อาทิตย์. พ.ย. 24th, 2024

ข่าวชัด Khaochad.co.th

ข่าวสารฉับไว ชัดตรงประเด็น สื่อความมั่นคงของชาติ

ชาวบ้านชุมชนบ้านโต๊ะมีแย ร่วมสืบสานอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกาละแมโบราณ

1 min read


ชาวบ้านชุมชนบ้านโต๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน ร่วมสืบสานอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกาละแมโบราณ (ดอดอย)

ที่มัสยิดนูรุลอิสลาม หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา ร่วมกับชาวบ้านชุมชนบ้านโต๊ะมีแย ต.บ้านกาลอ อ.รามัน ร่วมสืบสานอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกาละแมโบราณ (ดอดอย) เพื่อเสริมสร้างความรัก ควมสามัคคี ในชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูการทำขนมพื้นบ้าน การละแมโบราณ และเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษแก่เยาวชนรุ่นหลัง

โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแม ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลาร่วมกับชุมชนคุณธรรมพลังบวรลานธรรม ลานวิถีไทย และมัสยิดนูรุลอิสลาม หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา สำหรับความพิเศษของการทำกาละแม(ดอดอย) ในชุมชนแห่งนี้ มีผู้สูงอายุในพื้นที่ นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม ได้ถ่ายทอดสูตรการทำกาละแมและขั้นตอนการทำเตาดินให้แก่คนในชุมชน โดยการกวนกาละแมจะแตกต่างจากที่อื่น เพราะจะใช้เตาดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการกวนกาละแม และจะต้องใช้ความชำนาญในการทำเตาดินโดยเฉพาะ

นางอภิญญา สุวรรณ วัฒนธรรมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชุมชนและความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้คนในชุมชนต้องดิ้นรนทำมาหากิน เพื่อนำเงินมาดูแลครอบครัวจนลืมใส่ใจบุตรหลาน ซึ่งในยุคโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีทำให้เยาวขนหลงลืมความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ลืมรากเหง้า ลืมจารีตประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน เนื่องจากเยาวชนรุ่นใหม่ใช้เวลาในการท่องโลกโซเชี่ยล เล่นเกมส์ออนไลนั รับประทานสำเร็จรูป ทานขนมขบเคี้ยวดื่มน้ำหวานซึ่งหาซื้อได้ตามร้านสะดวกชื่อที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ทำให้ขนมพื้นบ้านที่วางขายอยู่ตามหมู่บ้าน ชุมชน มีแต่ผู้สูงอายุที่หาซื้อไปรับประทานพร้อมกับน้ำชาในช่วงเช้าชุมชนคุณธรรมพลังบวรบ้านตะโละมีแย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานประเพณีวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแม (ดอดอย) ขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชน ซึ่งทำคนให้ชุมชนและเยาวชนเกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยมีนายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ตำบลกาลออำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นแกนนำหลักในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนกาละแม (ดอดอย) และในปัจจุบันขนมกาละแม (ดอดอย) ที่วางขายตามท้องตลาดมีรสชาดไม่อร่อย มีกลิ่นเหม็นที่นจากกะทิ และมีการผสมแป้งในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังหารับประทานได้ยากเนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลาในการทำ 17-18 ชั่วโมง ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแมขึ้น เนื่องจากหมู่บ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำกาละแมซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่เหลือเพียงคนเดียวจึงได้ถ่ายทอดขั้นตอนการทำเตาดิน และสูตรการทำกาละแมให้แก่คนในหมู่บ้าน ชุมชนเพื่อสืบทอดต่อไป

นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม ได้เปิดเผยว่า การกวนกาละแมของหมู่บ้านตะโล๊ะมีแยจะมีความแตกต่างจากที่อื่น เพราะจะกวนกาละแมจากเตาดินโดยแบ่งขั้นตอนการทำเตาดิน โดยการขุดดินสำหรับทำเตาไฟ ขุดที่ความลึก 7 เชนติเมตร กว้าง 7· เชนติเมตร เพื่อเป็นฐานเตารองกระทะ จากนั้นจะขุดดินสำหรับใส่ไม้ฟื้น กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 1.20 เมตร ลึก 7 เซนติเมตร มีการวางช่องระบายควันขนาดกว้าง 1.25 เมตร ลึก 7 เซนติเมตรการ ทำปล่องไฟเพื่อให้ควันลอยออกจากปล่องไฟโดยไม่ฟุ้งไปทั่ว การขุดดินจะต้องขุดให้ได้ขนาดกับกระทะและให้มีช่องว่างเพื่อให้ไม้ฟื้นได้มีการลุกโชนของไฟอย่างทั่วถึง ซึ่งการขุดเตาดินจะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพราะหากทำไม่ได้ขนาดหรือไม่ได้มาตรฐานที่วางไว้จะทำให้ไฟจากฟื้นไม่ลุกโซน ควันไฟจากฟันลอยฟุ้งไปทั่วและจะทำให้ผู้ที่กวนกาละแมไม่แสบตา นอกจากนี้มีการเตรียมมะพร้าว การคั้นน้ำกระทอนแบบโบราณ น้ำตาล แป้ง และส่วนประกอบของกะละแม กวนประมาณ 17-18 ชั่วโมง ก็จะได้กาละแมที่มีรสชาติกหอมกะทิและมีกลิ่นหอมจากเตาฟืนไม่หวาน และเหนียวนุ่มกำลังดี รสชาติแบบโบราณ ความเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่

Loading…

You may have missed

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.