อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

ศรีสะเกษ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงปี 2564

1 min read

รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุมตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงปี 2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ที่อำเภอขุนหาญ

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 น. ที่บ้านตาเอกใหม่ ตำบลกันทรอม อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชมชุม นางสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำ หรือ Earth Safe Foundation และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา (ดร.จุ๋ม) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ของนายไพโรจน์ มีวงศ์ เกษตรกรบ้านตาเอกใหม่ หมู่ 8 ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ โดยมีนางสาวอมร นามบุตร ปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ รักษาราชการนายอำเภอขุนหาญ นายชัยยงค์ ผ่องใส หน.กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน และนายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ นำเกษตรกรอำเภอขุนหาญ ให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2564 กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา งบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ขนาด 1 ไร่ งบประมาณได้รับจัดสรรค่าดปรับแปลง จำนวน 45,200 บาท โดยเบิกจ่าย จำนวน 17,429 บาท และได้รับงบประมาณจัดซื้อพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ จำนวน 2,360 บาท มีพื้นที่ทำการทั้งหมด 12 ไร่ทำเป็น “วนเกษตร” จัดสรรพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ปลูกพืชผสมผสานและไม้ป่ายืนต้น ปลูกป่า 5 ระดับ ปลูกพืชสมุนไพร ขุดหนองน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง จัดสรรพื้นที่ทำนา ทำคันนาทองคำมีการบริหารจัดการน้ำ ภายในแปลโดยด้านหลังแปลงมีลำห้วยจันทร์ ด้านหน้าแปลงมีคลองชลประทานจากอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู ขุดคลองไส้ไก่ส่งน้ำหล่อเลี้ยงพืชในแปลงของนายไพโรนจน์ ซึ่งอาชีพที่ยั่งยืนคือ อาชีพเกเษตรกรและอาชีพที่มั่นคงคือ เกษตรแบบอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียงคือทางรอดของสังคมไทย โดยเฉพาะในยามวิกฤต covid-19 ปัจจุบันนี้

นายอมร ธุษาวัน พัฒนาการอำเภอขุนหาญ กล่าวว่า อำเภอขุนหาญ มีโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เยนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคก สรุปผลการดำเนินดังนี้ งบประมาณที่ได้รับจัดสรรพื้นที่ดำเนินการ อำเภอขุนหาญ แยกเป็นงบประมาณประเภท 1 ไร่ งบกรมฯ จำนวน 33 แปลง เป็นเงินจำนวน 1,491,600บาท งบกู้ จำนวน 41 แปลง เป็นเงินจำนวน1,853,200 ประเภท 3 ไร่ งบกรมฯ จำนวน 6 แปลง จำนวน 624,000 บาท งบกู้ จำนวน 25 แปลง จำนวน 2,600,000บาท มีผลการดำเนินงาน กิจกรรมปรับรูปแบบแปลง (ขุด) เบิกจ่าย 100% จำนวน 105 แปลง เป็นเงิน4,221,439.59 บาท โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคกหนองนา ปี 2565 จำนวน 3 แปลง แยกเป็นพื้นที่ 1 ไร่ จ๋นวน 2 แปลง และ 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง ขุดปรับแปลงเสร็จเรียบร้อย อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่าย แปลงพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น/ต้นแบบ ได้แก่แปลงนางศรัญญา อินวันนา บ้านแดง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนหาญ พื้นที่ 1 ไร่ (งบกู้) ฐานเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย เลี้ยงปลา ปลูกผักปลอดสาร ปลูกดอกดาวเรือง ฐานรักสุขภาพ ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ แปลงนางอลิษา บุญลือ บ้านเดื่อ หมู่ที่ 2 ตำบลกระหวัน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ผักสวนครัวปลอดสาร ปลูกสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ทำน้ำหมักชีวภาพ และแปลงนางติมวิลา วิลา บ้านขี้เหล็ก หมู่ที่ 16 ตำบลพราน พื้นที่ 3 ไร่ (งบกู้) ฐานลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปลูกข้าวอินทรีย์ เลี้ยงปลา ฐานรักสุขภาพ ปลูกพืชสมุนไพร ฐานรักษ์ดิน ปลูกถั่วพร้าบำรุงติน จุลสินทรย์สังเคราะห์แสง นอกจากนี้อำเภอขุนหาญ ยังได้มีการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ปี 2565 มีครัวเรือนยื่นใบสมัครเข้าร่วม จำนวน 31 แปลง/ราย อีกด้วย

ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.