มุกดาหาร เปิดฤดูกาลหีบอ้อย เน้นป้องกันอุบัติเหตุ และ PM 2จุด5
1 min read
มุกดาหาร/เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 65 เวลา 09.39 น. โรงงานน้ำตาล สหเรือง มุกดาหาร เปิดฤดูกาลหีบอ้อยปีการผลิตปี 2565/66 ซึ่งคาดว่าจะมีอ้อยเข้าสู่โรงงานประมาณ 1.2 ล้านตัน นายประมวลศิลป์ โภคสวัสดิ์ ประธานกรรมการโรงงานน้ำตาล บริษัท สหเรือง จำกัด เป็นประธานเปิดหีบอ้อยโยนอ้อยเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ฤดูการผลิตปี 2565/66 ณ โรงงานน้ำตาล บริษัท สหเรือง จำกัด ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
โดยมีนายณัฐดนัย โภคสวัสดิ์ รองผู้จัดการ บริษัท สหเรือง จำกัดมุกดาหาร นายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมุกดาหาร หัวหน้าโควต้าตัดอ้อยส่งโรงงาน พร้อมด้วยสมาชิกชมรมชาวไร่อ้อย ร่วมในพิธีเปิดหีบอ้อยดังกล่าว ซึ่งทำอย่างเรียบง่าย โดยโยนอ้อยเข้าสู่รางลำเลียงเข้าเครื่องหีบอ้อย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่โรงงานและเกษตรกรที่ตัดอ้อยส่งโรงงาน รวมไปถึงเป็นแจ้งให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้รับทราบว่า โรงงานพร้อมรับซื้ออ้อยจากเกษตรกร เพื่อทำการหีบอ้อยผลิตน้ำตาล ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าเสร็จสิ้นฤดูกาลตัดอ้อยปีการผลิต 2565/66 ประมาณเดือนเมษายน 2566
นายณัฐดนัย โภคสวัสดิ์ รองผู้จัดการบริษัท สหเรือง จำกัด กล่าวว่า เบื้องต้นทางมติคณะกรรมการให้ใช้ราคาปีที่แล้ว ที่ 10 CCS เริ่มต้นที่ 1,080 บาท แต่ทางโรงงานเฉลี่ย CCS ประมาร 13 บวก ทุกปีได้ประมาณ 1,300 บาท ส่วนเงินเพิ่มเงินตามก็เป็นส่วนของรัฐบาลช่วยให้สำหรับคนตัดอ้อยส่ง ปีนี้ก็อยากจะให้ตัดอ้อยสดเป็นหลัก เพราะว่าทางรัฐบาลจะมีเงินช่วยเหลือคือตอนนี้ไม่ช่วยอ้อยไฟไหม้ เพราะสร้าง PM 2.5 ก็เลยมาเพิ่มให้กับอ้อยสด ปีนี้เพิ่ม 120 บาท/ตัน
ส่วนเรื่องอุบัติเหตุ ปกติทางโรงงานร่วมกับสมาคมชาวไร่อ้อย มีมาตรการรถบรรทุกอยู่แล้ว ต้องมีผ้าแดง ต้องมีไฟฟ้าอย่างน้อย 2 ดวง หรือถ้าใครติดเยอะยิ่งดี ช่วยลดอุบัติเหตุ ถ้าใส่อ้อยมาก็ต้องมีสายรัดอ้อยอย่างน้อยพ่วงละ 3 เส้น เพื่อป้องกันอ้อยตกหล่น ทางโรงงานเองมีหน่วยเฉพาะกิจ ถ้าอ้อยตกหล่นที่ไหนก็จะมีเบอร์โทรแจ้ง แต่ตอนนี้มีป้ายบริเวณรถอ้อยวิ่งผ่าน ถ้าเห็นอ้อยตกหล่นก็โทรแจ้งตามเบอร์โทรจะมีทีมงานไปเก็บกวาดออกจากถนน ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
ส่วนแนวโน้มในการผลิตปีนี้ เริ่มเปิดอีกโรงหนึ่ง ถ้าเราผลิตเต็มที่วันหนึ่งได้ 30,000 ตัน เนื่องจากอ้อยในมุกดาหารปีนี้ประมาณ 1.2 ล้านตัน ซึ่งไม่เต็มกำลังการผลิต ถ้าเต็มจริง ๆ ได้ประมาณ 2.6 ล้านตัน/ปี ปีนี้น่าจะสบาย ๆ ไม่ต้องรอนานเพราะเรามี 2 แห่ง ไม่รอนานเหมือนปีก่อน ๆ พยายามเอาอ้อยเข้าหีบให้เร็วที่สุด ถ้าอ้อยหมดก็ปิดหีบ จะไม่กระทบกับการเดินรถวิ่งรถในถนน พยายามเร่งให้เร็วที่สุด
ขอฝากชาวไร่อ้อย พยายามทำอ้อยสดส่งโรงงาน ส่วนอ้อยไฟไหม้ สร้างมลพิษให้กับส่วนรวมให้กับสังคม ถ้าตัดอ้อยสดสามารถนำมาผลิตน้ำตาลได้ปริมาณที่ดีขึ้น ส่งผลต่อราคาอ้อยในปีถัดไป ถ้าตัดอ้อยสดก็ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และทางโรงงานที่ช่วยไป ขอให้ชาวไร่ประสบผลสำเร็จ นำอ้อยเข้าโรงงานอย่างปลอดภัยทุกคน
