามา ซึ่งทำให้กิจการโรงแรมขนาดเล็กในภูเก็ตเหล่านี้ไม่สามารถเปิดกิจการดำเนินการรับนักท่องเที่ยว ได้ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่มีจำนวนมากในเกาะภูเก็ตไม่สามารถขยับได้ เลย
ด้านผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กป่าตองรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรงแรมขนาดเล็กก็ยังเปิดกิจการไม่ได้ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้รับอานิสงส์เลย เพราะเมื่อวันที่ 1 กรกฎาที่ผ่านมาต้องปรับสภาพกิจการให้ได้รับชาพลัส เบอร์ดูต้นทุนการปรับสภาพอาคารต่างๆลักษณะธุรกิจให้เป็นชาพลัสซึ่งต้องใช้เงินทุนในระดับมากและธนาคารก็ไม่ได้ช่วยเหลือในเรื่องของเงินทุนซอฟท์โลนแก่ผู้ประกอบการเหล่านี้เลยซึ่งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ม. 44 หมดอายุและไม่ได้มีกฎหมายได้รับรอง และเมื่อต้นเดือนสิงหาก็มีหนังสือเป็นกฎกระทรวงออกมาให้ยืดเวลาในการปรับปรุงโรงแรมขนาดเล็ก 3 ปีแต่ใน 3 ปีนี้ก็ไม่สามารถเปิดได้ ในป่าตองเองมีโรงแรมขนาดเล็กมากกว่า 500 แห่งที่ไม่มีใบอนุญาต ซึ่งนักท่องเที่ยวจากภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ที่เข้ามา ก็ไม่ได้เยอะพอที่จะเหลือมาเข้าพักในโรงแรมขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจากแซนด์บ็อกซ์ก็จะเข้าพักในโรงแรมที่เป็นโรงแรมขนาดใหญ่ ซึ่งการที่จะเอาเงินทุนก้อนสุดท้ายไปลงทุนเพื่อขยายกิจการนั้นทางผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็กในภูเก็ตคงต้องคิดกันหนัก
นายมงคลกิตติ์ ยังได้กล่าวอีกว่า ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ก็เป็นห่วงพี่น้องชาวภูเก็ตเป็นอย่างมาก เพราะว่าเท่าที่สอบถามมา มีหนี้สินเป็นจำนวนมาก หลักหลายล้าน และสถาบันทางการเงินก็ไม่ได้มีการช่วยเหลือเท่าที่ควรจะเป็น อย่างการปล่อยเงินกู้ และซอฟท์โลน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งติดเรื่องใบอนุญาต ติดเรื่องสเตทเม้นท์ เรื่องเครดิตบูโร แม้กฎหมายจะผ่านสภาไปแล้ว แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้อนุโลมไม่ได้ผ่อนปรนเลย ธนาคารเซฟตัวเอง แต่ปล่อยประชาชนตาย ในความเป็นจริงสถานการณ์แบบนี้ รัฐบาลเองเมื่อคิดที่จะเปิดประเทศแล้ว จำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนผู้ประกอบการในการที่จะมารื้อฟื้นเศรษฐกิจ เพื่อจะรองรับนักท่องเที่ยวที่กำลังจะเข้ามายังประเทศ และต้องให้มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ยืดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการสามารถยืนได้
เพราะถ้าผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยแบบนี้ ยืนไม่ได้ ประเทศก็จะพังเหมือนกัน ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการรายย่อยรายเล็ก SME ต่างๆก็ย่ำแย่กันหมดแล้ว เหลือแต่กิจการรายใหญ่ๆ และต่อมาก็คิดว่ากิจการรายใหญ่เจ้าสัวต่างๆเหล่านี้ ก็จะสิ้นสภาพไปตามๆกัน