กัณฑ์ที่ 6 ชื่อ จุลพน หมายถึง ป่าที่มีต้นไม้น้อยๆ หรือป่าโปร่ง บุญผะเหวดงานประจำปีของจังหวัดร้อยเอ็ด ปีนี้ วันที่ 4-6 มีนาคม 2565 อานิสงส์(ผุ๊ได๋จกได้) กัณฑ์ จุลพน
1 min read1.เทศน์กัณฑ์ที่ 6- ชื่อ จุลพน /ภาพและเสียงภาษาถิ่นอิสาณความยาว= 4.08 นาที ของหลวงพ่อสำอางค์ สุจินต์โน วัดบ้านวังเข ต.เหล่าน้อย อเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 79 พรรษา
2.กัณฑ์ที่ 6 ชื่อ จุลพน ความย่อ เนื้อความโดยย่อ พรานเจตบุตร ซึ่งได้รับคำสั่งจากกษัตริย์เจตราษฏร์ ให้ทำหน้าที่เป็นนายด่านประตูป่า คอยห้ามมิให้ผู้ใดไปพบกษัตริย์ทั้งสี่พระองค์ เว้นแต่ราชทูตเท่านั้น รู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของชูชก จึงหลงเชื่อ ให้ที่พักอาศัยและเลี้ยงดูจนอิ่มหนำสำราญ ครั้นรุ่งเช้าก็จัดเตรียมเสบียงให้ชูชก พร้อมทั้งนำชูชกไปยังต้นทางที่จะไปยังเขาวงกต และชี้บอกเส้นทางที่จะต้องผ่านว่า ต้องผ่าน เขาคันทมาทน์ อันอุดมด้วยไม้หอมนานาชนิด ถัดไปจะเห็นเขาสีเขียวคราม คือ เขาอัญชัน ซึ่งอุดมไปด้วยไม้ผลและสมุนไพรชนิดต่างๆ เดินต่อไปอีกสักครู่จะถึงสวนอัมพวันใหญ่ คือป่ามะม่วง ถัดไปเป็นป่าตาล ป่ามะพร้าวกับต้นแป้ง จากนั้นจะเป็นป่าไม้ดอกนานาพันธุ์ ที่มีกลิ่นหอมตระหลบอบอวลไปทั้งป่า แล้วจะถึงสระอันอุดมไปด้วยสัตว์น้ำหลากหลายชนิด มีขัณฑสกรที่เป็นน้ำตาลที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นบนใบบัว และเป็นเครื่องยาอย่างดีที่หาได้ยาก พรานเจตบุตร ยังได้แนะทางที่จะไปยังอาศรมของ พระอัจจุตฤาษี เพื่อให้ชูชกถามถึงหนทางที่จะไปยังพระอาศรมของ พระเวสสันดร ชูชกจำเส้นทางที่ พรานเจตบุตร บอกไว้ แล้วอำลาโดยทำประทักษิณ ๓ รอบ จากนั้นจึงออกเดินทางต่อไป
อานิสงส์ ผู้บูชากัณฑ์จุลพน(จกได้กัณฑ์นี้) แม้จะบังเกิดในปรภพใดๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ในสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษดอกไม้หอมตลบไป แล้วจะมีสะโบกขรณี อันเต็มไปด้วยปทุมชาติ ครั้นตายไปแล้ว ก็ได้เสวยทิพย์สมบัติในโลกหน้าสืบต่อไป
ภาพ/ข่าว สุเทพ ลอยแก้ว รายงาน