ด้าน นายวีระ สุดวิเศษ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า เตรียมตังตัดอ้อยในเบื้องต้น การขนอ้อยเข้าในถนนก็ขอให้ระมัดระวัง เน้นหนักเรื่องความปลอดภัย อาทิ ใส่ไม่ให้เกิน 3.80 เมตร ยื่นท้ายไม่เกิน 1.50 เมตร กลางวันก็มีผ้าแดงติดท้าย กลางคืนมีป้ายไฟ มีไฟสัญญาณชัดเจนว่า รถข้างหน้ามีรถอ้อย ถ้าเป็นรถเสียหรือจอดมีสัญญาณ มีกรวย ถ้าจอดช่อมรถเสียต้องมีไฟกระพริบให้ชัดเจน ได้มีมาตรการควบคุมดูแล ทางราชการทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เนินย้ำมาก็ได้ปฎิบัติตาม 2 ปีที่ผ่านมาได้รับเกียรติบัตรจากท่าน ผวจ.มุกดาหาร ไม่มีรถอ้อยเกิดอุบัติเหตุให้คนเจ็บคนเสียชีวิต
ส่วนในปีนี้ก็จะดำเนินมาตรการ ในเรื่องความปลอดภัยเหมือนเดิม เพราะเมืองมุกดาหารเป็นเมืองท่องเที่ยว ในช่วงเดอนมกราคม ให้ความระมัดระวังเป็นหลัก และเรื่องกิจกรรมต่างของทางจังหวัด ทำตามมาตรการทุกอย่าง เน้นเรื่องความปลอดภัยสำคัญที่สุด
ส่วนปีนี้ทางโรงงานได้เพิ่มรถตัดอ้อย 30 คัน ทางรัฐบาลไม่ให้อ้อยไฟไหม้เกิน 5 % ทางโรงงานพยายามที่จะทำให้น้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนสิ่งปนเปื้อนก็พยายามบอกกับชาวไร่ ซึ่งเป็นรายๆได้เกษตรกรทั้งหมด ถ้าคันใหนมีสิ่งปนเปื้อนก็ว่ากล่าวตักเตือน ถ้าไม่ฟ้งก็จะลอกคิวไว้ ให้ไปทำให้ดีก่อน ซึ่งเป๋นมาตรกรที่ทำต่อเนื่องมาทุกปี
ดังนั้น จึงขอให้เกษตรกร รายเล็ก รายใหญ่ ได้ติดต่อหัวหน้าโควตาที่ตนสังกัด ตัดอ้อยส่งโรงงานได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอความร่วมมือเกษตรกร ได้ตัดอ้อยสดแทนการเผาแล้วตัด เพื่อลดมลภาวะทางอากาศ และฝุ่นละอองละเอียด หรือ PM 2.5 ตามนโยบายของจังหวัดและรัฐบาล ซึ่งในฤดูกาลผลิตปี 2565/66 ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเกษตรกรในการตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากกว่าอ้อยเผา ในอัตราส่วน อ้อยสดคิดเป็นร้อยละ 70 % อ้อยไฟไหม้คิดเป็นร้อยละ 30 %
สำหรับในฤดูการผลิตนี้คาดว่าจะได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรมากขึ้น เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองละเอียดในอากาศต่ำกว่าจุดอันตราย หรือต่ำกว่า PM 2.5 โดยทางโรงงานพร้อมให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลในการตัดอ้อยสดแทนการเผาและขาดแคลนแรงงาน และให้สินเชื่อเกษตรกรจัดซื้อรถตัดอ้อย
พร้อมกับขอความร่วมมือผู้ประกอบการที่นำรถบรรทุก เข้ามารับจ้างบรรทุกอ้อยในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ได้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และข้อบังคับของโรงงาน คือไม่บรรทุกอ้อยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เช่น ติดตั้ง สัญญาณเตือนภัยท้ายรถให้มองเห็นชัดเจนทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น ผ้าแดง ไฟรอบตัวรถ ด้านข้าง ด้านท้าย และขอให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนระมัดระวัง ไม่ขับรถใกล้รถบรรทุกอ้อยเพราะอาจได้รับอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากอ้อยตกหล่นได้ หากพบเห็นอ้อยตกหล่นแจ้งได้ที่โรงงานน้ำตาล สหเรือง จำกัด โทร. 042- 660401 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเจ้าหน้าที่โรงงานจะได้ออกไปเก็บกู้ ไม่ให้กีดขวางการจราจรและเกิดอุบัติเหตุต่อไป
ภาพ/ข่าว ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร รายงานจากมุกดาหาร