กมธ.องค์กรอิสระ นำคณะลงใต้ ติดตามการปฏิบัติงานของ 5 องค์กรอิสระ เพื่อแก้ปัญหา สนับสนุน การขับเคลื่อนงานทุกมิติ เพื่อประชาชน
1 min read
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 นายกล้านรงค์ จันทิก ประธาน คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา พร้อมด้วย นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม นายสัญชัย จุลมนต์ เลขานุการคณะกรรมาธิการ นายกษิดิศ อาชวคุณ โฆษกคณะกรรมาธิการ พลเอก ธีรเดช มีเพียร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา กรรมาธิการ และ ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ร่วมลงพื้นที่ นมัสการหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ศูนย์การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม บ้านแลผาหน้าถ้ำ ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา
การลงพื้นที่ของ คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ลงพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่าง วันศุกร์ที่ 6 ถึงวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม 2565 มีกำหนดการร่วมประชุม ที่ ศาลากลางจังหวัดยะลาเพื่อหารือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 15 สำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 9 และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สำนักงาน กกต. ประจำจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่
ในการดำเนินการบริหารจัดการขององค์กรอิสระ ด้านงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล และระบบเทคโนโลยี ในการปฏิบัติงาน มีปัญหาหรืออุปสรรค และแนวทางแก้ไข รวมทั้งผลงานที่สำคัญ และการดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง มีปัญหาหรืออุปสรรคหรือไม่ อย่างไร และแนวทางแก้ไข ความคืบหน้าการตรวจสอบรายงานการเงิน (Financial Audit) ของหน่วยรับตรวจในพื้นที่ ที่ การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Audit) และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Audit) ของหน่วยรับตรวจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
สภาพปัญหาหรืออุปสรรคของการตรวจสอบงบการเงินและการรายงานผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง มาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ความคืบหน้าของการดำเนินงานเกี่ยวกับการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ทั้ง จากการดำเนินงานพบปัญหา อุปสรรค และมีแนวทางการแก้ไข ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการสร้างการมีส่วนร่วม การจัดการเครือข่ายในระดับพื้นที่ เช่น โครงการ STRONG – จิตพอเพียงต้านทุจริต และความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนั้นยังมีกำหนดการร่วม ประชุมหารือกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พื้นที่ภาคใต้ ในประเด็นที่มาและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ หน้าที่และอำนาจ รวมถึงขอบเขตความรับผิดชอบ การบริหารจัดการด้านงบประมาณ และอัตรากำลัง การส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รวมทั้งปัญหา อุปสรรค ในการทำงาน
นายกล้านรงค์ จันทิก ประธาน คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา กล่าวว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ของทั้ง 5 องค์กรนี้ ใช้มา 3-4 ปีแล้ว มันมีขัดข้องอะไรไม มันควรจะต้องแก้ไขอะไรไมเราจะได้ประมวลความคิดเห็นจากพื้นที่นำไปสู้ตัวองค์กรใหญ่ เพื่อเขาได้พิจารณา คณะกรรมาธิการนี้ก็เดินทางไปประมาณ 20 จังหวัดแล้ว ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆเสนอไปยังส่วนกลาง
อีกอันหนึ่งเพื่อจะประชุม กลุ่ม กกต. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย บางทีเขาทำงานเขาๆไม่รู้ ว่าการทำงานผิด หรือไม่ผิดอย่างไร อย่างน้อยที่สุด ปปช. กับ สตง. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ สิ่งแรกสามารถจะสอบถามได้ จะต้องตอบ ก็จะได้ช่วยให้การทำงานของท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาง อบจ. สามารถที่จะทำงานได้ถูกต้องตามระเบียบ
การบูรณาการร่วมโดยรัฐธรรมนูญ 5 องค์กรอสระจะต้องมีอยู่แล้วกับประเด็นที่เราจะมาดูกัน ในท้องถิ่น ว่าขณะนี้ สตง.กับปปช. ความจริง ในลักษณะงาน ไปด้วยกันได้ สามารถที่จะช่วยกันทำงาน สตง.ก็จะทำในเรื่องของการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบทางด้านการเงิน ปปช.จะทำเรื่องของการทุจริต ซึ่งถ้าหากมีการประสานงานกันได้ ในท้องที่ก็จะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น กกต.ก็เช่นเดียวกันที่จะต้องส่งเสริม จริยธรรม วัฒนธรรม ทางด้านการเมือง มันก็ไปสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ของ ปปช.กับ สตง. ชะนั้น องค์กรอิสระ 5 องค์กรนี้ สามารถทำงานร่วมกันได้
นายกษิดิศ อาชวคุณ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะคณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา และคณะอนุกรรมการส่งเสริมอาชีพและการออม , โฆษกคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ในฐานะที่ เป็นคนจังหวัดยะลา ในโอกาสที่คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีภารกิจลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมเห็นว่า เส้นทางที่เรามี ภารกิจ และรับทราบจากท้องถิ่นว่า ที่นี้มี สถานที่สำคัญ อยู่มากมาย ในเรื่องพหุวัฒนธรรม โดยเฉพาะความเป็นอยู่ของพี่น้องเรา และยังมีเรื่องการท่องเทียว ประวัติศาสตร์ ต่างๆเราจึง มาแวะเยี่ยมชม ที่วัดหน้าถ้ำ หรือ วัดคูหาภิมุข แห่งนี้ ก็อยากจะให้น้องๆ ได้สื่อสารออกไปว่าพื้นที่ตรงนี้มีความสำคัญอย่างไร มีประวัติศาสตร์ พี่น้องคนไทยพุทธพี่น้องคนไทยมุสลิมได้อยู่ร่วมกันอย่างไร จะได้มีนักท่องเทียวเข้า มาเทียวชมในพื้นที่จำนวนมาก มันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ฐานราก ขอให้ประชาสัมพันธ์ ว่าให้พวกเราคนจังหวัดยะลา ได้ช่วยกันต้อนรับนักท่องเทียวที่จะมา
ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา