ศุกร์. พ.ย. 8th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

มทร.อีสาน จัดอบรม U2T for BCG พร้อมเปิดตัวสถาบันนวัตกรรมฯ และแพลตฟอร์ม สร้าง Start up หลังวิกฤต COVID-19

1 min read


​วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จัด “โครงการอบรมให้ความรู้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และสร้าง Start up” ณ อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี อาคาร 36 ชั้น 1 มทร.อีสาน นครราชสีมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสุวรรณี คำมั่น ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของ มทร.อีสาน เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมให้เกียรติบรรยาย ในหัวข้อ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG)” โดยมี รองศาตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวต้อนรับประธานในพิธี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ นอกจากนี้ ยังมีพิธีเปิดตัว “สถาบันนวัตกรรมการตลาดและสถาบันนวัตกรรมบนโลกเสมือนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.อีสาน การเปิดตัวแพลตฟอร์ม ShopTeeNii.com (ช้อปที่นี่ดอทคอม) และแพลตฟอร์ม Siam Cannabis Metaverse Sand Box เพื่อสนับสนุนโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ U2T for BCG และการเสวนา เรื่อง “สถาบันนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแพลตฟอร์มสนับสนุน U2T for BCG” โดย ผศ.ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.โสภณ ผลประพฤติ ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการตลาดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คุณสาธิต สาตรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบนโลกเสมือนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ“การแลกเปลี่ยนความคิดในการนำแพลตฟอร์ม ไปใช้สนับสนุนในโครงการ U2T” กับผู้ร่วมโครงการ

ด้าน รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวว่า มทร.อีสาน มีวิสัยทัศน์ ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยซึ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีพลังนวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และมีพันธกิจมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องในการพัฒนาประเทศอีกด้วย ซึ่งมั่นใจว่า มทร.อีสาน จะใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการวิจัย ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T For BCG) และขับเคลื่อน BCG Model เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการกระจายโอกาส รายได้ และความเจริญ ไปสู่ประชาชนของประเทศอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายใต้เงื่อนไข การดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ การจัดโครงการนี้ จะนำไปสู่การเพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่เพิ่งจบการศึกษา และประชาชนในพื้นที่ พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อทักษะการทำงานในปัจจุบันและที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้ง พัฒนาฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data :TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศได้
​ผศ.ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า การจัดงานในครั้งนี้ มีวัถตุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ในการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน รวมถึงให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยจะประกอบด้วย 1. มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล โดยใน 1 ตำบล จะมี 1 มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ดูแล 2. มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน อาทิ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การยกระดับสินค้า OTOP รวมถึงอาชีพอื่นๆ การสร้างและพัฒนา ยกระดับการท่องเที่ยว การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) ตามรูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3. มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยจ้างงานในการดำเนินโครงการของหน่วยงานต่างๆ ในตำบลที่ทำหน้าที่ดูแล โดยจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 20 คนในแต่ละตำบล 4. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานและทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการโครงการภายในพื้นที่ 5. มหาวิทยาลัยทำหน้าที่บูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ที่ไปดำเนินการโครงการภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และข้อสุดท้าย มหาวิทยาลัยจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล (Community Big Data) เพื่อให้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน อีกทั้งยังจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งเสริมให้เกิดแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของประชาชน โดยมุ่งหวังว่าชุมชนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ของประเทศจะมีขีดความสามารถ เข้มแข็ง ต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ต่อไป

ปวริศา อุ่มพิมาย
นครราชสีมา
ภาพ /ข่าว

Loading…

More Stories

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.