สุรินทร์ ยิ่งใหญ่ที่เดียวในโลก ตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2565
1 min readสุรินทร์-ยิ่งใหญ่ที่เดียวในโลก ตักบาตรบนหลังช้าง ประจำปี 2565 พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ 76 รูป นั่งบนหลังช้า 36 เชือกออกรับบิณฑบาตรรับเข้าพรรษา อย่างอบอุ่น
วันนี้ 13 กรกฎาคม 2565 เวลา 07.00 น. ที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดี ศรีณรงค์จางวาง เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีตักบาตรบนหลังช้าง หนึ่งเดียวในโลก โดยมีนายพรชัย มุ่งเจริญพร นายก อบจ.สุรินทร์ ,หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่และประชาชน พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และนักท่องเที่ยว ร่วมกันประกอบพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้าง หนึ่งเดียวในโลกในครั้งนี้ จำนวนมาก โดยมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ นำโดยพระพรหมวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดศาลาลอย พระอารามหลวง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 และพระสงฆ์ จำนวน 76 รูป นั่งบนหลังช้าง 37 เชือก ออกรับบิณฑบาตจากพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวดังกล่าว ด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นอย่างยิ่ง ท่ามกลางท้องฟ้าที่มืดครึ้ม ฝนที่โปรยปราย แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด
โดยมีกิจกรรม ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่จัดขึ้นไปแล้วเมื่อช่วงเย็นวานนี้ อย่างยิ่งใหญ่ มีการนำช้างซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวสุรินทร์เข้าร่วมพิธีในแห่เทียนพรรษา สร้างความตื่นตาตื่นใจและความประทับใจให้กีบนักท่องเที่ยวที่มาร่วมชม พร้อมจัดขบวนแห่และประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาจาก 11 คุ้มวัด ที่ประดับตกแต่งสวยงาม รวมทั้งขบวนฟ้อนรำศิลปะวัฒนธรรม 3 ชนเผ่าเขมร ลาว กูย และยิ่งใหญ่ด้วยขบวนช้างพลายงาสวย 9 เชือก ที่ด้านบนประดับด้วยรูปพระบรมสารีริกธาตุ รูปพระพุทธรูป พระพุทธชินราช และ รูปเกจิอาจารย์ที่ชาวสุรินทร์ให้ความเคารพนับถือ พร้อมทั้งชบวนช้างแฟนซีที่ประดับตกแต่งสวยงามหลากสีสันอย่างยิ่งใหญ่ จำนวนกว่า30 เชือก
ก่อนที่จะมีพิธีตักบาตรบนหลังช้างประจำปี 2565 เมื่อช่วงเช้าวันนี้ดังกล่าว ซึ่งพึ่งจัดขึ้นในรอบ 2 ปี เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 โดยปีนี้จังหวัดสุรินทร์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เทศบาลเมืองสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดสุรินทร์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 และ 13 กรกฎาคม 2565 โดยมวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง เรียนรู้ ภูมิปัญญาการย้อมสีผ้าไหมจากธรรมชาติของชาวสุรินทร์ และตื่นตาไปกับศิลปะการถักทอเส้นไหมอันสลับซ้อนดิ้นทองผสมผสานลายราชสำนักโบราณ จำนวน 1,416 ตะกอ ละหมู่บ้านช้าง อำเภอท่าตูม เรียนรู้วิถีชีวิตชาวกวยหรือกูย ความสัมผัสความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ที่เลี้ยงช้างเป็นเสมือนดั่ง
สมาชิกในครอบครัว มากกว่าการมุ่งเน้นการเลี้ยงช้างไปเพื่อการงานหรือธุรกิจ หรือจะไปเที่ยวปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ ชมภาพสลักนางอัปสราหินทรายที่สวยและ สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย